17 พ.ค. 2022 เวลา 08:00 • ธุรกิจ
“ปลากัด” Soft Power ไทย ไปไกลสู่ตลาดโลก
นอกจาก ชฎา ข้าวเหนียวมะม่วง ที่ตอนนี้กำลังโด่งดังในฐานะ “Soft Power” ของไทย แต่ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่เป็น Soft Power ของไทยเรามาตั้งแต่ยุคแรก ๆ และทำรายได้อย่างมหาศาลอีกด้วย นั่นก็คือ “ปลากัด”
“ปลากัด” Soft Power ไทย ไปไกลสู่ตลาดโลก
หากพูดถึง “ปลากัด” สำหรับต่างชาติแล้วแน่นอนว่าต้องนึกถึงประเทศไทย เนื่องจากการเพาะเลี้ยงอย่างพิถีพิถัน และการเพาะพันธุ์ให้ปลากัดแต่ละตัวมีลวดลายสีสันแตกต่างกันออกไป
แน่นอนว่ายิ่งมีลวดลายสวยสดงดงามและแปลกใหม่มากเท่าไร ย่อมมีราคาที่สูงขึ้นตามมาอย่างแน่นอน นอกจากการเพาะเลี้ยงเพื่อส่งขายทั้งในไทยและต่างประเทศแล้ว ยังมีการประกวดปลากัดสวยงามอีกด้วย
และในครั้งนี้ทีมงานกรุงเทพธุรกิจได้มีโอกาสพูดคุยกับ นายเอสรา หัตถกิจสกุล เจ้าของฟาร์ม Amezing Grace Betta ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในฟาร์มปลากัดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ทั้งในเรื่องของการส่งออกและการเดินสายประกวดซึ่งกวาดรางวัลมาแล้วมากมายจนปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใน "วงการปลากัดไทย"
1
ซึ่งนายเอสรา เริ่มต้นเล่าว่าโดยปกติปลากัดพื้นบ้านของไทย หรือปลากัดป่าสามารถพบเจอได้ตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติในทุกภาคของประเทศ และปลากัดในแต่ละภูมิภาคจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป
ถือว่าเป็นเสน่ห์ของปลากัดไทยด้วยเครื่องความพริ้วไหวความดุดันในการว่ายน้ำและเครื่องที่สวยงาม สีที่สวยงามของปลากัดไทยทำให้เป็นจุดเด่นที่ทำให้ต่างชาติมองว่าปลากัดของไทยนั้นมีความสวยงาม
สำหรับในเรื่องเชิงธุรกิจนั้น นายเอสราระบุว่าส่วนตัวแล้วทำในส่วนของปลากัดสวยงาม เรื่องตลาดในตอนนี้ถือว่าดุเดือดมากพอสมควรเนื่องจากในอดีตประเทศไทยถือเป็นเจ้าแรกที่ผู้ซื้อปลากัดนึกถึงทำให้มีการส่งออกที่สูงมาก
แต่ในปัจจุบันมีคู่แข่งสูง เช่น อินโดนีเซีย ก็มีผู้เพาะเลี้ยงที่มีความสามารถสูง รวมถึง เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ ทำให้ตอนนี้ในตลาดต้องแข่งทั้งเรื่องความสวยงามและราคา
นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลากัดคือเรื่องการให้อาหาร ในส่วนข้อดีในการเลี้ยงปลากัดนั้นก็คือ สามารถเพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี และปลากัดก็สามารถอยู่ได้ทุกสภาพอากาศมีความทนทานและที่สำคัญไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยงมากและไม่ต้องใช้ออกซิเจน
โฆษณา