10 พ.ค. 2022 เวลา 04:37 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🔎 [Investment] - ในยามที่ทุกตลาดกำลังแดงเดือด ! มาวิเคราะห์กันดูว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ต่างๆ อย่างไรบ้าง ?!?!
2
📌 เมื่อวันพุธที่ 4 พ.ค. 2565 Fed ปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ โดยปรับขึ้น 0.5% ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงที่สุดในรอบ 22 ปี หลังจากที่ได้ปรับขึ้นมาแล้ว 0.25% ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 0.75%-1.00% และหากพิจารณาโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่คำนวณมาจาก Fed Fund Futures ตามเครื่องมือที่เรียกว่า CME FedWatch Tool ที่พัฒนาขึ้นโดยตลาดอนุพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง CME Group ก็จะพบว่า ณ ปัจจุบันตลาดมองว่า Fed จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยทุกครั้งในการประชุม 5 ครั้งที่เหลือของปีนี้ และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2565 นี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2.75%-3.00%
4
จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลังในช่วง 50ปี ที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์และบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ได้บทสรุปในทิศทางเดียวกันว่ากว่า 8 ใน 10 ครั้งของช่วง Rate Hike Cycle (ช่วงเวลาที่ Fed มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน) พบว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งแทนด้วยดัชนี S&P500 นั้นยังคงให้ผลตอบแทนรวมเฉลี่ยที่เป็นบวกถึง 6%-14% ในช่วง 6-12 เดือนนับจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะขัดกับความรู้สึกว่าทำไมขึ้นดอกเบี้ยแล้วตลาดหุ้นยังไปต่อได้ นั่นก็เป็นเพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว Fed จะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยตอนที่เศรษฐกิจยังดีอยู่และตลาดหุ้นเริ่มร้อนแรงเกินไป (Stock Market Overheating) ดังนั้นในช่วง 6-12 เดือนแรกตลาดหุ้นจึงมักจะขึ้นต่อได้ แต่ถ้าการขึ้นดอกเบี้ยยังต่อเนื่องยาวนานไปก็จะส่งผลให้ตลาดเงินตึงตัวขึ้นและนำไปสู่การปรับตัวลงของตลาดหุ้นได้
3
อัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้นเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญของธนาคารกลางในการควบคุมเสถียรภาพของราคาซึ่งเป็นหน้าที่หลักของธนาคารกลาง ในการดำเนินนโยบายการเงินระยะยาวของธนาคารกลางนั้นมักจะมีการกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ล่วงหน้า (Inflation Targeting) ซึ่งมักจะเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย และFed ต่างก็มีกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของตนเอง
1
เงินเฟ้อ (Inflation) นั้นเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ "Cost Push" และ "Demand Pull" โดยเงินเฟ้อที่เกิดจาก Cost Push นั้นเริ่มจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นแล้วส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคปลายทางต้องจ่ายนั้นสูงขึ้นไปด้วย ส่วนเงินเฟ้อที่เกิดจาก Demand Pull นั้นเริ่มจากการที่มีอุปสงค์ (demand) ต่อสินค้าและบริการสูงกว่าอุปทาน (supply) ที่มีอยู่ ซึ่งโดยมากจะเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตได้ดีกระทั่งร้อนแรงเกินไปในบางครั้ง ทำให้การขยายการผลิตปรับตัวไม่ทันความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง
1
