8 พ.ค. 2022 เวลา 14:01 • ความคิดเห็น
1) “วิธีคิด”
ผมมองว่า “เมืองหลวง” ที่ดี คือเมืองหลวงที่ “ปั๊ม” เอา “ความเจริญ” ไปสู่ ภูมิภาคอื่นๆทั่วประเทศ คล้ายๆกับ “หัวใจ” ที่จ่ายโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
1
แต่ในทางกลับกัน หากเมืองหลวงเป็น “สัญลักษณ์” แห่งความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียม โดยดึงเอา “ทรัพยากร” จากทุกภูมิภาคมา “บันดาล” ความเจริญรุ่งเรืองให้กับเมืองหลวงเพียงจุดเดียว นี่ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของจุดสิ้นสุดของ “ความเสมอภาค” ของคนทั้งประเทศ! และความจริงนี้เห็นได้ชัดเจนในประเทศที่ “ใจคนพัฒนาแล้ว” ในสังคมตะวันตกหลายๆประเทศ ที่เมืองหลวงของพวกเขา ไม่ได้ดูแตกต่างจากหัวเมืองใหญ่ๆในภูมิภาคอื่นๆของประเทศ
4
และเหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะ “วิธีคิด” ในนิยามของคำว่า “เมืองหลวง”
1
2) “นำ้สูง-แผ่นดินต่ำ”
ผมเข้าใจว่ากรุงเทพอยู่ต่ำกว่าระดับนำ้ทะเล
เมื่อราวสิบกว่าปีก่อน ผมมีโอกาสได้สนทนากับผู้สูงอายุชาวกรุงเทพท่านหนึ่ง ซึ่งท่านเล่าให้ผมฟังว่า (ขณะนั้นท่านอายุราว 90 ปี หากท่านยังมีชีวิตอยู่ตอนนี้ท่านคง 100+ ปี)
“ถนนอังรีดูนังต์” สมัยก่อนโน้นเคยเป็น “คลอง” มาก่อน!
เรื่องเล่านี้ ไม่ได้สร้างความแปลกใจให้ผมสักเท่าไหร่ ด้วยตรรกะพื้นฐานที่ว่า
“แผ่นดิน” มีเท่าเดิม แต่ “ประชากร” มีแต่จะเพิ่มขึ้น
ชาวกรุงเทพเองก็เพิ่ม ชาวต่างจังหวัดที่ “อพยพ” เข้ากรุงเทพ ด้วยเหตุผลเกี่ยวข้องกับ “โอกาสทางเศรษฐกิจ” ที่ดีกว่า ก็เพิ่มจำนวนประชากรโดยรวมขึ้น ร้อยเท่าพันทวี
แม่นำ้ลำคลองตามธรรมชาติที่มีมาตั้งแต่สมัยตั้งกรุง ก็ถูก “ถม” แล้วเปลี่ยนเป็น “ถนน” และพื้นที่ที่ถูกใช้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์!
1
เส้นทาง “นำ้” ตามธรรมชาติ ถูก “แรงจูงใจ” จาก “เงิน” เปลี่ยนไปเป็น “สิ่งปลูกสร้าง” โดยฝีมือมนุษย์
“แล้วจะให้นำ้ไหลลงแม่นำ้เจ้าพระยาลงสู่อ่าวไทยโดยสะดวก และไม่ท่วมขังได้อย่างไร?” ตกลง “นำ้ท่วมกรุงเทพ” เป็นฝีมือธรรมชาติงั้นหรือ?
1
3) “โลกร้อน”
ผมได้พบเห็นข่าวกรณี “นำ้ทะเลหนุน” ด้วยเหตุผลที่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย แล้วปริมาณนำ้ทะเลสูงขึ้น จนนำ้ทะเลเริ่ม “ท่วม” หลายๆเมืองในโลก
และแน่นอนครับว่า “กรุงเทพ” อยู่ในรายชื่อเมืองเหล่านั้นด้วย!
อินโดนีเซียเขาน่าจะกำลังย้ายเมืองหลวง Jakarta อยู่! ด้วยเหตุผล “นำ้ทะเลท่วม”
แล้วถ้ากรุงเทพจะเสีย “ขนหน้าแข้ง” ไปใช้สร้าง “อุโมงค์น้ำ” สัก “หมื่นล้านแสนล้าน” จะแก้อะไรได้มั้ยครับ?
4) “รถติด”
ตรรกะพื้นฐาน คือ “อัตราการเพิ่มของถนน” ไม่สามารถเทียบได้กับ “อัตราการเพิ่มของรถที่ต้องการใช้ถนน”
เมื่อสร้างถนนมากขึ้น ก็ต้อง “เชื่อมถนน” โดย “รอยเชื่อม” ของถนนเส้นต่างๆ เรารู้จักกันในนาม “สามแยก/สี่แยก”
แล้วพอมี “แยกนั้นแยกนี้” คุณก็ต้องมี “สัญญาณไฟจราจร” ไว้คุมแยกเหล่านั้น
มีแยกมาก > มีไฟแดงมาก > รถหยุดบ่อย (เรียกว่า “ติด”)
ดูสิงคโปร์สิครับ เขามีใบอนุญาตครอบครองรถที่ได้มาจากการ “ประมูล” (Certificate of Entitlement) โดยใบอนุญาตมีอายุเท่านั้นเท่านี้ปี (ส่วนใหญ่ 10 ปี) และต้องต่ออายุตามกำหนดถ้ารัฐยอมต่อให้ โดยที่คุณมีปัญญาจ่าย!
1
คุณต้องมีใบนี้ก่อนถึงจะไปซื้อรถและทำใบขับขี่ ตามความเข้าใจของผม
1
ต่อให้คุณมีทั้งรถและใบขับขี่ แต่ถ้าคุณไม่ได้รับอนุญาตให้ครอบครองรถ คุณก็ขับรถของคุณไม่ได้
1
เขาใช้วิธีนี้ ควบคุม “ปริมาณรถยนต์” บนถนน
5) “ตึกสูง”
“กฎหมายและการบังคับใช้” ช่วยให้ชาวกรุงเทพเมืองฟ้าอมร “ปลอดภัย” จากการก่อสร้าง “ตึกสูง” ที่มีอะไรมา “ควบคุม” ความสูงที่จะทำให้สังคมรอบข้างยังมีความปลอดภัยได้บ้าง?
ตึกสูงเองก็ยังสามารถปิดกันการไหลเวียนของ “อากาศ” และแน่นอนครับว่า “อากาศที่เคลื่อนที่” หรือที่เราเรียกว่า “ลม” นั้น ช่วย “พัดพา” มลพิษจากการจราจรติดขัดและฝุ่น PM2.5 ได้
อย่างดี! แต่ถ้ามี “ตึกสูง” เยอะๆโดยไม่มีการควบคุมดูแลละครับ?
1
“ฝาชีฝีมือใคร?”
“บังลม?”
6) “ทฤษฎีความเหลื่อมล้ำของผม”
แชร์ให้ผู้อื่นเยอะๆเลยครับ
#SaveBKK
โฆษณา