Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นภา
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2022 เวลา 16:52 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หลุมดำกลางทางช้างเผือก
แบบเข้าใจง่าย ยังไง จะมาเล่าให้ฟังครับ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หลุมดำล่าสุดที่เรากำลังพูดถึง คือคนละหลุมดำที่ค้นพบในปี 2019 ที่กาแล็กซี่ M87 นะครับ
จุดเริ่มต้นของการค้นพบในครั้งนี้ มาจากจุดเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1933 นักวิทยาศาสตร์ พบคลื่นวิทยุปริศนา จากใจกลางทางช้างเผือก (กาแล็กซีที่เราอยู่ในปัจจุบัน)
เวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ พบหลักฐานว่า มีดาวฤกษ์จำนวนมาก หมุนวนรอบ ๆ บริเวณนี้ด้วยความเร็วที่สูงผิดปกติ
ทำให้เกิดเป็นข้อสันนิษฐานว่า น่าจะมีอะไรสักอย่างที่มีแรงดึงดูดมหาศาล ที่คอยเหนี่ยวนำดวงดาวเหล่านั้นอยู่
แต่สิ่งนั้นก็ต้องมีขนาดเล็กมาก ๆ ด้วยเหมือนกัน
ซึ่งนั่นไปสอดคล้องกับคุณสมบัติของ หลุมดำมวลยิ่งยวด
และต่อมาได้พบหลักฐานเพิ่มเติม ถึงการมีอยู่ของหลุมดำ ณ ใจกลางของกาแล็กซีของเรา
แต่นั่นก็เป็นเพียงหลักฐานทางอ้อม ที่บ่งชี้ว่า น่าจะเป็นอย่านั้นเท่านั้น ไม่สามารถคอนเฟริมได้ 100 % เป็นเพียงแค่ทฤษฎีเท่านั้น
จนกระทั่งปัจจุบัน
ภาพของหลุมดำที่อยู่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกได้ถูกบันทึกและเปิดเผยให้กับคนทั้งโลกได้เห็นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2022
โดยที่หลุมดำภาพนี้ เป็นหลุมดำมวลยิ่งยวดและมีขนาดที่เล็กมาก ๆ ตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า
หลุมดำนี้มีชื่อว่า Sgr A* ย่อมาจาก Sagittarius A* (ซาจิทาเรียส เอ สตาร์)
มาจากการที่ตำแหน่งของ Sgr A* นั้นอยู่ในกลุ่มดาว คนยิงธนู หรือ ซาจิทาเรียส
Sgr A* นั้นมีขนาดเล็กมาก ๆ เมื่อเทียบกับ M87* (หลุมดำที่ค้นพบเมื่อปี 2019)
Sgr A* นั้นมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ราว 4 ล้านเท่า
M87* นั้นมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ ถึง 6,500 ล้านเท่า
https://web.facebook.com/photo?fbid=367364465434102&set=pcb.367368948766987
และด้วยความที่มันมีขนาดเล็ก มาก ๆ ทำให้การค้นพบหลุมดำนี้ เป็นไปได้ยาก ถ้าให้เปรียบระยะทางจากโลกถึงใจกลางกาแล็กซีแล้วคงเปรียบได้กับ การถ่ายภาพของโดนัท ที่อยู่บนดวงจันทร์จากพื้นโลก
และด้วยความที่ Sgr A* นั้นมีขนาดเล็กมาก ทำให้ การเดินทางของแสงรอบ ๆ นั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ทำให้่การรวมแสงในการถ่ายภาพนั้นยากขึ้นไปอีก
ซึ่งกว่าจะถ่ายภาพนี้ออกมาได้นั้น ต้องอาศัยเทคโนโลยีการเชื่อมโยงเครือข่ายจากทั่วทั้งโลก ที่เรียกว่า อินเทอร์เฟอโรเมทรี ในการทำงานร่วมกันของกล้องโทรทรรศน์ทั่วโลก ประกอบกันเป็นกล้องโทรทรรศน์เสมือน ที่มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับโลกทั้งใบ
การค้นพบนี้ ไม่ใช่แค่เพียงการถ่ายภาพของหลุมดำเท่านั้นแต่มันยังเป็นสิง่ที่พิสูจน์ความจริงจากข้อสงสัยเมื่อนานมาแล้ว และนำไปสู่วิทยาศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น
ถึงแม้ว่าวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบัน ยังไม่ข้ามพ้นวิทยาศาสตร์ของ ไอน์สไตน์ ก็ตาม แต่การค้นพบในครั้งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่สำคัญ ว่ามนุษย์ ยังคงก้าวต่อไป และยังคงพัฒนาขึ้นไปอีกในทุก ๆ วัน
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับเรื่องราว ที่นำมาฝากกันในวันนี้ ?
ทุก ๆ คนสามารถ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ นภา ได้ผ่านการแสดงความคิดเห็นและ
แบ่งปันเรื่องราวกันได้ที่ด้านล่าง นี้เลยครับ ⬇️⬇️⬇️
และมากไปกว่านั้น ยังสามารถ เป็นกำลังใจ และสนับสนุน นภา ได้ด้วยการ กดว้าว เพื่อบอกกับเราว่า อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆
Ref:
🔹https://www.bbc.com/news/science-environment-61412463
🔹https://www.google.com/search?q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B3&oq=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B3&aqs=chrome..69i57j0i546l2.16998j0j7&sourceid=chrome&ie=UTF-8
🔹https://web.facebook.com/NARITpage/posts/367368948766987
🌸 นภา เรียบเรียง 12/05/65
วิทยาศาสตร์
การศึกษา
อวกาศ
4 บันทึก
4
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
space sci
4
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย