11 พ.ค. 2022 เวลา 11:00 • สุขภาพ
[SPECIAL CONTENT] สรุป 4 Bites จากรายการ Tech-a-Bite Ep.5 “ป่วยแล้ว (ไม่) ไปไหน หาหมอทางไกลใกล้กว่าที่คิด
เคยไหม ปวดหัวตุ้บ ๆ เสิร์ชปุ๊บ กลายเป็นเนื้องอกในสมอง
เคยไหม เจอผื่นแปลก ๆ พิมพ์หายาแก้คัน เจอว่าเป็นมะเร็งผิวหนัง
เคยไหม เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ก็เริ่มเสิร์ชหาอาการโควิดสายพันธุ์ใหม่ (ล่าสุด)
ในวันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในแทบทุกมิติในชีวิตประจำวันของหลาย ๆ คน จึงเป็นเรื่องไม่ยากที่เรื่องเหล่านี้จะกลายเป็นประสบการณ์ร่วมของหลาย ๆ คนที่ใช้เครื่องมือค้นหาคลังความรู้บนโลกออนไลน์ อย่างเสิร์ชเอนจินต่าง ๆ ในการช่วยหาคำตอบให้กับชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่สุขภาพของตน
โดยอาจมองข้าม หรือยังไม่แน่ใจกับอีกทางเลือกหนึ่งที่เทคโนโลยีก็เอื้อให้เกิดขึ้นเช่นกัน อย่าง เทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือ Health Tech ที่ทำให้เกิดทางเลือกการปรึกษาหรือการรักษาในแบบทางไกล หรือที่เรียกว่า “Telemedicine” เกิดขึ้น
ในรายการ “Tech-a-Bite” เทคนิดนิด ขนาดพอดีคำ จากทรู ดิจิทัล กรุ๊ป รายการที่จะนำคุณอัปเดตเทรนด์นวัตกรรมและเทคโนโลยีน่าสนใจ เพื่อมาปลดล็อกทุกความเป็นไปได้ให้กับโลกใบนี้ ออกอากาศเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา
เราชวนคุณหมอพิรญาณ์ ธำรงธีระกุล Head of Medical Affairs และคุณยศวีร์ นิรันดร์วิชย Head of True HEALTH solutions, Integrated Digital Health จากทรู ดิจิทัล กรุ๊ป มาเจาะลึกถึงเรื่องราวความน่าสนใจเกี่ยวกับแพลตฟอร์มเพื่อสุขภาพที่กำลังเป็นที่จับตามองจากหลาย ๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะจากผู้ใช้งาน บุคลากรทางการแพทย์ หรือภาคธุรกิจ โดยเราสรุปออกมาเป็นสิ่งน่ารู้พอดีคำ 4 คำ ดังนี้
  • Bite #1: ไม่ต้องรอป่วย หมอก็ช่วยคุณได้
เช่นเดียวกันกับการหาหมอ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการเข้ารับการปรึกษากับแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยี Telemedicine นั้นมีส่วนช่วยสำคัญในการทำให้คนทั่วไปสามารถรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้องกับผู้เชี่ยวชาญ โดยไม่ต้องรอให้เกิดการเจ็บป่วย และยังลดข้อกังวลเกี่ยวกับการเดินทาง สถานที่รักษาพยาบาล เวลา และการเสียโอกาสอื่น ๆ เช่น เวลาที่อาจหายไปจากการทำงานในการมาพบแพทย์ เป็นต้น
โดยคุณหมอพิรญาณ์ได้แนะนำว่า การปรึกษาแพทย์ในแอปพลิเคชัน Telemedicine สามารถทำได้ตั้งแต่ การปรึกษาเรื่องข้อกังวลในชีวิตประจำวัน เช่น การปวดเมื่อย อาหารการกิน ไปจนถึงการแนะนำความเข้าใจที่อาจคาดเคลื่อนด้านสุขภาพต่าง ๆ ไปจนถึงการจัดการความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ และด้วยรูปแบบของการปรึกษาที่ไม่จำเป็นต้องเดินทาง จึงทำให้ผู้เข้ารับการปรึกษาสามารถเลือกปรึกษาได้ในเวลาและสถานที่ที่สะดวกต่อตนเอง
  • Bite #2: เติมยา ขาประจำ ไม่ต้องจ้ำมาถึงโรงพยาบาล
อีกหนึ่งประโยชน์สำหรับ Telemedicine ที่มีผลอย่างมาก โดยเฉพาะระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากจะเป็นเรื่องการรับมือจำนวนผู้ป่วยที่เข้ามาด้วยโรคดังกล่าวแล้ว ยังรวมไปถึงผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังที่จำเป็นต้องเข้ามาติดตามอาการ หรือรับยารักษาเป็นประจำ ที่อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อกับผู้ป่วย
หรือแม้แต่ในสถานการณ์ปกติที่ผู้ป่วยในหลายพื้นที่อาจไม่สามารถเข้าถึงสถานพยาบาลที่ให้การรักษาได้อย่างสะดวกเป็นประจำ การรักษากับแพทย์ผ่าน Telemedicine ในลักษณะการติดตามอาการ จึงช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถได้รับการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และลดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น หรือความลำบากในการเดินทางอีกด้วย
ทั้งนี้ Telemedicine ก็อาจยังไม่สามารถเป็นคำตอบที่ทดแทนได้ในทุกกรณี โดยกรณีฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ หรือโรคอุบัติเฉียบพลัน การนำตัวผู้ป่วยให้ถึงมือแพทย์ที่สถานพยาบาลยังคงเป็นเรื่องจำเป็นเช่นเดิม
  • Bite #3: หมอว่ายังไง กินยาอะไร เมื่อไหร่ ไม่ต้องจำเอง
หนึ่งในประสบการณ์ที่หลาย ๆ คนอาจพบเจอ หลังเข้าพบแพทย์คือ จำคำแนะนำของหมอไม่ได้ทั้งหมด เช่น วิธีการรับประทานยา การดูแลรักษาตัว หรือลักษณะของโรคที่ได้รับการวินิจฉัย
โดยแอปพลิเคชัน Telemedicine จะช่วยในการเก็บข้อมูลคำวินิจฉัย บันทึกอาการ วิธีปฎิบัติตัว รวมไปถึงรายการยาที่สั่งจ่าย ทำให้นอกจากผู้ป่วยจะสามารถย้อนกลับมาดูข้อมูลต่าง ๆ ของตัวเองได้แล้ว ยังมีประโยชน์ในอนาคต หากผู้ป่วยต้องการนำประวัติการรักษาจากแอปพลิเคชันไปรักษาต่อกับแพทย์อื่น ๆ ผู้ป่วยจะสามารถนำประวัติการใช้ยาและการวินิจฉัยไปอ้างอิงเพื่อรักษาต่อได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่อีกด้วย
  • Bite #4: ลองครั้งแรกแล้วสบายใจ ครั้งที่สองที่สามก็ตามมา
คุณยศวีร์กล่าวว่า จากพฤติกรรมผู้ใช้ Telemedicine ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีผู้หันมาใช้บริการ Telemedicine ต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว และมีการคาดการณ์ว่า แม้วิกฤติจะซาตัวลง และอาจทำให้คนเลือกใช้ Telemedicine ลดลง แต่ก็จะไม่ลดไปเท่ากับก่อนหน้าช่วงการระบาด โดย Telemedicine จะไม่เข้ามาแทนที่การรักษาตามปกติ แต่จะเข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาแทน
ทั้งนี้ เทรนด์การรักษา Telemedicine ของไทยอาจมีไม่มากเท่าของตะวันตก แต่หลังโควิด ทำให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น รวมถึงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการใช้งานเครื่องมือ Health tech มากขึ้น
เช่น เครื่องวัดออกซิเจน หรือแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น หมอพร้อม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของตลาด Telemedicine ในไทย ซึ่งในปัจจุบัน เริ่มเห็นผู้เล่นรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาในตลาดมากขึ้น แสดงถึงศักยภาพในตลาดไทย ในขณะที่ผู้เล่นในไทยก็ชูจุดเด่นต่างๆ เข้าแข่งขันเช่นกัน
นอกจากนี้ ความท้าทายต่าง ๆ ไม่ว่าจะจากด้านระเบียบข้อบังคับ การสร้างเครือข่ายแพทย์และผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และทัศนคติต่อ Telemedicine ของผู้ใช้งานก็กำลังเป็นไปในทางบวก โดยมักพบว่า หลังการทดลองใช้งานครั้งแรก ผู้ใช้งานมักกลับมาใช้งานอีก โดยไม่ได้เป็นเพียงการติดตามอาการจากครั้งแรก แต่เป็นการปรึกษาข้อกังวลในด้านอื่น ๆ ต่อไปด้วย
ทั้งนี้ หากสนใจ ท่านสามารถทดลองประสบการณ์ปรึกษาด้านสุขภาพได้ที่แอปพลิเคชัน “หมอดี (MorDee)” หมอประจำบ้านในมือคุณ กับแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศกว่า 500 ท่านใน 20 สาขาเชี่ยวชาญเฉพาะ ดูแลคุณทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ
พิเศษ! แฟนรายการ Tech-a-Bite สามารถใช้โค้ด techabite รับการปรึกษาได้ฟรี 1 ครั้ง ไม่จำกัดสาขาการปรึกษา ตั้งแต่วันนี้ - 31 ส.ค. 2565 จำนวน 100 สิทธิเท่านั้น ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอดี (MorDee)” ได้แล้ววันนี้ใน App Store, Play Store และ Huawei AppGallery หรือที่นี่: https://bit.ly/3MdqNVi
สามารถติดตามรายการ Tech-a-Bite ครั้งต่อไปได้ในวันศุกร์ที่ 13 พ.ค. 2565 เวลา 18:00 - 18:30 น. บนหน้าเฟซบุ๊ค “True Digital Group” (https://www.facebook.com/TDGgroup/)
รับชมย้อนหลังได้บนช่องทางต่างๆ ดังนี้
บันทึกรายการ
พ็อดแคสต์:
#Telemedicine #Telehealth #HealthTech #แพทย์ทางไกล #TechByTrueDigital #TechABite
โฆษณา