6 พ.ค. 2022 เวลา 13:41 • สุขภาพ
🤔Case ในร้านยา🤔
กินยาเออร์โกตามีนแก้ปวดหัวไมเกรนทุกวัน​ อยู่ดีๆชาที่ใบหน้า​มีปัญหา​เวลาเคี้ยวข้าว
😵ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดหัวที่พบได้บ่อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ยาที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันคือยาเออร์โกตามีนผสมคาเฟอีน​ ซึ่งปัจจุบันยาผสมเออร์โกตามีน​รูปแบบยากินไม่มีจำหน่ายในยุโรปหรืออเมริกา​ เนื่องจากถ้าใช้ยาไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง​
🔴อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญของยา ergotamine มีอะไรบ้าง?
↗️คลื่นไส้ อาเจียน เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยและสัมพันธ์กับปริมาณยาที่กิน
↗️ความดันโลหิตสูงขึ้น มักเกิดกับผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนแล้วและควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี​ เมื่อได้รับยา ergotamine ปริมาณสูงเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดการทำลายอวัยวะสำคัญได้ เช่น หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury) เป็นต้น
↗️ปลายมือ-เท้าเย็น หรือ ชา (numbness) เป็นผลจากการที่ยาหดหลอดเลือดส่วนปลาย ผลข้างเคียงนี้สัมพันธ์กับปริมาณยา ergotamine ในกระแสเลือด และหากมีอาการรุนแรงมากขึ้นอาจส่งผลทำให้เกิดการขาดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณมือ แขน หรือขา ไม่เพียงพอและทำให้เกิดเนื้อตายได้และอาจจำเป็นต้องตัดแขนหรือขาทิ้งในที่สุด
↗️ใจสั่น เจ็บหน้าอก เป็นผลมาจาก ergotamine ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (coronary artery) หดตัวหรือตีบแคบ ซึ่งทำให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง หากผลของการหดตัวของหลอดเลือดรุนแรงมากอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (acute coronary syndrome) ซึ่งอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
🔴การใช้ยา ergotamine ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
การใช้ยา ergotamine สำหรับรักษาโรคปวดหัวไมเกรนจะต้องใช้เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดเท่านั้น ห้ามใช้ติดต่อกันทุกวันเพื่อป้องกันอาการเด็ดขาด
 
ขนาดการกินยาที่เหมาะสม คือ
↗️กินเมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรนในครั้งแรก 1 หรือ 2 เม็ด
↗️จากนั้นทุกๆ ครึ่งชั่วโมงหากอาการไม่ดีขึ้นสามารถกินซ้ำอีกครั้งละ 1 เม็ด
↗️แต่ห้ามกินเกิน 6 เม็ดต่อวัน
↗️และห้ามกินยาเกินสัปดาห์ละ 10 เม็ด
เนื่องจากหากกินยาในปริมาณที่มากกว่านี้อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมทั้งมีอาการเจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียนมากกว่าเดิมได้
⚠️⚠️⚠️การกินยา ergotamine ติดต่อกันทุกวัน หลอดเลือดแดงที่ผิดปกติจะถูกทำให้หดตัวอยู่ตลอดเวลา​ ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดหัวไมเกรนเลย แต่เมื่อใดที่หยุดกินยา​ หลอดเลือดจะขยายตัวอย่างมากและทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนอย่างรุนแรง (rebound headache )
👨‍🔬Ergotamineเป็นยารักษาอาการปวดหัวไมเกรนที่มีประสิทธิภาพดี แต่มีข้อควระวังและข้อห้ามใช้ค่อนข้างมาก ดังนั้น การกินยาอย่างถูกต้อง และ การเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นหนทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา ergotamine ได้ดีที่สุด
💥มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​ เชิญปรึกษา​เภสัชกรประจำ​ร้านยา💥
.
.
💢
เนื้อหาจาก
.
ภาพจาก
https://www.fm91bkk.com/ยา-Ergotamine-ใช้แก้ปวด ไม่ใช่ป้องกันไมเกรน
.
.
.
.
