8 พ.ค. 2022 เวลา 13:01 • คริปโทเคอร์เรนซี
คู่แฝดทางเศรษฐกิจของ financial sector และ real sector ในโลกดิจิทัล ที่เติบโตขึ้นเพราะวิกฤตโควิด - 19
เมื่อก่อน sector ทางเศรษฐกิจจะประกอบด้วยสอง sector ใหญ่ ได้แก่ real sector และ financial sector โดยในสภาวะปกติธนาคารกลางใช้ financial sector เป็นทางผ่านของการใช้เครื่องมือทางการเงินในการปรับสภาพคล่องใน real sector กล่าวคือ ยามใดที่เห็นว่าสภาพคล่องใน real sector ฝืดเคือง ธนาคารกลางก็จะอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจผ่าน financial sector ในทางตรงกันข้าม ยามใดที่เห็นว่าสภาพคล่องใน real sector มากเกินไป ธนาคารกลางก็จะดึงเงินออกจากระบบ โดยดึงเงินออกผ่าน financial sector เช่นเดียวกัน โดยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายและ open market operation เป็นตัวอย่างของเครื่องมือ ส่วนจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสมบูรณ์ของทั้ง real sector และ financial sector ของแต่ละประเทศ และแต่ละบริบทของสภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้น
เมื่อเกิดวิกฤตโควิด ธนาคารกลางทั่วโลกต่างทำแบบเดียวกันคืออัดเงินเข้าไปเลี้ยง real sector เป็นจำนวนมาก แต่คราวนี้อาการหนักมาก การอัดผ่าน financial sector อย่างเดียวจึงไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากธรุกิจจำนวนมากไม่อยู่ในเงื่อนไขที่สถาบันการเงินสามารถปล่อยสภาพคล่องให้ได้ ดังนั้นการอัดเงินในครั้งนี้ นอกจากผ่าน financial sector ตามปกติแล้ว ยังต้องใช้วิธีให้รัฐบาลยื่นเงินใส่มือประชาชนโดยตรงอีกทางหนึ่ง แล้วธนาคารกลางก็เข้าไป finance ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล
หากโครงสร้างเศรษฐกิจยังเป็นแบบเดิม เงินส่วนที่อัดเข้าไปผ่าน financial sector แล้วยังไปไม่ถึง real sector จะโป่งอยู่ใน financial sector ในรูปของสภาพคล่องที่ล้นระบบธนาคาร ราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงิน ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้หรือตราสารทุนจะวิ่งสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งก็เป็นเช่นนี้มาทุกครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา และครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ครั้งนี้ ไม่เหมือนกับทุกครั้ง
ไม่เหมือนอย่างแรกคือ เงินที่อัดเข้าไปผ่าน financial sector ลงไปใน real sector น้อยมาก เพราะ real sector ทำงานไม่ได้เนื่องจากคนทำงานถูก lockdown กิจกรรมทางเศรษฐกิจจำนวนมากโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจของคนต้องหยุดลงอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นถึงอัดเข้าไป ก็ไม่มี absorptive capacity ใน real sector ที่จะรับการไหลเข้าของเงินที่อัดเข้ามา
ไม่เหมือนอย่างที่สองคือ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้เกิดตลาดการเงินรูปแบบใหม่ขึ้น เรียกว่าตลาด cryptocurrency และด้วยความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้ตลาด crypto มีความพร้อมสำหรับการเข้ามาของเงินทุนก้อนใหม่ ดังนั้นเมื่อเฟดและธนาคารกลางทั่วโลกขยาย balance sheet ของตัวเองโดยอัดเงินเข้า financial sector และซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อ finance การขาดดุลของรัฐบาลที่ส่งเงินให้กับประชาชนโดยตรงและกระตุ้นผ่านการลงทุนและใช้จ่ายอื่น ๆ แต่เงินที่เข้าไป financial sector ไหลต่อไป real sector ไม่ได้ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น สิ่งที่เกิดขึ้นในทันทีคือเงินจำนวนหนึ่งและมากพอสมควร (เดาว่าประมาณ 2-3 trillion USD เมื่อเทียบกับ balance sheet ของ fed ที่ใหญ่ขึ้นจาก ประมาณ 4 trillion เป็น 8 trillion ในเวลา 2 ปี) ทะลักเข้าตลาด crypto ทันที
และนั่นเป็นเหตุให้ market cap ของตลาด crypto สูงขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา แต่การสูงขึ้นของราคาอย่างมากนี้จะทำให้เกิดภาวะฟองสบู่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ absorptive capacity ของตลาด crypto เอง ซึ่งผูกโยงอย่างแน่นกับอัตราการเติบโตทางเทคโนโลยี (technological progress) ในตลาด crypto
การเพิ่มขึ้นของ balance sheet ของ Fed ในช่วงปี 2563 – 2564
การเพิ่มขั้นของราคา bit coin ในช่วงเดียวกัน
จากการสังเกตนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ออกมาอย่างต่อเนื่องในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตัวเองและการเกิดขึ้นของ blockchain ต่าง ๆ จำนวนมาก การเกิดตลาดเงินอย่าง DiFi การเกิดนวัตกรรมอย่าง NFT ที่เป็นกุญแจตัวสำคัญที่นำไปสู่การเกิด Metaverse ในปัจจุบัน โดยอาศัยความรู้สึกส่วนตัวล้วน ๆ คิดว่าการเกิดขึ้นของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ คือการขยาย absorptive capacity ให้กับตลาด crypto และทำให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่ในตลาด crypto ทำนองเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์ปี 2008 ในอเมริกา หรือ 1997 ในบ้านเรา น้อยลง และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ตลาด crypto ได้กลายเป็น sector ใหม่ sector ที่สามในระบบเศรษฐกิจไปเรียบร้อยอย่างไม่สามารถปฏิเสธได้
การเกิดขึ้นของ crypto sector ในโลก digital ว่าไปแล้วคือการเกิดคู่แฝดของ financial sector ในโลก physical ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ก็ต้องมีคำถามว่า แล้วคู่แฝดของ real sector ในโลก digital คืออะไร สำหรับผม ผมมองว่า คือ metaverse
เพราะการเกิดขึ้นของนวัตกรรม NFT ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ผ่านโลกเสมือนจริงกลายเป็นจริงขึ้นมา ดังนั้นนับจากนี้เป็นต้นไป กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างในโลกความเป็นจริงจะถูกย้ายไปอยู่บนโลกเสมือนจริงหรือ metaverse และจะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่จำนวนมากถูกเพิ่มเข้าไปในโลกใบใหม่นี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงไม่สามารถมอง metaverse เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากคู่แฝดของ real sector และเป็น sector ที่สี่ของระบบเศรษฐกิจไปแล้วอย่างสมบูรณ์
ก่อนหน้านี้ประมาณสองสัปดาห์ มีการถกเถียงกันในทีมว่า cryptocurrency จะมาแทน fiat money ได้หรือไม่ ความเห็นของผมในขณะนั้นคือยังไม่ได้ เพราะแม้ cryptocurrency จะทำหน้าที่ store of value ได้ดีแล้ว ทำหน้าที่ standard of deferred payment ได้ดีในระดับหนึ่ง แต่หน้าที่ของการเป็น unit of account กับ medium of exchange ยังทำไม่ได้สาเหตุเพราะราคาของ cryptocurrency แกว่งมากเกินไป แต่ที่ผมคิดอย่างนั้นในตอนนั้นเพราะผมยังคิดถึงแค่โลก physical เนื่องจากยังไม่เคลียร์ใน metaverse มากพอ แต่เมื่อภาพของ metaverse ชัดเจนขึ้น ผมจึงค้นพบว่า ในโลกดิจิทัลเสมือนจริง cryptocurrency ได้ทำหน้าที่ของ money ไปแล้วอย่างสมบูรณ์
ที่ผ่านมา ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านกระบวนการ globalization ของโลก physical ทำให้ประสิทธิผลการใช้นโยบายการเงินโดยการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ มีประสิทธิผลน้อยลงอยู่แล้ว ยิ่งประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กและเปิดมาก ประสิทธิผลของการใช้นโยบายการเงินของประเทศนั้นยิ่งน้อยลง ส่วนประเทศใหญ่ที่มีสกุลเงินเป็นสกุลหลักของโลกอย่างสหรัฐอเมริกายังพอใช้ได้ดี เพราะเมื่อทั้งโลกใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เศรษฐกิจของโลกก็เปรียบเหมือนเศรษฐกิจปิดที่มีเฟดเป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินแต่เพียงผู้เดียว
นอกจากนี้ ในโลก physical ยังมี barrier อีกหลายอย่างที่สามารถสกัดการไหลของเงินจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งไม่ให้เคลื่อนไหวได้อย่างเสรีและสมบูรณ์ ส่วนสินค้านั้นแน่นอนว่า ยิ่งยากกว่าการไหลของเงินเพราะมีทั้งปัจจัยเรื่องระยะทาง เวลา และต้นทุนค่าขนส่ง เป็นตัวแปรสำคัญ แต่ในโลกดิจิทัล การเกิดขึ้นและการไหลของเงินใน crypto sector และการไหลของสินค้าและบริการใน metaverse sector แทบจะไม่มี barrier เลย
ด้วยเหตุที่ปริมาณเงินจากการใช้เครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลางถูกเปลี่ยนทิศทางมาใน sector ที่สามและ sector ที่สี่ที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ อย่างไม่ได้ตั้งใจและไม่อยากให้มาเพราะทำให้นโยบายการเงินของทุกประเทศในโลก ไม่ว่าจะใหญ่แค่ไหนถูกด้อยประสิทธิภาพลงไปทันที การส่งผ่านประสิทธิภาพของนโยบายการเงินลงไปใน real sector ที่อยู่ใน boundary ของแต่ละประเทศ ก็ต้องลดลงไปด้วยในที่สุด รัฐบาลประเทศใหญ่ ๆ ที่เป็นขาใหญ่โลกปัจจุบันจึงต้องหาทางสกัดการเติบโตของสอง sector นี้ในทุกทาง เพราะไม่เช่นนั้น ในระยะยาว จะต้องสูญเสีย sovereignty ทางการเงินไปอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ที่รุนแรงและชัดเจนกว่าชาติอื่นคือรัฐบาลจีน ที่สั่งให้ crypto เป็นเรื่องผิดกฎหมายไปเลย แต่ก็ทำได้ในวงจำกัด เพราะโลก crypto เป็นโลกออนไลน์ เมื่อถูกห้ามในจีนก็ไปโป่งนอกจีน ส่วนประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป เนื่องจากติดกับดักรัฐธรรมนูญของตัวเองจึงทำแบบจีนไม่ได้ อาวุธที่จะใช้ในการกำหราบความร้อนแรงของ crypto จึงมีจำกัด และหนึ่งในนั้นที่ทำได้คือการเก็บภาษี ซึ่งหากทำตอนเริ่มคลอดออกมาก็อาจจะช่วยชะลอได้ครับ แต่ตอนนี้ crypto sector และ metaverse sector อยู่ในวัยที่เริ่มวิ่งได้แล้ว การเก็บภาษีคงทำได้อย่างมากแค่ทำให้สะดุดนิดหน่อยเท่านั้นเอง
โฆษณา