13 พ.ค. 2022 เวลา 12:00 • ข่าวรอบโลก
‘เวียดนาม’ หวังพึ่ง LNG ลดคาร์บอน 0%
5
‘ก๊าซธรรมชาติเหลว’ หรือ ‘LNG’ กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากในเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามพยายามที่จะเลิกใช้ถ่านหินที่สร้างคาร์บอนสูง และก้าวให้ทันกับเทรนด์การใช้ LNG ที่กำลังเติบโตในภูมิภาค ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวอาจสะดุดลงจากการแข่งขันอย่างดุเดือดในการซื้อ-ขาย LNG
5
ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Samsung C&T และ Lilama บริษัทก่อสร้างของเวียดนามประกาศเรื่องสัญญาด้านวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง LNG แห่งแรกของประเทศในมูลค่าถึง 940 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
5
โดยโรงไฟฟ้าขนาด 1,500 เมกะวัตต์แห่งนี้จะดำเนินการโดยบริษัท PetroVietnam Power ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ Vietnam Oil and Gas Group ที่บริหารโดยรัฐบาล และมีกำหนดเปิดตัวในปี 2567-2568 ที่จะถึงนี้
5
ปัจจุบัน ไฟฟ้าประมาณครึ่งหนึ่งของเวียดนามผลิตจาก ‘ถ่านหิน’ ที่โดยปกติแล้วจะมีราคาถูกกว่าและสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่น แต่โรงไฟฟ้าถ่านหินก็สร้าง Carbon Footprint ในปริมาณสูง ซึ่งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2593 ที่นายกรัฐมนตรี Pham Minh Chinh ได้กล่าวไว้ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
6
ขณะที่ พลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมีความไม่แน่นอน ดังนั้นแม้ว่า LNG จะเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่เมื่อมีการเผาไหม้ก็มีการปล่อยก๊าซเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของถ่านหินเท่านั้น LNG จึงถูกมองว่าเป็นเส้นทางที่สดใสและเป็นไปได้มากกว่าสำหรับการลดคาร์บอน
6
ตามรายงานจากสื่อท้องถิ่นระบุว่าเวียดนามมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซ LNG มากกว่า 20 โรง โดยบริษัท Tokyo Gas และ Marubeni มีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้ามูลค่า 2 แสนล้านเยน หรือประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเมือง Quang Ninh ใกล้ฮานอย และกลุ่มบริษัทพลังงาน JERA จากญี่ปุ่นก็กำลังดูโรงไฟฟ้าและสถานีรับ-จ่าย LNG ในเวียดนามตอนเหนืออยู่เช่นกัน
5
ขณะเดียวกัน LNG ก็กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน อย่างในฟิลิปปินส์ก็มี First Gen บริษัทในเครือด้านพลังงานของกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ Lopez Group จับมือกับ Tokyo Gas ในการสร้างสถานีรับ-จ่าย LNG นอกชายฝั่งที่จะเริ่มรับเชื้อเพลิงให้ได้ในปีนี้
6
ส่วนไทยก็จะมีบริษัท Gulf Energy Development และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ Mitsui & Co. ของญี่ปุ่นกำลังสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติและ LNG ขนาด 2,500 เมกะวัตต์ มูลค่าประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2566 เพื่อจ่ายกระแสไฟให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยภายใต้สัญญา 25 ปี
5
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางเทรนด์ที่ LNG กำลังเป็นที่นิยมก็เกิดความกังวลขึ้นภายในภูมิภาคในแง่ ‘ราคาเชื้อเพลิง’ ที่พุ่งสูงขึ้น โดยราคาซื้อขายทันทีของ LNG ในเอเชียเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่าภายในปีที่ผ่านมา
5
โดยส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากการบุกยูเครนของรัสเซีย และจากการที่ประเทศในยุโรปหลายประเทศหันมาใช้ LNG แทนท่อส่งก๊าซจากรัสเซีย จึงไม่คิดว่าราคาจะกลับไปสู่ระดับก่อนหน้าในเวลาอันใกล้นี้
6
ประกอบกับกระแสนโยบาย Resource Nationalism หรือความเป็นชาตินิยมด้านทรัพยากรนั้นเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อิทธิพลทางเศรษฐกิจที่น้อยกว่าผู้ซื้อคู่แข่งรายอื่นอาจจะเผชิญความยากลำบากในการได้รับ LNG มาอย่างแน่นอน
4
ทั้งนี้ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และยังมีการบริโภคเชื้อเพลิงมากกว่า 70% ในปัจจุบัน โดยเฉพาะการจัดส่งไปยังประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปีที่แล้วจีนได้แซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นนำเป็นประเทศที่มีการนำเข้า LNG สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาค
3
โดยจีนมีการนำเข้า LNG เพิ่มขึ้น 18% หรือคิดเป็นประมาณ 81 ล้านตัน ขณะที่ญี่ปุ่นที่เคยเป็นผู้นำตลาดนำเข้าตั้งแต่ช่วงต้นปีต้นทศวรรษ 1970 ยังคงรักษาปริมาณอยู่ที่ประมาณ 75 ล้านตันในปี 2564 และเกาหลีใต้อยู่ในอันดับ 3 ที่ประมาณ 46 ล้านตัน
4
ซึ่งในปี 2553 มีเพียงจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน เป็นผู้นำเข้า LNG ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต่อมาในปี 2563 จึงเพิ่มมาอีก 4 ประเทศ ทำให้ภูมิภาคนี้กินส่วนแบ่งตลาดนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นจาก 60% ในปี 2553 เป็น 71% ในปี 2563
4
ขณะที่ ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรกว่า 650 ล้านคนก็กำลังผลักดันการนำเข้า LNG ให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับเอเชียใต้ โดยหลายประเทศในทั้ง 2 ภูมิภาคจำเป็นต้องรับมือกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าการผลิตก๊าซธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ ก็ตาม
6
ที่มา: Vietnam turns to LNG power plants, seeking to shake coal dependence, TOMOYA ONISHI, Nikkei
1
ผู้เขียน: ณภัสสร มีไผ่แก้ว
3
╔═══════════╗
ติดตามช่องทางอื่นๆ ของ AEC Connect
╚═══════════╝
#APEC2022COMMUNICATIONPARTNER
โฆษณา