6 พ.ค. 2022 เวลา 09:14 • หนังสือ
อ่านทะลุความคิดด้วยจิตวิทยาแห่งการโกง (DAN ARIELY)
THE (HONEST) TRUTH ABOUT DISHONESTY - DAN ARIELY
How We Lie to Everyone—Especially Ourselves
เราทุกคนโกหก โดยเฉพาะตัวเราเอง
บางทีคนที่ควรระวังมากที่สุด อาจเป็นคนที่คุณคาดไม่ถึงก็เป็นได้
การโกงและความไม่ซื่อสัตย์ มีต้นตอมาจากไหน
มันเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักระหว่างต้นทุนกับผลตอบแทน ไม่ได้คำนึงว่าอะไรถูกอะไรผิดเลย เพียงแค่เปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านบวกกับด้านลบที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น
แบบจำลองการกระทำผิดตามหลักเหตุผลหรือ SMORC (Simple Model of Rational Crime) จึงถือกำเนิดขึ้น ระบุว่า เราทุกคนล้วนมีวิธีคิดและปฏิบัติโดยแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวอยู่ตลอดเวลา เราคำนวณต้นทุนและผลตอบแทนอย่างเป็นเหตุเป็นผลอย่างดี เราตัดสินใจว่ามันคุ้มหรือไม่ที่จะทำ
การตัดสินใจว่ามันจะซื่อสัตย์หรือไม่นั้นเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน ซึ่งก็เหมือนกับการตัดสินใจส่วนใหญ่ของมนุษย์เรานั่นเอง
พวกเราส่วนใหญ่อยากจะเชื่อว่าเราเป็นคนดีและซื่อสัตย์ แต่น่าเสียดายที่ไม่เป็นความจริง เราทุกคนต่างก็ขี้โกง
แม้ว่าพวกเราส่วนใหญ่อาจไม่ได้เป็นคนขี้โกงในระดับใหญ่ แต่ทุกวันเราได้รับแรงจูงใจ – โดยปกติแล้วจะไม่มีเหตุผล – ที่จะโกหก หลอกลวง และโกงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และการโกงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ในโรงเรียน ที่สำนักงาน ในบ้าน และ – ในรูปแบบของการหลอกลวงตนเอง – แม้แต่ในจิตใจของเราเอง
โลกแห่ง SMORC นั้นไม่สอดคล้องกับวิธีคิด วิธีปฏิบัติ ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิต เพราะเราไม่ได้คิดคำนวณเรื่องต่างๆ ตามหลักเหตุผลล้วนๆ และเอาผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง
เราจะฉกฉวยสิ่งที่ไม่ใช่ของตัวเองทุกครั้งที่มีโอกาส . . หลายคนต้องการการควบคุมบางอย่างรอบตัวพวกเขาเพื่อทำสิ่งที่ถูกต้อง
คนเราจะสามารถคดโกงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวโดยที่ยังมองตัวเองในแง่ดีได้อย่างไร เพราะนั่นเป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ซื่อสัตย์ตามมามากมาย
เมื่อเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์แล้ว เราก็จะเห็นว่าความผิดพลาดของมนุษย์เราไม่ใช่เรื่องที่เกินเยียวยาแต่อย่างใด โดยเราสามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัวให้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นและเกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมา
แนวทางที่ไม่ซื่อสัตย์ของเบกเกอร์และเจฟฟ์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานสามประการ: (1) ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำความผิด; (2) ความน่าจะเป็นที่จะถูกจับได้ และ (3) การลงโทษที่คาดว่าจะได้รับหากถูกจับได้ โดยการเปรียบเทียบองค์ประกอบแรก (ผลตอบแทน กำไร) กับองค์ประกอบสองส่วนสุดท้าย (ต้นทุน) มนุษย์ที่มีเหตุผลสามารถระบุได้ว่าการทำความผิดนั้นคุ้มค่าหรือไม่
คนโกงส่วนใหญ่จะโกงเท่าที่ตัวเองยังรู้สึกดีกับตัวเองได้
ความกังวลว่าจะถูกจับได้ว่าโกงไม่ได้ส่งผลต่อการโกงเลยแต่เชื่อมโยงกับระดับความคดโกงที่เรารู้สึกสบายใจมากกว่า พูดง่ายๆ ก็คือ เราจะโกงไม่เกนระดับที่เรายังสามารถมองตัวเองว่าเป็นคนซื่อสัตย์พอสมควรได้
เราต้องค้นหาว่าแรงผลักดันใดที่ทำให้ผู้คนโกงจริงๆ ก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจที่ปรับปรุงนี้ไปใช้เพื่อควบคุมความไม่ซื่อสัตย์
ตามกฎแล้ว “การโกงจะง่ายขึ้นมากเมื่อมีขั้นตอนมากขึ้นระหว่างเรากับการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์”
ปัญหาไม่ได้มีแค่โจรคนเดียวในองค์กร แต่มีคนหลายคนที่เอาแต่เงินสดเพียงเล็กน้อย
การหลอกลวงส่วนใหญ่ของโลกนั้นประกอบขึ้นจากการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์และละเอียดอ่อนหลายประเภทที่เราแต่ละคนปฏิบัติเป็นประจำ
ความไม่ซื่อสัตย์ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป ผู้เขียนเล่าว่าหมอและพยาบาลโกหกเขาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
พฤติกรรมของคนเราถูกผลักดันโดยแรงจูงใจสองประการที่อยู่ในขั้วตรงข้ามกัน
- เราอยากมองว่าตัวเองเป็นคนซื่อสัตย์และมีเกียรติ เพื่อที่เวลาส่องกระจกเราจะได้รู้สึกดีกับตัวเอง (ego motivation) ในทางกลับกัน เราต้องการได้รับประโยชน์จากการโกงและรับเงินให้ได้มากที่สุด (standard financial motivation) เราจะได้รับประโยชน์จากการโกงโดยที่ยังมองว่าตัวเองเป็นคนดีมีเกียรติมีศักดิ์ศรีไปด้วยได้อย่างไร
ตราบใดที่เราโกงได้เพียงเล็กน้อย เราก็สามารถได้รับประโยชน์จากการโกงและยังคงมองว่าตนเองเป็นมนุษย์ที่น่าอัศจรรย์ การกระทำที่สมดุลนี้เป็นกระบวนการของการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง และเป็นพื้นฐานของสิ่งที่เราจะเรียกว่า “fudge factor theory ระดับความคดโกงที่ยอมรับได้”
เราทุกคนพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อระบุแนวทางที่เราจะได้รับประโยชน์จากความไม่ซื่อสัตย์โดยไม่ทำลายภาพลักษณ์ของตนเอง
ถ้าระดับความคดโกงที่ยอมรับได้ของผู้คนสูงขึ้นพวกเขาก็จะโกงกันมากขึ้น
คนเรามีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะโกงถ้าผลตอบแทนที่ได้รับไม่ใช่เงิน
วิธีทำให้คนเราโกงน้อยลง
กุญแจล็อคไม่ได้ปกป้องคุณจากโจร แต่ปกป้องคุณจากคนที่ซื่อสัตย์ส่วนใหญ่ที่อาจอยากลองเปิดประตูของคุณถ้ามันไม่ได้ล็อค
เพราะคนส่วนใหญ่จะซื่อสัตย์ตราบใดที่ยังมีสิ่งเตือนใจเล็กๆ น้อยๆ ไม่ให้ไขว้เขวออกจากเงื่อนไขที่ถูกต้อง
การระลึกถึงหลักศีลธรรมบางอย่างก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เราประพฤติตนอย่างมีศีลธรรมมากขึ้น
ยิ่งเราหาเหตุผลมารองรับการกระทำของเราเองได้น้อยลงเท่าไหร่ ระดับความคดโกงที่ยอมรับได้ก็จะลดต่ำลงเท่านั้น
แมวของ Schrödinger ถ้าสารกัมมันตรังสีสลายตัว แมวก็จะตาย ตราบใดที่กล่องยังคงปิดสนิท แมวตัวนั้นก็จะอยู่กึ่งกลางระหว่างความเป็นและความตาย (ในความคิดของเรา) โดยเราไม่อาจพูดได้เต็มปากว่ามันยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว
กลศาสตร์ควอนตัวไม่ได้อธิบายสภาพความเป็นจริงที่เป็นรูปธรร อธิบายได้ในแง่ของความน่าจะเป็นเท่านั้น
คนเรายังชอบโกหกว่าตัวเองไม่ได้โกหกอีกด้วย
ผลประโยชน์ทับซ้อนซุกซ่อนอยู่ในแทบทุกด้านในชีวิตของเราอย่างแนบเนียน
ถ้าคุณใช้พลังใจจนร่อยหรอ คุณก็จะประสบความยากลำบากในการควบคุมความปรารถนาของตัวเองมากขึ้น อาจทำให้ความซื่อสัตย์ของคุณร่อยหรอตามไปด้วย
การหมดพลังใจทำให้ความสามาถในการใช้เหตุผลของเราลดลง การประพฤติตนอย่างมีศีลธรรมก็ลดลงไปด้วย
เมื่อเราหมดพลังใจ เรามักโกงมากขึ้น
การพยายามควบคุมแรงกระตุ้นกลับทำให้เราควบคุมตัวเองได้น้อยลงและอ่อนไหวต่อสิ่งเย้ายวนมากขึ้นไปอีก
เมื่อตระหนักว่าการปฏิเสธสิ่งเย้ายวนเป็นเรื่องยาก เราก็ควรเลือกที่จะอยู่ให้ห่างจากมันก่อนที่จะถูกมันเล่นงานดีกว่า
Self-signaling คนเราไม่ได้รู้จักตัวตนของตัวเองดีนัก (ถึงแม้เราจะชอบคิดว่าเรารู้ก็ตาม)
เรามักเชื่อว่าเราเข้าใจรสนิยมและลักษณะนิสัยของตัวเองอย่างทะลุปรุโปร่ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นเลย เพราะเอาเข้าจริง เราก็สังเกตตัวเองแบบเดียวกับที่เราสังเกตและตัดสินการกระทำของคนอื่น เพื่อสรุปตัวตนและความชอบของเราจากสิ่งที่เราทำลงไป
มนุษย์เรามีวิธียกตนข่มคนอื่นที่ซับซ้อนกว่าสัตว์ทั้งหลายอยู่นิดหน่อย นั่นคือการโกหก ไม่ใช่แค่โกหกคนอื่นเท่านั้นนะ แต่รวมถึงการโกหกตัวเองด้วย
การหลอกตัวเองเป็นกลยุทธ์ที่มีประโยชน์ในการทำให้เราเชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูด เราจึงไม่สะดุ้งสะเทือนเวลาถูกจับได้ว่าเราไม่ได้เป็นอย่างที่เสแสร้ง
ผู้คนจะโกงเมื่อมีโอกาส แต่จะโกงแบบเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น
บางครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจโกงหรอก เราแค่อยากหลอกตัวเอง
แต่การหลอกตัวเองอาจทำให้คุณนึกลำพองและมั่นใจในความสามารถของตัวเองมากขึ้นหรือมากเกินจริง
มนุษย์นั้นไซร้ ... ชอบพูดอะไรเกินจริง
เราพยายามหลอกตัวเองเพื่อรักษามุมมองดีๆ ที่เรามีต่อตัวเองเอาไว้ เราบิดเบือนความผิดพลาด ตอกย้ำความสำเร็จ (แม้ว่าความสำเร็จนั้นจะไม่ได้เกิดจากฝีมือเราทั้งหมดก็ตาม)
เราจำเป็นต้องหาจุดสมดุลซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างความสุข (บางส่วนมาจากการหลอกตัวเอง) กับการทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่ออนาคต (และการมองตัวเองตามความเป็นจริง)
การโกหกด้วยเจตนาดีก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลอยู่บ้างในบางสถานการณ์
เราทุกคนต่างก็เป็นนักเล่าเรื่องกันทั้งนั้น
คนเราอาจไม่รู้ตัวว่าทำไมจึงทำในสิ่งที่ทำ เลือกในสิ่งที่เลือก หรือรู้สึกในสิ่งที่รู้สึกเสมอไป
สมองซีกซ้ายเป็น "ล่าม" ซึ่งทำหน้าที่เรียบเรียงเรื่องราวจากประสบการณ์ของเรา
The first principle is that you must not fool yourself—and you
are the easiest person to fool.
Richard Feynman
หลักการข้อแรกคือคุณต้องไม่หลอกตัวเอง และระวังไว้นะครับ ตัวคุณเองนั่นแหละคือคนที่หลอกง่ายที่สุด
คนเราก็ไม่ได้ตัดสินใจตามความชอบที่ปรากฏเด่นชัดเสมอไป แต่จะรู้สึกอยู่ลึกๆ ว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไร
จากนั้นความคิดของเราก็จะเข้าสู่กระบวนการเล่นแร่แปรธาตุ โดยพยายามหาสารพัดเหตุผลมาปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ที่เคยตั้งไว้
วิธีนี้จะช่วยให้เราได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการจริงๆ แต่ในขณะเดียวกันก็หลอกลวงตัวเองและคนอื่นให้เชื่อว่า เรากำลังเลือกในสิ่งที่มีหลักการและมีเหตุผลรองรับเป็นอย่างดี
ความเชื่อมโยงระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับความไม่ซื่อสัตย์ดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับความสามารถของเราในการแต่งเรื่องบอกตัวเองว่ากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าความจริงจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยก็ตาม
ยิ่งเรามีความคิดสร้างสรรค์มากเท่าไร่ เราก็ยิ่งสามารถปั้นแต่งเรื่องราวดีๆ มารองรับความเห็นแก่ตัวของเราได้มากขึ้นเท่านั้น
“ไม้ตีเบสบอลและลูกบอลมีราคาทั้งหมด 1.10 เหรียญ ไม้ตีราคามากกว่าลูกบอล 1.00 เหรียญ ลูกบอลราคาเท่าไหร่?”.....
ถ้าต้องใช้เครื่องจักร 5 เครื่องเพื่อผลิตอุปกรณ์ 5 ชิ้นในเวลา 5 นาที เครื่องจักร 100 เครื่องจะใช้เวลานานเท่าไหร่ในการผลิตอุปกรณ์ 100 ชิ้น ...........
ในทะเลสาบแห่งหนึ่งมีใบบัวอยู่หนึ่งหย่อม แต่ละวันหย่อมใบบัวจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นสองเท่า ถ้าหย่อมใบบัวใช้เวลา 48 วันจึงปกคลุมทั้งทะเลสาบ หย่อมใบบัวนั้นจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่จึงจะปกคลุมครึ่งทะเลสาบ ..........
เมื่ออะไรสักอย่างหรือใครสักคนทำให้เราหงุดหงิด การมองหาเหตุผลมารองรับพฤติกรรมไร้ศีลธรรมก็กลายเป็นเรื่องง่ายดายขึ้นมาก
การโกงจะกลายเป็นเครื่องมือในการแก้แค้นอะไรก็ตามที่ทำให้เราไม่พอใจ เราจะบอกตัวเองว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิด ที่ทำไปก็เพื่อให้หายกันเท่านั้นเอง (บางคนอาจถึงขั้นอ้างกฎแห่งกรรมและการรักษาสมดุลของจักรวาล) เรากำลังต่อสู้เพื่อความยุติธรรมอยู่นะ!
ความคิดสร้างสรรค์กับความไม่ซื่อสัตย์นั้นมีความเชื่อมโยงกัน รวมทั้งตังพยายามจำกัดสถานการณ์ที่อาจเปิดโอกาสให้คนที่มีความคิดสร้างสรรค์เผลอใช้ทักษะของตัวเอง เพื่อค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการประพฤติผิดได้
การโกงคือโรคติดต่อ คนเราติดเชื้อการคดโกงกันได้อย่างไร
สมดุลแห่งความซื่อสัตย์อาจสั่นคลอนได้หากเราอยู่ใกล้กับคนคดโกง
บางทีการได้เห็นคนใกล้ชิดแสดงพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์อาจมี "พลังการแพร่ระบาด" ที่รุนแรงและเฉียบพลันกว่าการได้เห็นพฤติกรรมแบบเดียวกันจากคนแปลกหน้าที่ไม่ได้มีอิทธิพลกับเราก็เป็นได้
ถ้าการโกงที่เพิ่มขึ้นใดไม่ถูกจับได้ พวกเขาจะโกงมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าคนรอบตัวโกงมากขึ้นและยอมรับได้
แต่ถ้าคนโกงเป็นคนนอก เราจะไม่หาเหตุผลมารองรับให้ตัวเองกระทำความผิดตามไปด้วย แต่จะทำตัวเป็นคนดีมีศีลธรรมมากขึ้นเพราะอยากดึงตัวเองออกห่างจากคนไร้ศีลธรรมที่มาจากกลุ่มอื่น (ซึ่งรู้ผิดชอบชั่วดีน้อยกว่าเราเยอะ)
พฤติกรรมซื่อสัตย์ของคนในสังคมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อจิตสำนึกด้านศีลธรรมของเรา
การใช้บริการผู้เชี่ยวชาญคนเดิมนานๆ อาจมีประโยชน์ในแง่ของความต่อเนื่อง แต่ก็ระวังว่าเขาจะยิ่งใส่ใจและคำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเองมากขึ้นด้วย
สุดท้ายแล้วดูเหมือนปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อการโกงเหนือกว่าการสอดส่อง
การเห็นแก่ประโยชน์ของคนอื่นก็ดี แต่ระวังเมื่อมีการร่วมมือร่วมใจกันเพื่อโกง
พวกเราทุกคนล้วนรู้วิธีที่จะโกงทีละเล็กละน้อยกันทั้งนั้น ลองดูว่าคุณมีโอกาสโกงโดยไม่ถูกจับได้ในแต่ละวันบ่อยแค่ไหน
ทว่าในหลายๆ ครั้งเรากลับไม่ยอมโกงทั้งๆ ที่มีโอกาส นั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาศีลธรรมของเราครับ
memento mori คุณไม่ได้อยู่ค้ำฟ้า คุณไม่ได้ทำถูกต้องทุกอย่าง หรือไม่ คุณก็ไม่ได้มีเหตุผลเสมอไป ไม่ว่าจะเป็นอะไร การยอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง ก็ถือเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ การตัดสินใจที่ดีขึ้น สร้างสังคมให้ดีขึ้น และปรับปรุงองค์กรต่างๆ ให้เข้ารูปเข้ารอย
ยิ่งเราพัฒนาและนำกลไกบางอย่างมาปรับใช้มากขึ้น เราก็สามารถป้องกันการโกงได้มากขึ้น ซึ่งมันอาจดูไม่ค่อยง่ายนัก แต่ก็เป็นไปได้อย่างแน่นอน
เมื่อเรารู้แล้วว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราประพฤติตัวไม่ดี เราก็สามารถมองหาวิธีควบคุมพฤติกรรมและปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นได้
we quickly and easily start believing whatever comes out of our own mouths, เราเริ่มเชื่อในสิ่งที่ออกมาจากปากของเราอย่างรวดเร็วและง่ายดาย
เมื่อเราให้เครดิตกับบางสิ่งบางอย่างแล้ว เรามักจะเชื่อจริงๆ คนที่เราไว้วางใจ เราหลอกตัวเอง จึงไม่รับรู้ถึงความไม่ซื่อสัตย์
reminds us that willpower is a muscle. It takes energy to do the right thing. เตือนเราว่าจิตตานุภาพคือกล้ามเนื้อ การทำสิ่งที่ถูกต้องต้องใช้พลังงาน ..
นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ว่าเมื่อการโกงเริ่มต้นขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะได้รับแรงผลักดันและกลายเป็นโรคติดต่อ นั่นเป็นเหตุผลที่เราไม่ควรทนต่อความประมาทเล็ก ๆ น้อย ๆ มันลดมาตรฐานสำหรับทุกคน
ให้จำความผิดพลาดและความไร้เหตุผลของเราเพื่อที่เราจะสามารถป้องกันตนเองจากแนวโน้มของเรา เพื่อหลอกตัวเอง ฉันเดาว่า วันหนึ่งการมองย้อนกลับขั้นสูงเท่านั้นที่จะบอกเราได้ว่าเราประสบความสำเร็จเพียงใด
potential gains and likelihood of getting caught don’t really influence how much you cheat.
ผลกำไรและโอกาสที่จะถูกจับได้ไม่ได้ส่งผลต่อการโกงของคุณจริงๆ
Consciously performing some dishonest act, no matter how small, makes it more likely for others to follow.
การกระทำที่ไม่สุจริตอย่างมีสติ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ก็ทำให้ผู้อื่นมีโอกาสปฏิบัติตามมากขึ้น
เมื่อคุณได้ให้เหตุผลกับสิ่งที่ผิดแล้ว คุณมีแนวโน้มที่จะปรับแก้อีกครั้งหรือแม้แต่ทำขั้นตอนต่อไป
ด้วยความนับถืออย่างไร้เหตุผล - Dan Ariely
ตัดแปะโดย เฉลิมชัย เอื้อวิริยะวิทย์
โฆษณา