การระบาดของเชื้อ Covid-19 ทำให้เกิดการสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Disruption) ทั้งในจีนและอีกหลายประเทศทั่วโลก เมื่อผนวกเข้ากับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จึงทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับเงินเฟ้อที่เกิดจากปัจจัย "Cost Push" เป็นหลัก ทำให้การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ต้องดำเนินไปอย่างระมัดระวัง เพราะปัจจัยความต้องการของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวกลับมา (Demand Pull) นี้ไม่ได้เกิดจากการที่ผู้ติดเชื้อ Covid-19 ลดลงเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นผลมาจากการเกื้อหนุนโดยมาตรการ QE (Quantitative Easing) ซึ่งเป็นมาตรการทางการเงินที่ Fed ใช้ในช่วงเวลาที่ไม่ปกติ (Unconventional Monetary Policy) และ Fed เองก็ตระหนักดี จึงมีแผนที่จะดำเนินมาตรการ QT (Quantitative Tightening) เพื่อดูดกลับสภาพคล่องเหล่านี้ในเดือน มิ.ย. ควบคู่ไปกับการขึ้นดอกเบี้ยด้วย
1
╔═══════════╗
นักลงทุนไทยสามารถเข้าซื้อขายสัญญา Futures ในตลาดต่างประเทศ CME โดยตรงได้ง่ายๆ ผ่าน MTS Capital
🔋 ซื้อขายดัชนีหุ้นต่างประเทศ (Dow Jones, S&P500, Nasdaq)
🔋 สัญญาอนุพันธ์ Crypto (Bitcoin, Ethereum)
🔋 สินค้ากลุ่มโลหะมีค่า (Comex Gold & Silver)
🔋 สินค้าโภคภัณฑ์ (Nymex WTI)
🔋 ค่าเงินต่างประเทศ (EUR, GBP, AUD)
╚═══════════╝
📌 การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในครั้งนี้ เมื่อพิจารณาประกอบกับสถิติในอดีตและปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบันนี้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ต่างๆ ในหลากหลายแง่มุม ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
1️⃣ ตลาดหุ้น
หุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์: คือหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการที่ผู้คนยังมีความจำเป็นต้องกินต้องใช้ในทุกภาวะเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities), กลุ่มสินค้าจำเป็น (Consumer Staples) ซึ่งจัดเป็นหุ้นเชิงรับ (Defensive Stocks) ที่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นโดยรวม นอกจากนี้หุ้นกลุ่มการเงิน (Financial) เช่น ธนาคาร และบริษัทประกัน ก็เป็นกลุ่มที่ได้รับผลดีจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพราะมีโอกาสในการทำกำไรที่สูงขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับเพิ่มขึ้นได้
1
หุ้นกลุ่มที่เสียประโยชน์: คือหุ้นเติบโต (Growth Stocks) เพราะหลายธุรกิจก็ยังไม่มีกำไร และการประเมินมูลค่าของหุ้นกลุ่มนี้มักจะใช้วิธีคิดลดกระแสเงินสด (DCF: Discounted Cash Flow) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้คำนวนมูลค่าปัจจุบันของหุ้นได้ต่ำลง อีกทั้งดอกเบี้ยที่สูงขึ้นยังส่งผลให้การบริโภคมีแนวโน้มลดลงซึ่งไปกระทบต่อประมาณการณ์ยอดขายในอนาคตให้ลดลงด้วย จึงทำให้หุ้นกลุ่มเติบโตเหล่านี้ปรับตัวลงได้แรง
1
เมื่อกล่าวถึงการลงทุนใน Value Stocks คนส่วนใหญ่จะนึกถึงดัชนี S&P500 และเมื่อกล่าวถึง Growth Stocks ก็จะนึกถึงดัชนี NASDAQ100 อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้ดัชนี S&P500 มีน้ำหนักของ Growth Stocks มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เพราะมูลค่าของหุ้นเหล่านี้ได้เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถ้าพิจารณาจากหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด 5 อันดับแรกของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน (Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, Tesla) จะเห็นว่าล้วนเป็น Growth Stocks ทั้งสิ้น และน้ำหนักของหุ้น 5 ตัวนี้รวมกันสูงถึง 25% ของดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10ปีก่อน ที่มีน้ำหนักอยู่ไม่ถึง 10% เท่านั้น
1
สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ แบบเลือกเป็นรายกลุ่ม (Selective Buy) ก็มีทางเลือกที่หลากหลายในปัจจุบัน ซึ่ง CME Group ก็มีตัวเลือกให้ทั้งหุ้นกลุ่มเติบโต (SG: S&P 500 Growth Futures) หุ้นกลุ่มเน้นคุณค่า (SU: S&P 500 Value Futures) และมีตัวเลือกในการลงทุนที่ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่มาก อย่างเช่น ES (E-Mini S&P 500 Futures) และ MES (Micro E-Mini S&P 500 Futures) เป็นต้น
2️⃣ สินค้าโภคภัณฑ์
ตามสถิติในอดีตจะพบว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์มักจะเคลื่อนไหวสวนทางกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Negative Correlation) เนื่องจากดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นส่งผลทำให้ต้นทุนของการถือครองสินค้าคงคลัง (Cost of Carry) ของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคนั้นเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มที่จะลดลง นอกจากนี้ผลกระทบทางอ้อมของการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นจากเงินทุนที่ไหลออกจากประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเข้ามาสู่สหรัฐฯ เพื่อหาผลตอบแทนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่สินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญส่วนมากนั้นมีการซื้อ-ขายกันในสกุลเงินดอลลาร์ (USD denominated) จึงทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยิ่งแพงขึ้นไปอีกสำหรับผู้บริโภคในประเทศที่ค่าเงินอ่อนค่าลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการซ้ำเติมให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มที่จะลดลง
1
อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอุปสงค์-อุปทานเฉพาะตัวของสินค้าชนิดนั้นๆ ด้วย ซึ่งปัญหาการสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Disruption) อาจเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางชนิดปรับตัวลงได้ไม่มากในระยะสั้น ซึ่ง CME Group ก็มีตัวเลือกในการลงทุนใน Commodity Futures ทั้งในขาขึ้นและขาลง (Long & Short) ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนรายกลุ่ม อาทิ กลุ่มพลังงาน (XAE: E-Mini Energy Select Sector Futures) หรือรายสินค้า อาทิ น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (CL: WTI Crude Oil Futures), ก๊าซธรรมชาติ (NG: Henry Hub Natural Gas Futures), ข้าวสาลี (ZW: Wheat Futures), ทองคำ (GC: Gold Futures) เป็นต้น
กลุ่มพลังงาน (Energy): อุปทานน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรรัสเซีย ในขณะที่กลุ่ม OPEC เองก็มีข้อจำกัดในการเพิ่มกำลังการผลิตในระยะสั้น ยังทำให้ราคาไม่สามารถปรับตัวลงได้มากนักในระยะสั้น แต่ในระยะกลาง-ยาว หากปัญหาด้านอุปทานเริ่มคลี่คลาย ก็จะเริ่มเห็นผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่มีต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มพลังงานในด้านลบได้ชัดเจนขึ้น
กลุ่มเกษตร (Agriculture): อุปทานข้าวสาลีและน้ำมันทานตะวัน ซึ่งมีรัสเซียและยูเครนเป็นประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญ ก็ถูกกระทบจากการปะทะกันทางการทหารของทั้งสองประเทศ ส่งผลทำให้ราคายังคงแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง รวมไปถึงราคาสินค้าทดแทนชนิดอื่นๆ ด้วย
3️⃣ ทองคำ
แม้ว่าทองคำจะจัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ในกลุ่มโลหะมีค่า (Precious Metal) ชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ใช้สอยในหลายอุตสาหกรรม แต่ก็มีสถานะเป็นสินทรัพย์หลบภัย (Safe Haven Asset) ด้วย ซึ่งตามสถิติทั่วไปแล้วเรามักจะเห็นราคาทองคำปรับตัวลดลงในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะเงินเฟ้อคาดการณ์ (Expected Inflation) มักจะลดลง ทำให้ความต้องการถือครองทองคำเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อมีลดลง
การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในครั้งนี้ บังเอิญเกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับที่ตลาดมีความกังวลต่อโรคระบาดและสงคราม ทำให้มีความต้องการถือครองทองคำเพื่อเป็นสินทรัพย์หลบภัยด้วย จึงเห็นว่าราคาทองคำยังมีแรงซื้อ-ขายสลับเข้ามา แต่เมื่อความเสี่ยงอื่นๆ เริ่มเบาบางลงและ Fed ยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ก็มีโอกาสที่ราคาทองคำจะปรับตัวลดลงได้ตามสาเหตุที่อธิบายไปข้างต้น ซึ่งนักลงทุนสามารถลงทุนในทองคำ (GC: Gold Futures) ได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงผ่าน CME Group
4️⃣ ตราสารหนี้
ตราสารหนี้โดยทั่วไปจะจ่ายผลตอบแทนตามอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) ซึ่งถูกกำหนดไว้คงที่ ทำให้ราคาตราสารหนี้ปรับลดลงเมื่อดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น เพราะตราสารหนี้ที่ออกมาใหม่จะมีอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วที่สูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้มีแรงขายจากผู้ที่ถือครองตราสารหนี้เดิมอยู่ โดยราคาตราสารหนี้ระยะยาว (Long Duration Bond) จะปรับตัวลงในอัตราที่มากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น (Short Duration Bond) เพราะการถือครองตราสารหนี้ระยะยาวจนครบอายุไถ่ถอนจะมีค่าเสียโอกาสในการนำเงินไปลงทุนต่อเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในอัตราใหม่ที่สูงขึ้น มากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้นนั่นเอง ซึ่งนักลงทุนสามารถลงทุนในพันธบัตรอายุ 10ปี ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ (ZN: 10-Year U.S. Treasury Note Futures) ผ่าน CME Group ได้ไม่ว่าราคาจะปรับขึ้นหรือลง
อย่างไรก็ดีตราสารหนี้แบบที่มีการปรับผลตอบแทนตามเงินเฟ้อ (ILB: Inflation-Linked Bond) นั้นมีลักษณะที่แตกต่างออกไป เนื่องจากผลตอบแทนรวมที่นักลงทุนจะได้รับนั้นจะปรับสูงขึ้นตามเงินเฟ้อซึ่งมักมีทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ย ทำให้ราคาตราสารหนี้ประเภทนี้มักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ทั้งนี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก็มีการออกพันธบัตรป้องกันเงินเฟ้อมาจำหน่ายด้วยเช่นกัน ซึ่งนักลงทุนนิยมเรียกกันว่า TIPS (Treasury Inflation-Protected Securities)
📌 โดยสรุปจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ นั้นมีความเชื่อมโยงกับเหตุและปัจจัยมากมาย ซึ่งบางปัจจัยก็ส่งผลบวก บางปัจจัยก็ส่งผลลบต่อราคา ดังนั้นนักลงทุนไม่สามารถยึดเอาเฉพาะการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed (Rate Hike Cycle) เพียงปัจจัยเดียวมาตัดสินใจลงทุนได้ หากแต่ต้องพิจารณาบริบทแวดล้อม (Context) ให้ครบถ้วนด้วย ในภาวะที่ตลาดผันผวนเช่นนี้การเข้าถึงเครื่องมือในการลงทุน (Investment Tools) และประเภทของสินทรัพย์ (Asset Universe) ที่หลากหลายย่อมช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนให้ดียิ่งขึ้น
ที่มา: Biggest winners and losers from the Fed’s interest rate hike
📈 ไม่ว่าตลาดตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ หรือ คริปโต จะมีความผันผวนเช่นไร ? นักลงทุนไทยก็สามารถใช้เครื่องมืออนุพันธ์เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงระยะสั้น หรือเพิ่มผลตอบแทนของพอร์ตได้อยู่เสมอ 📉
1
ทาง "MTS Capital" หนึ่งในบริษัทในเครือของ #MTS Gold (แม่ทองสุก) เปิดให้นักลงทุนสามารถซื้อขายดัชนี Futures ต่างประเทศใน CME ได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายดัชนีหุ้นต่างประเทศ (Dow Jones, S&P500, Nasdaq) สัญญาอนุพันธ์ Crypto (Bitcoin, Ethereum) สินค้ากลุ่มโลหะมีค่า (Comex Gold & Silver) สินค้าโภคภัณฑ์ (Nymex WTI) หรือค่าเงินต่างประเทศ (EUR, GBP, AUD)
นักลงทุนไทยท่านใดสนใจสามารถติดต่อ LINE Official - @mtscapital
(https://bit.ly/mtsCapital) หรือโทร: 02-770-7799
🙏 ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจของเรา ฝากกด Like และ Share เพื่อให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 👍😊
#ทันโลกกับTraderKP
โฆษณา