Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TechHero
•
ติดตาม
10 พ.ค. 2022 เวลา 11:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คริสต์ทศวรรษที่ 1980 ครั้งแรกของการเกิด Stagflation เศรษฐกิจชะลอตัว อัตราว่างงานสูง แต่เงินเฟ้อพุ่ง
หลายวันที่ผ่านมา เราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Stagflagtion ซึ่งหลายคนรู้ดีอยู่แล้วว่ามันคือสภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว แต่เงินเฟ้อกับอัตราการว่างงานกลับพุ่ง หรือถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆ คือสภาพในตลาดนัด ข้าว ปลา อาหาร แพงกว่าเดิม ในขณะที่ลูกค้ามาเดินเล่นมากกว่าเดินซื้อ
ประวัติศาสตร์ครั้งแรกของการเกิด Stagflation ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1970 - 1980
รู้ไหมว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นช่างมีความคล้ายกับปัจจุบันยิ่งนัก เพราะสภาวะ Stagflation เกิดขึ้นจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ กำหนดทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง เพื่อจัดการกับเงินเฟ้อ
แล้วเหตุการณ์ช่วงนั้น นอกจากจะมีความคล้ายกับปัจจุบันแล้ว จะมีความน่าสนใจอย่างไรอีกบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน..
10 Years before 1970s / 10 ปีก่อนถึงปี 1970
คริสต์ศักราช 1960 - 1965 เงินเฟ้อสหรัฐอยู่ในระดับ 1.0-1.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งถือว่าต่ำมาก แต่ทว่าช่วงคริสต์ศักราช 1966 - 1970 เงินเฟ้อสหรัฐกลับปรับตัวสูงขึ้นจนน่าตกใจ โดยในปี 1968 อยู่ที่ 4 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปี 1970 พุ่งขึ้นมาเป็น 6 %
คำถามก็คือ แล้วทำไมเงินที่เฟ้ออยู่ในระดับต่ำอยู่ดีๆ ผ่านไปไม่กี่ปีถึงพุ่งสูงขึ้นอย่างนั้น ?
เงินเฟ้อ 1.0-1.5% ต่อปี ถือว่าเป็น “เงินเฟ้ออย่างอ่อน” ผู้คนจะมองว่ามันคือภาวะปกติไม่มีผลเสียต่อเศรษฐกิจ ฉะนั้นมันจึงเป็นสถานการณ์ที่เหมาะแก่การลงทุน ที่จะนำไปสู่กระบวนการผลิต การจ้างงาน และจะทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
เมื่อมีการลงทุนมากขึ้น ในขณะที่บัญชีเงินออมก็มีดอกเบี้ยสูงถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทว่าว่าผู้ประกอบการมีภาระค่าใช้จ่ายในเงินกู้มากกว่าเดิม ตามมาด้วยต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และราคาข้าวของที่แพงขึ้น
1970s / คริสต์ศกราช 1970
ผลกระทบของต้นทุนที่แพง ทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นมากกว่าปกติ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย จาก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 9 เปอร์เซ็นต์ เพื่อหวังว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง
แต่ผลข้างเคียงจากการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย กลับกลายเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบการ ทำให้จำเป็นต้องแก้ปัญหาการลดต้นทุนการผลิตเพื่อประคองธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ทำได้ง่ายแต่ต้องจำใจทำ นั่นก็คือ “การลดจำนวนแรงงาน”
แม้จะเพิ่มดอกเบี้ย แต่เงินเฟ้อยังไม่ลดลง ในขณะที่อัตราการว่างงานของผู้คนกลับเพิ่มขึ้น ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ คือเมื่อไปเติมน้ำมัน ราคาน้ำมันยังคงแพงเหมือนเดิม ในขณะที่ผู้คนมีกำลังซื้อน้อยลง
ส่งผลให้ GDP รายไตรมาส หรือ “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ” รายไตรมาส ลดลงถึงเข้าขั้นติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และถ้าหากว่าติดลบต่อเนื่องกัน 2 ไตรมาส เราจะเรียกสภาวะนี้ว่า “Recession” หรือ “เศรษฐกิจถดถอย”
1
ประเทศไทยเคยประสบกับภาวะนี้มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2020 จากผลประทบของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเพราะโควิด-19 ซึ่งเวลานั้น GDP รายไตรมาส อยู่ที่..