🤔Case ในร้านยา🤔
มีผู้ถือบัตรว่าป่วยเป็น​ HIV​ มาขอซื้อยาแก้ปวดหัวไมเกรน
📌ปัญหายาตีกันจากการใช้ยา ergotamine
ยาตีกัน ระหว่าง​ยาแก้ปวดหัวไมเกรนเออร์โกตามีน กับยาอื่น สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1) ยาตีกันที่ทำให้ประสิทธิภาพหรือปริมาณยา ergotamine ในกระแสเลือดลดต่ำลง ทำให้ควบคุมอาการปวดศีรษะไมเกรนไม่ได้ และ
2) ยาตีกันที่ทำให้ประสิทธิภาพหรือปริมาณยา ergotamine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น
⚠️⚠️ยาที่ต้องระวังเมื่อกินยาแก้ปวดหัวไมเกรนเออร์โกตามีน คือยาที่มีผลเพิ่มระดับ ergotamine ในกระแสเลือด โดยเฉพาะยาที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ cytochrome P450 (CYP) ชนิด 3A4 ซึ่งใช้ในการกำจัดยา ergotamine
ผลจากการยับยั้งเอนไซม์ CYP3A4 นี้สามารถเกิดขึ้นเร็วและทำให้ระดับยา ergotamine ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และหากมีการกินยา ergotamine ในขนาดที่มากเกินไปหรือกินยาติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้มีการสะสมของยาในกระแสเลือดจนถึงระดับที่อันตรายและก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาในที่สุด
🔴ยาที่ใช้บ่อยและส่งผลเสียอย่างมีนัยสำคัญหากกินร่วมกับ ergotamine ได้แก่
📌ยาต้านเชื้อรากลุ่ม azoles เช่น ketoconazole, voriconazole, itraconazole, fluconazole
📌ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม macrolides เช่น clarithromycin, azithromycin
📌ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น verapamil, diltiazem, amiodarone
📌ยาต้านเชื้อไวรัส กลุ่ม protease inhibitors เช่น ritonavir, indinavir, nelfinavir, saquinavir
📌ยาต้านอาการปวดศีรษะไมเกรนกลุ่ม triptans เช่น sumatriptan, zolmitriptan ยาในกลุ่มนี้จะไปเสริมฤทธิ์ในการหดหลอดเลือดของ ergotamine และควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน (ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากจำเป็นต้องใช้ยาทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน)​
🏮คำแนะนำสำคัญเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจาก ergotamine ได้แก่
↗️ควรกินยา ergotamine เฉพาะเวลามีอาการปวดศีรษะไมเกรนเท่านั้น และหลีกเลี่ยงการกินยาติดต่อกันทุกวัน
↗️ขนาดยาที่แนะนำเมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรนในครั้งแรก คือ 1 หรือ 2 เม็ด จากนั้นสามารถกินเพิ่มได้อีกครั้งละ 1 เม็ด ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงหากอาการไม่ดีขึ้น แต่ห้ามกินเกิน 6 เม็ดต่อวัน และห้ามกินยาเกิน 10 เม็ด ต่อสัปดาห์
↗️หลีกเลี่ยงการกินยาที่เพิ่มประสิทธิภาพ ergotamine
 
อย่างไรก็ดี หากกำลังกินยาที่มีผลตีกับยา ergotamine ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ergotamine และใช้ยาที่เป็นทางเลือกอื่นๆ สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนแทน
ควรแจ้งเภสัชกรและแพทย์ทราบทุกครั้งเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่กำลังกินอยู่​ เพื่อป้องกันการเกิดยาตีกันกับยา ergotamine
💥💥มีปัญหา​เรื่องการใช้ยา​ เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกรประจำร้านยา💥💥
😈ไมเกรน (migraine) เป็นโรคปวดศีระษะที่พบได้บ่อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สาเหตุจากปัจจัยกระตุ้นส่งผลให้หลอดเลือดแดงทั้งด้านในและด้านนอกกระโหลกเกิดการขยายตัวง่ายกว่าคนปกติ จนทำให้เกิดอาการปวดหัวในที่สุด
💊ยาที่มีการใช้บ่อยและมีข้อควรระวังในการใช้ยาค่อนข้างมาก คือ ยาเออร์โกตามีน (ergotamine) ซึ่งใช้รักษาไมเกรนฉับพลัน​
ในประเทศไทยยาเออร์โกตามีน มีชื่อทางการค้า เช่น Cafergot®, Avamigran® Tofago® Migana® Migrano® Polygot® ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยาสำคัญ คือ ergotamine tartrate ขนาด 1 มิลลิกรัม ผสมอยู่กับ caffeine 100 มิลลิกร้ม
