Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Is Life
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2022 เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
ลิงลูกผสมบนเกาะเบอร์เนียว สายพันธุ์ที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตการทำลายผืนป่า
ที่เกาะเบอร์เนียว พรหมแดนประเทศมาเลเซีย มีการค้นพบลิงสายพันธุ์ใหม่
สันนิษฐานว่าเป็นลิงที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ‘ลิงจมูกยาว’ (Proboscis monkey) และ ‘ค่างเทา’ (Silvery langur) ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ใกล้เคียงกัน
โดยลิงจมูกยาวเพศผู้ได้ผสมพันธุ์กับค่างเทาเพศเมียจนให้กำเนิดสัตว์ลูกผสมออกมา
ลิงพันธุ์ใหม่นี้ มีลักษณะของทั้งสองสปีชีส์ปรากฎชัดบนใบหน้า คือ มีจมูกคล้ายลิงจมูกยาวตัวเมีย แต่มีหน้าสีเทา เป็นเพศเมีย
ตามธรรมชาติ การผสมพันธุ์ข้ามสปีชีส์เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาใกล้เคียงกัน หรืออย่างน้อยก็อยู่ในวงศ์เดียวกัน
แต่กรณีนี้ถือเป็นเรื่องแปลก เนื่องสองสายพันธุ์นี้ไม่ได้มีความใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการสักเท่าไหร่
ทั้งสองชนิดล้วนแต่เป็นลิงโลกเก่า แต่อยู่คนละวงศ์และสกุลกัน ขนาดร่างกาย และรูปร่างหน้าตาก็แตกต่างไปคนละทาง
โอกาสจะมาผสมพันธุ์กันจึงเป็นได้ค่อนข้างน้อย เว้นแต่จะมีพฤติกรรมทางธรรมชาติอื่นๆ เข้ามาเป็นปัจจัยเสริม
การค้นพบลิงลูกผสมตัวนี้ต้องย้อนกลับไปปี 2017 ซึ่งปรากฎภาพลิงที่ไม่ใครรู้จักบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่าถูกถ่ายได้บริเวณแม่น้ำกีนาบาตางัน บนเกาะเบอร์เนียว
จากนั้นก็มีการถ่ายภาพลิงสายพันธุ์ลึกลับนี้ได้อีกหลายครั้งทั้งจากช่างภาพสมัครเล่นและนักวิจัย
photo : International Journal of Primatology
รวมถึงภาพลิงจมูกยาวเพศผู้ที่กำลังผสมพันธุ์กับค่างเทาเพศเมีย ซึ่งนำไปสู่ข้อสันนิษฐานที่อธิบายไว้ข้างต้นว่าลิงลูกผสมเกิดจากพ่อแม่สายพันธุ์ใด
กระทั่งในปี 2020 ก็ปรากฎภาพลิงตัวเดิมที่เริ่มโตเต็มวัย พร้อมกับลิงน้อยอีกตัวที่เหมือนกับค่างเทา
นักวิจัยสันนิษฐานเพิ่มว่าลิงน้อยในภาพอาจเป็นลูกของเธอเอง เนื่องจากบริเวณหน้าอกของลิงลูกผสมมีลักษณะบวมที่เกิดจากการให้นมลูก
ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกอีกอย่าง เพราะสัตว์ลูกผสมส่วนใหญ่มักเป็นหมัน
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้กำเนิดลูกไม่ได้ เพียงแต่มีโอกาสน้อยมากๆ
แม้ยังมีคำถามที่หาคำตอบไม่ได้เกี่ยวกับลิงลูกผสมตัวนี้ แต่มีเรื่องหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมั่นใจว่าลิงตัวนี้เป็นผลพวงหนึ่งของการตัดไม้ทำลายป่า
โดยผืนป่าบนเกาะบอร์เนียวในส่วนของมาเลเซีย ได้หายไปมากถึง 1.9 ล้านเฮกตาร์ระหว่างปี 2004-2017 ซึ่งคิดเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ของป่าที่เหลืออยู่
และบ้านของลิงลูกผสมตัวนี้ก็ล้วนรายล้อมไปด้วยสวนปาล์มน้ำมัน
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าลิงลูกผสมอาจเกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่บีบคั้นมากขึ้นเรื่อยๆ ของสายพันธุ์พ่อและแม่
ซึ่งผืนป่าที่หดเหลือน้อยลงอาจทำให้สายพันธุ์เกิดการกระจัดกระจาย ขณะเดียวกันยังชักนำลิงสองสายพันธุ์มาเจอกัน ซึ่งอาจมีการแย่งอาการ และแย่งการผสมพันธุ์เกิดขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ย้ำว่า การค้นพบนี้ไม่ควรเป็นเพียงเรื่องของสัตว์สายพันธุ์ใหม่ แต่ต้องมองให้เห็นว่ามันคือสัญลักษณ์ที่เกิดจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
#IsLIFE #Monkey #Langur
อ้างอิง
Live Science :
https://shorturl.asia/phLMb
The Telegraph :
https://shorturl.asia/aDgZt
The Asean Post :
https://shorturl.asia/2A7MO
Photo : International Journal of Primatology
สิ่งแวดล้อม
สัตว์ป่า
1 บันทึก
4
2
1
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย