-Length Play อาจจะไม่ใช่ประเด็นจักสำคัญอะไร หากสาสน์ของอัลบั้มหนักแน่น ชัดเจนในเป้าประสงค์มากพอ คือรู้ตัวเองว่าอยากให้คนฟังได้อะไร อยากท้าทายคนฟังก็ว่าไป แปลกดีที่ผมกลับรู้สึกว่า RAMONA PARK BROKE MY HEART เป็นความ nostalgia ถึงความรุนแรงบ้านใกล้เมืองเคียง Long Beach California ที่ล่องลอยและแสนด้านชาเสียจนมีจุดที่เริ่มจะวกวน ไม่มีจุดสะกิดต่อม thrill หรือแม้กระทั่งความรู้สึก survivor guilt ที่ตื้นเขินไปหน่อย โดนความเฉยชากลบจนแบนราบ ไม่คล้อยตามเสียเลย
-โดยเฉพาะช่วงกลางอัลบั้มตั้งแต่ EAST POINT PRAYER ที่มี Lil Baby มาแจมก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก LEMONADE ท่วงทำนอง slow jam ที่ได้ Ty Dolla $ign มาฟีทจนผมเริ่มเบื่อแล้ว ไม่รู้ว่าใครเป็นเหมือนผมมั้ย MAMA’S BOY เป็นการสรรเสริญชาวแก๊งค์ crip ที่ดูเลื่อนลอยไปเรื่อย BANG THAT ที่ประสานกับ Mustard ในแบบที่เริ่มจะหมดมุก แล้วดูเหมือน vibe เพลงจะเริ่มซ้ำๆกัน ช่วงกลางอัลบั้มเกือบจนจะจบอัลบั้มเป็นช่วง slow burn ที่ผมอยากจะกดข้าม
-อินโทรเปิดอัลบั้ม THE BEACH ชวนระลึกถึงอินโทรเปิดอัลบั้ม Summertime ‘08 ที่คราวนั้นมาอย่างดาร์ก distort เสียงริมชายหาดได้หลอนหู แต่สำหรับเพลงนี้เสียงชายหาดปกติ เสียงปืนดังปังที่ไม่กระโชกโฮกฮาก เป็นการเกริ่นนำที่เราจะได้กลิ่นความไม่ชอบมาพากลของชุมชนรอบข้าง แต่เป็น vibe ที่สบายกว่านั่นเอง AYE! (FREE THE HOMIES) เป็นการตอกย้ำความสบายรื่นหูที่เราจะได้ยินต่อจากนี้ อีกทั้งอารมณ์ของเพลงมีความประนีประนอม อยากเห็น homie ออกจากคุกรับอิสรภาพ มีโอกาสในการใช้ชีวิตบ้าง ประหนึ่งเป็น anthem เฉลิมฉลองโจรหรือนักเลงเก่าที่ได้ออกจากคุกนั่นเอง DJ QUIK เป็นการบูชาดีเจชั้นครูแห่ง west coast ที่มาในโทนเงียบ Lo-Fi ต่อด้วยเพลงตัวแทน Radio Friendly อย่าง MAGIC ที่น่าจะเปิดทางสู่ความเป็นเมนสตรีมมากที่สุด บทเพลงเฉลิมฉลองความเป็นไทของชาวแก๊ง
-NAMELESS เป็น interlude สั้นๆที่น่าสนใจในการบอกเล่าประเด็นความรุนแรงของอาวุธปืนกับการถกเถียงเรื่องการป้องกันตัวเองด้วยการต้องลั่นไก แต่ก็ต้องแลกกับการโดนลงโทษทางกฎหมายซึ่งมีพรรณนาต่อในเพลง WHEN SPARKS FLY ที่ฟังดูเผินๆเหมือนเพลงรัก จริงๆแล้ววิ้นซ์กำลังเปรียบเปรยความสัมพันธ์ระหว่างคนกับปืนที่ค่อนข้าง toxic เสียจนคนต้องเดือดร้อน ติดคุกติดตะราง sampling เพลง I Gave You Power ของ Nas ได้โดดเด่นมาก ซึ่งผมดันชอบแทร็คนี้มากที่สุดในอัลบั้มด้วย
-สองแทร็คสุดท้ายยังดีที่มีอะไรให้พูดถึง เริ่มจุดติดได้บ้าง หลังจากที่เจอกับความ slowburn ในช่วงกลางอัลบั้มที่ไม่จักสำคัญใดๆ ROSE STREET เป็นการย้ำให้ฟังช้าๆชัดๆว่า กูไม่ได้แร็ปเพลงรัก กูแค่แสดงความเคารพวิถีชีวิตชาวแก๊งค์เว้ย ซึ่งการมีเยือนร้านดอกไม้ที่ Long Beach นั้นกะเอาดอกไม้ไปวางในหลุมฝังศพของชาวแก๊งผู้วายชนม์นั่นเอง เลยลิ้งค์ต่อกันในเพลงสุดท้าย THE BLUES เหมือนเป็นคู่ขนานของเพลงเปิดอัลบั้ม THE BEACH ที่มีทั้งเสียงชายหาดและเสียงปืนที่ขัดจังหวะอย่างฉับพลัน สำหรับ THE BLUES แล้วมันคือโมเมนต์ยืนโง่ๆอยู่ริมทะเลที่ทุกอย่างรอบตัวดันด้านชาไปหมด โดยนายวิ้นซ์ใช้เทคนิคสะกดจิตคนฟังให้ด้านชาตาม (ขออธิบายเพลงนี้เยอะหน่อย)
-โดยเฉพาะท่อนฮุกที่นายวิ้นซ์พูดทั้ง Money made me numb และ Waiting ’til the Lord allows it ซ้ำกัน 6 ครั้ง จนสิ่งที่มีค่าทั้งเงินและศรัทธาในพระเจ้ากลายเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายไปโดยปริยาย เหมือนวิ้นซ์พยายามจะสื่อสารว่า ชื่อเสียง เงินทองทั้งหลายที่เขาสามารถหาได้ง่ายกว่าแต่ก่อน ศรัทธาในพระเจ้าเริ่มไม่มีความหมาย หากมิตรสหายรอบข้างทยอยหายไปทีละคนจากความรุนแรงหรือไม่ก็การติดคุกติดตะราง
I keep gettin' smaller houses but I won't find peace 'til the Lord allows it