6 พ.ค. 2022 เวลา 15:46 • การศึกษา
“Maker & Checker” คู่กันแล้ว ก็อาจ ‘แคล้ว’ กัน ได้
Hello วันศุกร์สุดสัปดาห์ค่ะ วันนี้จั่วหัวมาด้วยเรื่องของ “Maker & Checker”
เขาคือใครหนอ ?
ขอใบ้นิดนึงว่า คน คู่ นี้เขามีบทบาทมากในการป้องกัน Human Error และในบางครา เขาคือคนป้องกันทุจริตด้วย !!!!
ลองหลับตาและนึกย้อนกลับไปสมัยตัวคุณเองอายุ 5 ขวบ ดูนะคะ
ภาพที่คุณกำลังใส่ชุดนักเรียนแบบติดกระดุมหน้า ชัดเจนขึ้นมา
คุณกำลังง่วนกับการจับให้กระดุมเข้าไปในรังดุมอย่างสุดความสามารถ
คุณทำมาได้แล้ว 4 จาก 5 เม็ด
และแล้ว เมื่อคุณกำลังติดกระดุมเม็ดสุดท้าย
คุณพบว่า ไม่มีรังดุม ที่ว่างอยู่เลย !!!
ทันใดนั้นเอง คุณแม่ของคุณก็ปรากฎกายขึ้น พร้อมทั้งสอนคุณติดกระดุมใหม่ ทั้งหมด
https://www.freepik.com/premium-photo/child-development-concept-close-up-little-kindergarten-boy-s-hands-learning-get-dressed-buttoning-his-striped-blue-shirt-montessori-practical-life-skills-care-self-early-education_7466565.htm#query=Kids%20Get%20dress%20button&position=9&from_view=search
เห็นหรือยังคะ คนไหนคือ “Maker” คนไหนคือ “Checker”
“Maker & Checker” เป็นวิธีการควบคุม (Control) แบบหนึ่ง เพื่อป้องการการทำงานผิดพลาด
โดยใช้หลักการว่า ‘คนหนึ่งสร้าง’ ‘คนหนึ่งตรวจ’
ในโลกการทำงานจริง บางงานอาจจะใช้คนตรวจมากกว่าหนึ่งคนก็ได้
“Maker & Checker” บางตำราก็เทียบเคียงกับ “Four Eyes Principle” (Two-man rule)
ความดีของ “Maker & Checker” คือ ป้องการทุจริต และ ลดการทำงานผิดพลาด
ตัวอย่างเช่น (เป็นเหตุการณ์สมมติล้วนๆนะคะ)
นาย A เป็นพนักงานเวชระเบียน ณ โรงพยาบาลแห่งหนี่ง กำลัง key ข้อมูลผู้ป่วยใหม่เข้าระบบ โดยต้องกรอกข้อมูล ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน และที่อยู่ปัจจุบัน
เนื่องจากวันนั้นมีผู้ป่วยใหม่จำนวนมาก ทำให้นาย A ต้องรีบกรอกข้อมูล และบันทึกลงระบบ
เมื่อสิ้นวัน นางสาว B พนักงานแผนกเวชระเบียนอีกท่านหนึ่ง ต้องเข้าระบบ เพื่อตรวจสอบข้อมูล และเอกสาร พร้อมทั้งกดปุ่มยืนยันการบันทึกข้อมูลให้เข้าฐานข้อมูลกลางของโรงพยาบาล
นางสาว B พบว่า มีการบันทึกข้อมูลที่อยู่สลับกัน ของผู้ป่วย 2 ราย เนื่องจากชื่อของผู้ป่วยซ้ำกัน จึงแจ้งให้ นาย A ทราบ เพื่อแก้ไขข้อมูล
เมื่อนาย A ทราบและแก้ไขแล้ว นางสาว B ต้องตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง ให้มั่นใจว่า การแก้ไขนั้นถูกต้องจริงๆ
ในที่นี้ นาย A คือ “Maker” นางสาว B คือ “Checker”
มีหลายครั้งที่ Checker ตรวจพบว่ามีการทำงานผิดพลาดและแจ้งกลับให้ Maker แก้ไขแล้วจริง แต่…..
เมื่อ Maker แก้ไขแล้ว เขากลับไม่ได้ตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง จึงมีเหตุที่พบ Human Error ได้อีก แม้จะมีการสร้างระบบควบคุมที่ดีแล้วก็ตาม
ในบางครั้งก็มีแนวคิดว่า "Maker & Checker" ที่เป็นคนจากแผนกเดียวกัน (Maker & Checker In Dept.) มีความสนิทสนมมากกว่าคนนอกแผนก และมักจะอลุ่มอล่วยในการตรวจสอบ หรือมีความไว้เนื้อเชื่อใจมากกว่า
จึงมีการควบคุมอีกแบบที่เรียกว่า Maker & Checker Other Dept. คือให้ผู้ตรวจสอบเป็นคนจากแผนกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ ซึ่งในบางครั้งอาจมองว่าเป็น “Segreation of Duties: SoD) ก็ได้
ครั้งหน้าเราจะมาต่อกัน “Segreation of Duties: SoD) นะคะ
วันนี้ขอบคุณที่ติดตาม
สวัสดีค่ะ
โฆษณา