Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
INVESTING.in.th
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2022 เวลา 00:21 • หุ้น & เศรษฐกิจ
=== ทำไมเราไม่มีทางรู้ว่าเมื่อไหร่ตลาดหุ้นจะพัง ===
โดย James Montier ผู้จัดการกองทุนและนักการเงินเชิงพฤติกรรมระดับโลก
ในวิกฤตปี 2008 ได้ถูกนิยามว่าเป็นวิกฤตที่ถูกคาดการณ์มากที่สุด ผู้รู้ทั้งหลายพากันประสานเสียงถึงอันตราย ผู้ว่าการธนาคารกลางบางคนก็เตือนถึงปัญหาสินเชื่อที่ไม่มีมาตรฐาน แม้แต่โรเบิร์ด ชิลเลอร์ ก็ยังตีพิมพ์หนังสือ "เอาชนะฟองสบู่ หยั่งรู้สัญญาณตลาดล่ม" อีกครั้งเมื่อปี 2005 เพื่อย้ำถึงปัญหาของสินเชื่อที่อยู่อาศัย
แต่คำถามคือ อะไรที่ทำให้เรามองไม่เห็นความประหลาดใจ (หรือฟองสบู่แตก) ที่ดูเหมือนจะคาดการณ์ได้ไม่ยาก?
ประการแรก การมองโลกในแง่ดีเกินไป (over optimism)
ลองให้ใครสักคนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับปริมาณการดื่มเหล้า ความรัก หรือความสามารถในการทำงาน พวกเขาล้วนประเมินตนเองดีกว่าค่าเฉลี่ย คนทั่วไปมีแนวโน้มที่จะมองเฉพาะด้านดี ทำให้เรามองไม่เห็นเรื่องที่ไม่คาดคิด
ประการที่ 2 ภาพลวงตาของการควบคุม (Illusion of Control)
ความเชื่อที่ว่าเราสามารถควบคุมผลที่จะเกิดจากเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่เราใช้ตัวแปรทางการเงินมากมายมาวัดความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤต เพียงแค่ใช้ตัวเลขก็ทำให้คนรู้สึกปลอดภัยได้ แต่ก็อย่างที่เราเห็นตอนปี 2008 มันเป็นภาพลวงตาว่าเราควบคุมสิ่งต่างๆ ได้
ประการที่ 3 อคติจากการเข้าข้างตัวเอง (self-serving bias)
มันคือความปรารถนาภายในที่จะแปลข้อมูลและแสดงออกในแนวทางที่สนับสนุนหรือสอดคล้องกับความต้องการของตัวเราเอง เหมือนที่บัฟเฟตต์เคยบอกไว้ "อย่าถามช่างตัดผม หากคุณต้องการตัดผม" หากคุณเคยเป็นผู้บริหารความเสี่ยงในปี 2006 และให้คำแนะนำว่าสัญญาเงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ซึ่งในเวลาต่อมามันทำให้เกิดวิกฤต) น่าจะมีปัญหา คุณอาจถูกไล่ออกแล้วถูกแทนที่ด้วยผู้บริหารความเสี่ยงคนอื่นที่ยินดีจะทำธุรกรรมแบบเสี่ยงๆ
หรืออีกตัวอย่างคือฟองสบู่ธุรกิจดอทคอมในช่วงปี 2000 มีนักวิเคราะห์ไม่น้อยให้คำแนะนำแก่ลูกค้าว่า "เราคิดว่าโอกาสที่ราคาหุ้นจะลดลงคงมีไม่มาก" แต่ในรายงานภายในกลับเขียนว่าหุ้นตัวนี้ "แย่มาก ไม่มีค่าเลย"
เมื่อไหร่ก็ตามที่คนจำนวนมากกำลังทำเงินหรือกำไรได้มหาศาล มันก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะถอยออกมาและชี้ข้อบกพร่องในการกระทำของตัวเอง
ประการที่ 4 การไม่มองการณ์ไกล (myopia)
คือการเน้นหรือสนใจระยะสั้นมากเกินไป การไม่มองการณ์ไกลสามารถสรุปได้ด้วยการสวดอ้อนวอนของนักบุญท่านหนึ่งที่กล่าวว่า "พระเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากมลทินด้วยเถิด แต่รออีกแปปนะ" ขอปีที่ดีอีกสักปี ได้โบนัสเพิ่มอีกครั้ง แล้วข้าพเจ้าสัญญาว่าจะไม่ทำอะไรเสี่ยงๆ และทำแต่ความดีแทนที่จะทำงานด้านการเงิน
ประการที่สุดท้าย การมองไม่เห็นเนื่องจากความไม่สนใจ (Inattentional Blindness)
พูดตรงๆ ก็คือ เราไม่คาดหวังที่จะพบเห็นสิ่งที่เราไม่ได้มองหา มีอยู่การทดสอบหนึ่งได้ทดลองฉายวิดีโอการแข่งบาสเกตบอลสั้นๆ ของสองทีม โดยทีมหนึ่งอยู่ในชุดสีขาว และอีกทีมอยู่ในชุดสีดำ คุณจะต้องนับว่าทีมชุดขาวส่งลูกบอลระหว่างผู้เล่นในทีมกี่ครั้ง แต่พอฉายวิดีโอไปได้ครึ่งหนึ่ง ก็มีคนใส่ชุดกอริลลาเดินเข้ามาในสนาม ทุบอกตัวเอง แล้วเดินออกไป
เมื่อดูคลิปจนจบ คุณจะถูกถามว่าพวกเขาส่งลูกระหว่างผู้เล่นในทีมกี่ครั้ง ทุกคนตอบได้ จากนั้นก็ถามอีกว่าคุณเห็นอะไรผิดปกติหรือเปล่า ปรากฏว่ามีคนไม่เห็นกอริลลาประมาณ 60%! และเมื่อนักวิจัยเปิดคลิปให้ดูอีกครั้ง คนมักจะบอกว่าเขาโดนสลับคลิป และเชื่อว่าคลิปแรกนั้นไม่มีกอริลลา
ผมคิดว่าคงมีบางสิ่งที่เหมือนกันเกิดขึ้นในแวดวงการเงิน กล่าวคือ นักลงทุนมัวแต่ดูรายละเอียดและสิ่งรบกวนทั้งหมด และลืมที่จะดูภาพใหญ่
จากหนังสือ พฤติกรรมและจิตวิทยาการลงทุน
#สั่งซื้อหนังสือ "พฤติกรรมและจิตวิทยาการลงทุน" เพราะศัตรูที่น่ากลัวที่สุดในการลงทุนคือตัวเราเอง
https://bit.ly/2UdpUpD
ราคาปกติ 198 บาท พิเศษเพียง 169 บาท
#ค่าส่งเพียง18บาทเท่านั้น
www.INVESTING.in.th
ร้านหนังสือของนักลงทุน
4 บันทึก
1
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย