8 พ.ค. 2022 เวลา 15:29 • ปรัชญา
hypothetical judgment & Imperatives judgment
แนวคิดของ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) กับเรื่องจริยศาสตร์ ที่พูดถึง มนุษย์เมื่อเกิดมาแล้ว เราควรจะมีหลักการในการตัดสินใจ เวลาที่เราเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดีเรื่องชั่ว เรื่องผิดเรื่องถูก อย่างไร ทฤษฎีที่อยู่ในหนังสือของค้านท์หลายๆเล่ม รวมทั้ง รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม (Kants groundwork of the metaphysics of morals) ยังใช้ได้ และปัจจุบันก็ยังมีความสำคัญอยู่ มีสาระคือ
เครดิตภาพ : https://www.baanjomyut.com/library_2/philosopher/09.html
เมื่อมีปรกฎการณ์ที่เราจะต้องตัดสินใจในทางจริยธรรม การตัดสินใจของมนุษย์ ในทัศนะของค้านท์มีอยู่สองแบบ แบบที่หนึ่ง ค้านท์ เรียกว่า hypothetical judgment การตัดสินใจแบบมีเงื่อนไข
แบบที่สอง จะเป็นการตัดสินใจที่ไม่วางอยู่บนเงื่อนไข ค้านท์เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Imperatives judgment
สมมุติว่า มีพระเดินบิณฑบาตมาหน้าบ้าน ตอนเช้าๆ เราออกไปใส่บาตรตามปกติ แล้วมีคนมาถามด้วยความสงสัย ว่าใส่บาตรทำไม?
คำถามนั้นต้องการจะถามว่า อะไรคือสิ่งที่อยู่ในใจของเรา ที่ทำให้เราออกมาใส่บาตร เราก็อาจจะตอบว่า อ้าว... การใส่บาตร มันเป็นการทำทาน มันเป็นกุศล
คนที่ถามก็อาจจะถามต่อว่า คำว่า กุศล หมายความว่าอย่างไร เราก็จะอธิบายว่า กุศล คือสิ่งที่ทำไปแล้ว มันเป็นความดี ซึ่งความดีนี้เป็นนามธรรม จะถูกบันทึกเอาไว้ เก็บไว้ที่ไหนสักแห่ง แต่เมื่อถึงวันหนึ่ง ความดีนี้จะถูกแสดงออกมา ในรูปของการจะเกิดสิ่งที่ดีๆกับชีวิตของเรา
เมื่อสังเกตุจากคำอธิบายนี้ เพราะเราเชื่อว่า การกระทำนี้จะยังให้มี ผลตอบสนองกลับมาที่ตัวเอง และผลที่ว่านั้นต้องเป็นผลดี
เหตุผลแบบนี้ สำหรับค้านท์เรียกว่า hypothetical judgment ซึ่งในทัศนะของค้านท์บอกว่า การตัดสินแบบนี้ ลักษณะสำคัญของมันก็คือ มันทำให้ การกระทำของเรา ที่ปฏิบัติต่อ สิ่งอื่นๆ เช่นในกรณี ที่ปฏิบัติต่อพระสงฆ์ที่รับบิณฑบาต หรือสังฆทาน
hypothetical judgment นั้นจะมีลักษณะเหมือนกันก็คือ จะมีสิ่งที่ได้รับการปฏิบัติจากเราในฐานะที่สิ่งนั้นเป็น Means ของเรา ตอนที่เราใส่บาตร จริงๆเราไม่ได้สงสาร แต่เพราะเรารู้ว่า ใส่บาตรแล้วมันจะมีบางสิ่งบางอย่างย้อนกลับมาหาตัวเราเอง แล้วก็ไม่ได้สนใจพระด้วยว่าจะเป็นรูปไหนก็ได้ ขอให้เป็นพระเดินผ่านหน้าบ้านมาก็เป็นพอ
เพราะพระมีคุณสมบัติเหมือนกันก็คือ ถ้าถวายภัตตาหารกับท่าน มันจะมีผลบุญบางอย่างย้อนกลับมาหาเรา
ดังนั้นถึงได้มีพุทธพจน์ ที่บอกว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ แล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสด้วยว่า วิเจยฺยทานํ สุคตปฺปสตฺถํ คือ เวลาจะทำบุญให้ฉลาดเลือก ก่อนจะให้ทานให้ศึกษาให้ดี พระพุทธเจ้าบอกว่า การให้ทาน ก็เหมือนกับการหว่านเมล็ดพืช ถ้าหว่านลงบนพื้นซีเมนต์ มันไม่งอก แต่ถ้าหว่านลงดิน มันจะงอก และดินนั้นก็มีคุณภาพที่ต่างกัน มีหลากหลายชนิด เมล็ดพืชชนิดเดียวกัน ถ้าหว่านลงบนดินเค็มๆ ก็งอกนิดหน่อย ดินดีขึ้นมาอีกนิด ก็มีคุณภาพมากขึ้น แต่ถ้าได้ดินดีมากๆ ผลผลิตก้จะได้สูงตามมา
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้หว่านลงในดินที่มีคุณภาพดี แล้วพระสงฆ์ในพุทธศาสนาก็เป็นดินคุณภาพดี
สำหรับหรับเรื่องนี้ judgment ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ในพระไตรปิฎกนั้น ในทัศนะของค้านท์ เป็น hypothetical judgment แล้วการตัดสินใจแบบนี้ก็จะเรียกร้องจากผู้อื่น หรือสิ่งอื่น ในแง่ที่เป็นสะพาน ที่เราได้ได้ข้ามไปหาสิ่งที่เราประสงค์
ค้านท์วิจารณ์เรื่องนี้ว่า ถ้าหากเราใส่บาตร แล้วในใจ คิดว่า การใส่บาตรครั้งนี้จะทำให้เราได้อะไรบางสิ่งบางอย่างกลับมานั้น สำหรับค้านท์บอกว่า เราถามตัวเราเองได้ว่า นี่คือ ความดีจิงๆหรือไม่!?… หรือว่าจะเป็นความเห็นแก่ตัวเองอีกชนิดหนึ่ง ใช่หรือไม่!?…
ดังนั้น hypothetical judgment ในแง่หนึ่ง มันแฝงความเห็นแก่ตัวเอง ดังนั้น การที่เราไม่ให้เงินแก่ขอทาน เพราะเราไม่มั่นใจว่า ขอทานนั้นจะมีคุณสมบัติเท่ากับการถวายพระสงฆ์ เหตุผลนี้คือ เหตุผลที่เราปฏิบัติ ต่อพระสงฆ์และขอทาน ในแง่ที่เป็น Means ก็เหมือนการเปรียบเปรยกับผืนนา เราต้องเลือกนา ต้องเลือกนาดี
แต่สำหรับ ระบบจริศาสตร์ของค้านท์ ปฏิเสธ การตัดสินแบบนี้
เพราะเขาคิดว่า ระบบจริยศาสตร์แบบ hypothetical judgment ท้ายที่สุดจะทำให้มนุษย์ นั้นลึกๆก็แฝงตวามเห็นแก่ตัว และปฏิบัติต่อผู้อื่น ในฐานะที่ผู้อื่นจะนำประโยชน์มาให้แก่ตัวเรา ในท้ายที่สุด
ต่อให้การแสดงออกของเราที่แสดงต่อผู้อื่น จะเหมือนกับรักและปรารถณาดีอย่างไรก็ตาม แต่ท้ายที่สุด จริงๆแล้ว เรารักและหวังดีต่อตัวเราเองมากที่สุด
คนเหล่านั้น เช่นที่เรา อุปถัมภ์ บำรุงพระสงฆ์ หรือสงเคราะห์คนยากไร้ก็ตาม ที่เราทำนั้นไม่ใช่เพราะว่า สงสาร รักเอ็นดู ปรารถณาดีต่อคนเหล่านั้น แต่เพราะเราคิดว่า สิ่งที่เราทำมันจะสงผลเด้งกลับมาที่เราอย่างเต็มที่…
แต่ถ้าหากว่า การทำบุญ หรือการใส่บาตรนั้นมาเจตนาที่ต้องการช่วยเหลือให้เพื่อนมนุษย์ บรรเทาความหิว มีเรี่ยวแรง ศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติธรรม เพราะเราคิดว่า มนุษย์นั้นสมควรช่วยเหลือกัน แล้วการช่วยนี้คือการช่วยที่ไม่ผูกมัด ช่วยเพราะว่า รัก เข้าใจ สงสาร เห็นใจ สำหรับค้านท์ เรียกว่า Imperatives judgment
เป็นการตัดสินใจแบบไม่หวังผล คือการที่ไม่ได้คิดว่า จะปฏิบัติต่อพระสงฆ์ในแง่ที่เป็น Means ดังนั้นการใส่บาตรในกรณีที่สอง การกระทำนั้น เป็น End ในตัวมันเอง คือหมายความว่า มุ่งทุกอย่างไปจบที่ผู้รับ คือพระสงฆ์ ไม่ได้จบที่ผู้ใส่บาตร
สำหรับค้านท์บอกว่า เมื่อพิจารณาด้วยเหตุผล ใครฟังก็ต้องรู้ว่า ความดีแบบนี้ ดีกว่าแบบแรก
แบบแรกคือ ให้แบบหวังผล แต่แบบที่สองคือไม่หวังผลให้กับตัวเเอง
แต่หวังในผลแก่ผู้ที่เราช่วยเหลือ ไม่ได้หวังผลให้มันย้อนกลับมาที่ตัวเอง ซึ่งในจริยศาสตร์ของค้านท์ สนับสนุน แนวคิดแบบที่สอง คือ Imperatives judgment และตัวเขาเองก็บอกว่า ถ้าหากอยากจะเห็นชีวิตและสังคมเราดีขึ้น ควรจะสนับสนุนให้เราและสังคมเป็นคิดแบบนี้
ทำความดี อันเนื่องมาจากการรู้ว่า เราควรทำ เพราะว่า มีเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก ซึ่งเขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือไม่เต็มที่ มันน่าจะเป้นการดีถ้ารู้ว่า เพื่อนมนุษย์ต้องการความช่วยเหลือ แล้วเรามีความสามารถ เราก็ต้องช่วย
เป้าหมายก็คือ ตัวผู้ที่เราจะช่วยเขา เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่เราช่วยแล้วเราได้บุญ เราช่วยแล้วเราได้หน้าได้ตา ได้ถ่ายรูปออกข่าว โพสต์เฟสบุ็ก อะไรก็ตาม ซึ่ง ไม่ใช่อย่างนั้น
ดังนั้น คำว่า Imperatives judgment ก็คือ การตัดสินใจ ซึ่ง เรียกร้องจากสิ่งหรือบุคคลอื่นในแง่ที่พวกเขาเป็นเป้าหมาย (End) จบในตัวเขาเอง แล้วเราไม่หวังผลตอบแทนจากการกระทำนั้น นี่คือหลักจริยศาสตร์ของค้านท์
นวนิยายเรื่อง มนุษย์สองหน้า งานเขียนของ อัลแบร์ กามูส์ Albert Camus
คิดดูสิว่า คนทั่วไปถ้าชวนทำบุญหรือทำความดีแล้ว บอกว่า ไม่ได้อะไรกลับมาเลยนะ อานิสงส์ผลบุญอะไรก็ไม่ได้ ไม่มีใครรับรอง ไม่มีคนเห็น ถามใจตัวเอง ดูว่า เรายังจะทำอีกมั้ย ทำให้นึกถึง นิยายเรื่องมนุษย์สองหน้า ของ อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus) ลองไปหาอ่านกันครับ
วิรุฬหก
โฆษณา