ไตรมาส 4 ปี 2019 GDP 0.2%
ไตรมาส 1 ปี 2020 GDP -2.2%
ไตรมาส 2 ปี 2020 GDP -9.7%
กลับมาที่ปี 1970 การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ไม่ช่วยให้เงินเฟ้อชะลอตัวลง แต่เร่งให้ผู้คนว่างงานเพิ่มขึ้น จนเข้าสู่ “สภาวะเศรษฐกิจถดถอย”
ในปี 1971 ธนาคารกลางสหรัฐ จึงรีบลดดอกเบี้ยลงเหลือ 4% ทันที
คริสต์ศักราช 1972 - 1975
ในปี 1972 Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเป็น 3% ยาแรงของ Fed ทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลดลงมาเหลือ 3% เช่นกัน แต่ทว่าปัจจัยภายนอกประเทศกลับทำให้เงินเฟ้อพุ่งแรงขึ้นไปที่ 11% ในปี 1974
สาเหตุสำคัญมาจากการรวมตัวของกลุ่ม OPEC ปรับขึ้นราคาน้ำมัน 4 เท่าตัว ธนาคารกลางสหรัฐจำเป็นต้องใช้วิธีเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกรอบ โดยเพิ่มจาก 3% ในปี 1972 มาเป็น 12% ในเดือนมกราคม 1974
แน่นอนว่าข้าวของที่แพงอยู่แล้ว ซ้ำร้ายผู้ประกอบการต้องลดการลงทุนด้วยการลดจำนวนพนักงานลงอีก ส่งผลให้สถานการณ์ของเศรษฐกิจเกิดภาวะถดถอยขึ้นอีกครั้ง
ธนาคารกลางสหรัฐจึงเร่งส่งยาแรงมาแก้ปัญหาด้วยรีบปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 12% มาเป็น 5% ในเดือนมีนาคม 1975 ทำให้เงินเฟ้อปรับตังลงมาที่ 6%
คริสต์ศักราช 1975-1977
ธนาคารกลางสหรัฐ พยายามกดดอกเบี้ยให้ต่ำลงเพื่อช่วยอุ้มภาระผู้ประกอบการให้มีต้นทุนในการผลิตน้อยลง แต่ปล่อยให้ภาวะเงินเฟ้อลอยตัว ซึ่งในปี 1975 ดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.5% และต้นปี 1977 ดอกเบี้ยลดลงไปที่ 4.5%
เงินเฟ้อลอยตัวอยู่ในช่วง 6.5-9% และนี่คือจุดเริ่มต้นของ Stagflation ครั้งแรกของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก..
1
คริสต์ศกราช 1977 -1980
นโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ ก่อนหน้านี้พยายามกดดอกเบี้ย เพื่อประคับประคองเศรษกิจจนควบคุมเงินเฟ้อไม่อยู่
จากที่ช่วยประคับประคอง แต่ปัญหากลับไม่คลี่คลาย เศรษฐกิจยังชะลอตัว อัตราการว่างเงินเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่เงินเฟ้อก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเมื่อสาเหตุ 3 ประการมารวมกัน เรารู้จักกันดีว่ามันคือ Stagflation
เงินเฟ้อพุ่งแรงจาก 6% ในปี 1977 ไปเป็น 13.5% ในปี 1980 ทำให้อเมริกันชนขาดความเชื่อมั่นต่อธนาคารกลาง
สาเหตุที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ปี 1977 ถูกปรับมาที่ 5%
ปี 1978 ถูกปรับมาที่ 10%
เมษายน ปี 1980 ถูกปรับมาที่ 18%
และต้นปี 1981 ถูกปรับมาที่ 19%
คริสต์ศักราช 1981 - 1982
ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงมากจนถึงกลางปี 1981 ช่วงครึ่งหลังของปีเดียวกัน เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง กินเวลายาวนานถึง 16 เดือน กล่าวคือ “GDP รายไตรมาส ติดลบต่อเนื่องกันเป็นเวลา 16 เดือน”
แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐยังคงแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้ จนมันลดลงจาก 13.5% ในปี 1980 ลงมาเหลือ 3.2% ในปี 1983
ทว่าผลข้างเคียงของยาแรง ทำให้ดอกเบี้ยยังคงสูง จนเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ “สภาวะตกต่ำ” หรือ “Great Depression” กล่าวคือ GDP ลดลง และคนว่างงานสูงมาก เพราะผู้ประกอบการลดจำนวนการจ้างงานลดลง จากต้นทุนการผลิตที่สูง
1
อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจโลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เผชิญกับสถานการณ์ของโรคระบาด และสงคราม จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งเป็นศูนย์กลางสกุลเงินสำรองหลักของโลก(ดอลลาร์สหรัฐ) มีการปรับลดเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อประคองเศรษฐกิจอยู่เรื่อยมา
ฉะนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงคริศต์ทศวรรษที่ 1980 (1971-1980) จึงเป็นกรณีศึกษาที่ช่วยได้ไม่มากก็น้อย สำหรับการรับมือกับเหหตุการณ์ร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกทั้งในปัจจุบัน.. และอนาคต..
ฝากติดตาม YuuTube ของเราด้วยนะครับ..
https://youtu.be/zoii2EZnVm8
https://youtu.be/zoii2EZnVm8
ติดตามเทคฮีโร เพิ่มเติมได้ที่..
FB:
https://www.facebook.com/techheroman
IG:
https://www.instagram.com/techhero_
Source
-
https://www.bangkokbiznews.com/columnist/979357
-
https://www.finnomena.com/channel/pocketmoney-ep34-stagflation/
-
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Stagflation
-
https://www.investopedia.com/articles/economics/08/1970-stagflation.asp
.
Picture
-
https://th.eferrit.com/stagflation/
1
2 บันทึก
3
3
2
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย