Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TAXBugnoms
•
ติดตาม
10 พ.ค. 2022 เวลา 04:30 • ธุรกิจ
สรุปประเด็นที่ต้องรู้ #นักบัญชี #เจ้าของธุรกิจ
กรณียกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับเงินเยียวยา 2 ประเภทที่กิจการได้รับ
ก่อนอื่นอธิบายแบบนี้ครับ
ในปี 2564 ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการให้เงินเยียวยา
สำหรับธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วน บริษัท)
ตามสิทธิ์ที่ได้รับ แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. เงินเยียวยานายจ้าง ม.33 (ประกันสังคม)
สนับสนุน 3,000 บาทต่อพนักงาน 1 คน สูงสุดรวม 200 คน
2. เงินสนับสนุนส่งเสริมและรักษาระดับจ้างแรงงาน SMEs
ช่วยจ่ายค่าจ้างให้นายจ้างเดือนละ 3,000 บาท
ต่อพนักงาน 1 คน สูงสุดรวม 200 คน
โดยในช่วงต้นมกราคม 2565 ที่ผ่านมา
มติ ครม. มีร่างกฎหมายยกเว้นเงินเยียวยาสองส่วนนี้
โดยมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันตามนี้ครับ
1. เงินเยียวยานายจ้าง ม.33 (ประกันสังคม)
กำหนดให้ยกเว้นเงินได้ส่วนนี้ทั้งจำนวน
2. เงินสนับสนุนส่งเสริมและรักษาระดับจ้างแรงงาน SMEs
ยกเว้นเงินได้ส่วนนี้ แต่ต้องไม่นำรายจ่ายที่จ่ายจากเงินส่วนนี้
มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
กรณีแรกเข้าใจง่าย คือ ยกเว้นเงินได้ทั้งก้อน
ได้มาเท่าไร ไม่ต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณภาษี
แต่กรณีที่สอง จะยกเว้นเงินได้ ก็ต่อเมื่อ
ต้องไม่นำรายจ่ายส่วนนี้มาเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีด้วย
เอ๊ะ.. เริ่มงง สับสนเหมือนเพลง Getsunova
แบบนี้ถือว่าไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นหรือเปล่านะ
พรี่หนอมลองสรุปออกมาตามนี้ครับ
กรณีแรก เงินจากประกันสังคม
เราปรับปรุงโดยการลบรายได้ออกก็พอ
หรือพูดง่าย ๆ เงินที่ให้ไม่ถือเป็นรายได้
แต่จะจ่ายอะไรใช้แบบไหนก็ตามใจเลย
แต่กรณีที่สอง เงินสนับสนุน SMEs
เราต้องปรับปรุงทั้งสองส่วนตามนี้คือ
1. ลบรายได้ออกไม่ต้องมารวม
2. บวกกลับรายจ่ายที่ใช้ไปด้วยนะ
ซึ่งกรณีนี้แปลว่า ไม่ให้เป็นรายได้
และไม่ให้เป็นค่าใช้จ่ายไปพร้อมกันครับ
ดังนั้นต้องปรับปรุงทั้ง 2 ฝั่ง
เพื่อคำนวณกำไรทางภาษีนั่นเองครับ
(ต่อจากนี้อ่านดี ๆ นะครับ)
หลายคนเลยอาจจะมีคำถามว่า
แบบนี้เงินเยียวยาการจ้าง SMEs
ถือว่าไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไหม
เพราะถ้าหากไม่เอามาปรับปรุง
โดยถือเป็นรายได้ทางภาษี
และเอามาหักค่าใช้จ่ายปกติก็ทำได้เช่นกัน
ถ้าจะมองแบบนั้นก็ไม่ผิดนะครับ
แต่พรี่หนอมลองชวนคิดในมุมของภาษี
(ความเห็นส่วนตัว)
เข้าใจว่าเจตนาของกฎหมายฉบับนี้
คือการให้ใช้เงินก้อนนีตามที่กำหนดไว้
ด้วยการจ่ายเป็นค่าจ้างให้กับลูกจ้าง
เลยเป็นเหตุผลที่ต้องเขียนให้ชัดว่า
ยกเว้นเมื่อเอามาเป็นค่าใช้จ่ายในธุรกิจ
ซึ่งต่างกับการให้เงินเยียวยาของประกันสังคม
ที่กิจการสามารถนำไปใช้ได้ด้านไหนก็ได้
แต่สุดท้ายแล้ว
ถ้ามองอีกทีสำหรับกรณีเงินช่วยเหลือ
ไม่ว่าจะปรับปรุงทางภาษีหรือไม่
ผลกระทบทางกำไรก็จะเท่าเดิมครับ
ถ้ารับรู้เป็นรายได้และเป็นรายจ่าย
กำไรตรงนี้ก็จะไม่เกิดขึ้นอยู่ดี
หรือถ้ายกเว้นเงินได้และบวกกลับรายจ่าย
กำไรตรงนี้ก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนไป
สุดท้ายสิ่งที่อยากฝากไว้จากใจ
คือ กฎหมายควรรีบออกมาให้ไวครับ
เพื่อให้มีความชัดเจนมีมากกว่านี้
นักบัญชีจะได้ไม่ต้องตีความเองให้เหนื่อย
ขอบคุณครับ
# TAXBugnoms
นิติบุคคล
ผู้ประกอบการ
นักบัญชี
บันทึก
2
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย