13 พ.ค. 2022 เวลา 13:15 • ไลฟ์สไตล์
วิธีเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้นผ่านหลักการ F.A.S.T
2
ทุกวันนี้เวลาเป็นสิ่งมีค่า ไม่ว่าจะทำอะไรสิ่งที่เราเสียไปเสมอนั้นคือ ‘เวลา’ แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าเราสามารถเรียนรู้ทักษะและความรู้ต่างๆ ให้เร็วขึ้นเป็นสองเท่า ให้คุณได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้มากขึ้น
2
แนวคิดนี้มาจาก Jim Kwik ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองที่ใช้เวลากว่า 30 ปี ในการหาวิธีใช้สมองของเราให้ออกมาดีและ​​มีประสิทธิภาพมากที่สุด แถมยังเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับกองถ่ายภาพยนตร์ เพื่อนำทักษะด้านการเรียนรู้และความจำมาช่วยนักแสดงท่องจำบทให้ดีขึ้นอีกด้วย
2
Jim Kwik ได้ออกมาแชร์วิธีที่จะเรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะเขาเชื่อว่ายิ่งเรียนรู้ได้เร็ว ก็ยิ่งประสบความสำเร็จได้เร็วด้วยเช่นกัน โดยเขาได้ตั้งหลักการเรียนรู้อย่างรวดเร็วออกมาเป็น 4 ตัวอักษร นั่นก็คือ F.A.S.T.
4
F = FORGET
A = ACTIVE
S = STATE
T = TEACH
11
F = #FORGET ลืมไปก่อน
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมขั้นตอนแรกของการเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ คือการลืม? แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่ Jim Kwik พยายามจะบอกก็คือ การที่เราจะเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ เราต้องเปิดใจ และลืมสิ่งที่เรารู้มาเสียก่อน ทำตัวเป็นเหมือนน้ำที่ไม่เต็มแก้ว เพื่อพร้อมรับข้อมูลใหม่อยู่เสมอ
5
หลายคนติดกับดักตรงนี้ เพราะคิดว่าตัวเองรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีจนไม่พร้อมเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นทักษะการเรียนรู้ได้เร็วในขั้นแรกก็คือ ความพร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่อยู่เสมอนั่นเอง
1
A = #ACTIVE กระตือรือร้น
ในโรงเรียนเราถูกสอนให้ตั้งใจฟังอย่างเงียบๆ ฟังคุณครูสอนเป็นหลัก ใช้การท่องจำเป็นตัววัดผลสอบ ซึ่งเป็นการเรียนที่ผิดกับหลักธรรมชาติของมนุษย์เรา เพราะมนุษย์เราเรียนรู้ได้ดีผ่านการถูกกระตุ้นที่มีปฏิกิริยาตอบโต้
4
เช่น ยกมือถามเมื่อมีข้อสงสัย หรือจดโน้ตเป็นการทบทวนก็สามารถช่วยได้ และสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเรามีความกระตือรือร้นที่จะทำมัน และยิ่งคุณมีมากเท่าไหร่ คุณก็จะสามารถเรียนรู้ได้ไวมากขึ้นเท่านั้น
1
S = #STATE สภาวะทางอารมณ์
Information + Emotion = Long-Term Memory
ความพร้อมทางอารมณ์ คือตัวบ่งบอกว่าคุณพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งนั้นๆ ในเวลานี้หรือไม่
1
หากคุณมีอารมณ์ร่วมกับสิ่งนั้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน มันก็มีแนวโน้มว่าคุณจะจำมันได้อยู่ดี กลับกันเราแทบจำบทเรียนที่เคยเรียนในวิชาที่แสนน่าเบื่อไม่ได้เลยใช่ไหมล่ะ เพราะเราไม่มีอารมณ์ร่วมไปกับการเรียนในครั้งนั้นนั่นเอง ดังนั้น หากเรามีความพร้อมทางอารมณ์ก่อนที่จะเรียนสิ่งใหม่ๆ ก็จะช่วยให้เราจดจำได้ดีขึ้นและนานขึ้น
2
Jim Kwik ได้อธิบายในหัวข้อนี้เพิ่มเติมไว้ว่าให้คุณทำตัวเป็น “เครื่องควบคุมอุณหภูมิ” ไม่ใช่ “เครื่องวัดอุณหภูมิ” ความหมายก็คือ เครื่องวัดอุณหภูมิจะแปรเปลี่ยนไปตามสิ่งรอบนอก แต่ถ้าคุณทำตัวให้เป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิ เราจะเป็นคนควบคุมและกำหนดทิศทาง เป้าหมาย ได้ด้วยตนเอง ทั้งหมดนี้หมายความว่า การที่คุณจะเรียนรู้ได้ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณรู้สึกอย่างไรในช่วงเวลานั้น
6
T = #TEACH การนำไปสอน
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการสอนผู้อื่น หมายความว่าเมื่อเราพยายามนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาไปสอนผู้อื่น มันต้องใช้ทั้งการจดจำ การเรียบเรียง และความเข้าใจในเนื้อหา และทำให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายด้วยเช่นกัน ดังนั้น เมื่อเราเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ มา ก็อาจจะลองเล่าให้คนอื่นฟัง เพราะมันไม่แค่จะช่วยให้เราจดจำได้ดีขึ้น แต่ยังช่วยให้เราได้ทบทวนเนื้อหาว่าเราเข้าใจสิ่งเหล่านั้นจริงๆ หรือไม่
9
จากทั้งหมดเรากล่าวมา การเรียนรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้หากทั้ง 4 ปัจจัยนี้ “Forget, Active, State และ Teach” มาด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญไปกว่านั้น การที่กระบวนการทั้ง 4 จะเกิดขึ้นได้ จะขาดสิ่งนี้ไปไม่ได้เลย คือการ “ยอมรับ” ว่าสิ่งที่เราเคยรู้มา อาจจะไม่พอเพียงหรืออาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป และ “เปิดใจ” ที่จะทิ้งสิ่งเหล่านั้นไปและเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ที่อาจจะช่วยให้เราไปได้ไกลกว่าเดิม
11
แปลและเรียบเรียงจาก
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskill
โฆษณา