🃏ยาเออร์โกตามีนออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นตัวรับของสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (serotonin) ชนิด 1B และ 1D (5-HT1B และ 5-HT1D) ทำให้หลอดเลือดที่ขยายตัวผิดปกติเกิดการหดตัวลงและทำให้อาการปวดศีรษะหายไปในที่สุด
นอกจากนี้ยังกระตุ้นตัวรับอื่นๆ ได้ ได้แก่ α-1 และ dopamine-2 (D2) ซึ่งการกระตุ้นตัวรับเหล่านี้จะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยา
การใช้ยา​ที่ถูกต้อง
✔️การใช้ยา ergotamine สำหรับรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรนจะต้องใช้เฉพาะเวลาที่มีอาการปวดเท่านั้น
 
✔️กินทันทีเมื่อปวดหัวไมเกรนในครั้งแรก 1 หรือ 2 เม็ด
จากนั้นทุกๆ ครึ่งชั่วโมงหากอาการไม่ดีขึ้นกินซ้ำอีกครั้งละ 1 เม็ด
แต่ห้ามเกินวันละ 6 เม็ด และห้ามกินยาเกินสัปดาห์​ละ 10 เม็ด
เนื่องจากหากกินยาในปริมาณที่มากกว่านี้อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมทั้งมีอาการเจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียนมากกว่าเดิมได้
การใช้ยาผิดวิธี
❌ห้ามกินติดต่อกันทุกวันเพื่อป้องกันปวดหัวไมเกรน❌
ถือว่าเป็นการใช้ยาอย่างผิดวิธีที่อาจส่งผลเสียรุนแรงต่อชีวิตได้
การกินยาเออร์โกตามีนติดต่อกันไปเรื่อยๆ​ จะทำให้มีความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดในสมองแตก หรือ หัวใจวายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว
นอกจากนี้ในระหว่างที่กินยาเออร์โกตามีนติดต่อกันทุกวันนั้น หลอดเลือดแดงที่ผิดปกติจะถูกยาออกฤทธิ์​ทำให้หลอดเลือดหดตัวอยู่ตลอดเวลาซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนเลย แต่เมื่อใดที่หยุดยาหลอดเลือดดังกล่าวจะขยายตัวอย่างมากและทำให้เกิดอาการปวดไมเกรนอย่างรุนแรง (rebound headache )
💥อาการข้างเคียงจากการใช้ยา
- คลื่นไส้ อาเจียน
จากการกระตุ้นตัวรับ ชนิด D2 (D2-receptor) ซึ่งถ้าอาการรุนแรงสามารถกินยาแก้อาเจียน​ เช่น​ ดอมเพอริโดน​
- ความดันโลหิตสูงขึ้น
จากการกระตุ้นตัวรับชนิด α1 (α1-receptor) ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว
- ปลายมือ-เท้าเย็น หรือ ชา(numbness)
จากการกระตุ้น α1-receptor หากมีอาการรุนแรงร่วมกับมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณแขน มือ ขา หรือเท้า ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- ใจสั่น เจ็บหน้าอก
จากการกระตุ้นตัวรับ 5-HT1B ที่บริเวณหลอดเลือดโคโรนารี่ที่หัวใจ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์
💥ข้อควรระวังเมื่อกินร่วมกับยาตัวอื่น
ยาเออร์โกตามีนถูกทำลายโดยใช้เอนไซม์ Cytochrome P450 ชนิด 3A4 (CYP 3A4) ดังนั้นอาจต้องระมัดระวังเมื่อกินร่วมกับยาที่มีผลยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว เช่น azithromycin, clarithromycin, ketoconazole, ritonavir หรือ verapamil เป็นต้น
เนื่องจากการกินยาร่วมกันจะส่งผลทำให้ระดับยาเออร์โกตามีนในกระแสเลือดสูงขึ้น จนได้รับผลข้างเคียงหรือความเป็นพิษจากยาเพิ่มขึ้น และเพื่อป้องกันการเกิดผลดังกล่าว ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งว่ายาที่ตนเองใช้อยู่มีอะไรบ้าง
⛔ข้อห้ามใช้ของยาเออร์โกตามีน
- มีประวัติแพ้ยาเออร์โกตามีน หรือสารที่เป็นอนุพันธ์ของ ergot alkaloid
- หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral arterial disease)
- มีความบกพร่องในการทำงานของตับ และไต
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (angina)
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้
- ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis)
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ (ทุกไตรมาส)
เออร์โกตามีนเป็นยารักษาอาการปวดหัวไมเกรนที่มีประสิทธิภาพดี แต่มีข้อควระวังและข้อห้ามใช้ค่อนข้างมาก การกินยาอย่างถูกต้อง และ เฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นหนทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
😀มีปัญหา​เรื่อง​การ​ใช้​ยา​เชิญ​ปรึกษา​เภสัชกร​
.
.
💢
.
POSTED 2022.05.06
UPDATED 2022.13.11

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา