Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้เรื่องสัตว์ๆ
•
ติดตาม
16 พ.ค. 2022 เวลา 01:08 • สิ่งแวดล้อม
รู้เรื่องสัตว์ ๆ ตอนที่ 30 | ถ้าโลกนี้ไม่มียุง🚫🦟
หากมีการสำรวจแมลงที่คนเกลียดที่สุดเชื่อว่าคู่แข่งที่สูสีของแมลงสาบก็คงเป็นยุงนี่แหละ
รู้เรื่องสัตว์ ๆ ตอนนี้จะพาทุกคนมาหาคำตอบไปด้วยกันว่า โลกนี้ไม่มียุงได้มั้ย? แล้วถ้าโลกนี้ไม่มียุงจะเกิดอะไรขึ้น?
ถ้าเสริชรูปยุงภาพแบ็คกราวด์ที่คุ้นเคยมักจะเป็นผิวหนังของมนุษย์มากกว่า แต่วันนี้อยากจะชวนมาทำความรู้จักมุมอื่นๆ ของยุงบ้าง cr. https://roadsendnaturalist.com/2013/07/02/that-is-one-giant-mosquito/
ยุงเป็นสัตว์ที่สร้างความรำคาญให้กับมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมนุษย์ที่อยู่ในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นย่อมเข้าใจถึงความรำคาญนี้เป็นอย่างดี🤔
ที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับยุงมีขึ้นเพื่อให้คนสามารถรับมือกับยุงได้
เช่น การหาว่ายุงมีวิธีเข้าหาคนได้จากการที่มีเซลล์ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเซนเซอร์ซึ่งใช้ตรวจการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ🌡จึงสามารถหาตัวของสัตว์หรือคนได้อย่างแม่นยำ
และการที่คนบางคนถูกยุงกัดบ่อยกว่าคนอื่น ๆ ก็มาจากการที่ยุงมีกลื่นที่ชอบและไม่ชอบเช่นกัน เรียกว่ามีความจำเพาะต่อกลิ่นของดอกไม้และกลิ่นเฉพาะตัวของคน ซึ่งก็นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไล่ยุงต่าง ๆ
แต่หากคนเรายังโฟกัสถึงข้อเสียของยุงที่มีต่อ 'มนุษย์' ก็จะทำให้ยากที่จะเข้าใจถึงความสำคัญของยุงที่มีต่อ 'ธรรมชาติ' ได้
เพราะในธรรมชาติแล้ว ทุกๆ วงจรชีวิตของยุงมีความเกี่ยวพันสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์หรือเชื้อโรค
ยุง...ผู้ผสมเกสรที่ชอบกินน้ำหวานมากกว่าเลือด🌼🦟
ทั่วโลกมียุงกว่า 3,500 ชนิด พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในประเทศไทยมียุงประมาณ 412 ชนิด แต่ยุงทุกชนิดก็ไม่ได้กัดคน🩸
โดยมียุงเพียง 6% เท่านั้นที่กัดคนและเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ และมีเพียงยุงตัวเมียเท่านั้นที่กินเลือดคนเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนในช่วงวางไข่ ส่วนยุงตัวผู้นั้นกินแต่น้ำหวานแถมไม่เคยกัดมนุษย์อีกต่างหาก
เพราะที่จริงอาหารหลักของยุงไม่ใช่เลือดของคนหรือสัตว์แต่คือน้ำหวานดอกไม้ ดังนั้น ยุงจึงเป็นแมลงผู้ผสมเกสร (pollinator) ชนิดหนึ่งที่ช่วยผสมพันธุ์ให้กับพืชในการถ่ายละอองเรณูจากดอกไม้ดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่งเช่นเดียวกับผึ้งและผีเสื้อ
แต่บทบาทการเป็นแมลงผู้ผสมเกสรของยุงไม่เป็นที่รู้จักมากนักก็เพราะยุงเป็น 'ผู้ผสมเกสรกะกลางคืน' นั่นเองจึงทำให้ยากที่จะพบเห็นยุงทำหน้าที่นี้ ทั้งที่ยุงทำหน้าที่ผสมเกสรได้ไม่ต่างกับผู้ผสมเกสรกะกลางวัน อย่างผึ้งหรือผีเสื้อเลย
ยุงกับหน้าที่ในระบบนิเวศ
นอกจากความสัมพันธ์กับพืชในฐานะผู้ผสมเกสรแล้ว ยุงยังเป็นส่วนหนึ่งของสายใยอาหาร (food web) ในทุกช่วงชีวิตทั้งยุงตัวเต็มวัยและลูก (น้ำ) ยุงที่อยู่ในน้ำ ล้วนเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในธรรมชาติ เช่น แมลงปอ เต่า ค้างคาวและนก
และในสายใยอาหารหากมีสัตว์ชนิดหนึ่งหายไปไม่ว่าจะสัตว์ใหญ่เล็กก็ย่อมส่งผลกระทบต่อมาเป็นทอดๆ ไม่มากก็น้อย ดังนั้น การมีอยู่ของยุงจึงมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ
ยุงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น โรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก ถึงจะมีเป็นร้อยชนิดแต่ก็คิดเป็นเพียง 6% ของยุงทั้งหมดเท่านั้น
และทั่วโลกยังมียุงอีกนับพันชนิดที่มีสีสันแฟนซี มีพฤติกรรมผสมพันธุ์ที่แปลกๆ มีโฮสต์ที่หลากหลายและ และน่าสนใจรอให้เราได้ศึกษา
ซึ่งการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับยุงก็จะทำให้เราป้องกันยุงและโรคจากยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
ดังนั้น ถึงเราจะรำคาญยุงแค่ไหนแต่ก็คงต้อง (กัดฟัน) ยอมรับว่ายุงก็มีความสำคัญต่อโลกใบนี้ไม่มากก็น้อย มีหน้าที่ในระบบนิเวศเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และมีความหมายที่จะดำรงอยู่ต่อไป
Sabethes cyaneus ยุงเขตร้อนที่ได้ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดในโลก cr. https://phil.cdc.gov/details_linked.aspx?pid=15781
โลกรวน🌡🌎ชวนให้โรคลาม💉😷
การที่เลือกเรื่องของยุงมาเขียนในตอนนี้ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการเมื่อวันพืชมงคลที่ผ่านมา ซึ่งฤดูฝนในเดือนพฤษภาคมดูไม่ใช่เรื่องปกติซักเท่าไหร่ และเมื่อพูดถึงหน้าฝนสัตว์ชนิดหนึ่งที่นึกถึงก็คือ ‘ยุง’ นั่นเอง
ความแปรปรวนของภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกนี้ และไม่ใช่แค่เพียงปีนี้หรือปีหน้าเท่านั้นแต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศดูจะทวีความารุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
และการที่สภาพแวดล้อมทางธรรมชาตินั้นมีส่วนสำคัญที่เชี่อมโยงกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเราอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ถือเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)
และต่อให้เราอยากให้ยุงหมดไปจากโลกมากแค่ไหนแต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ความคิดที่จะให้ยุงหมดไปจากโลกคงเป็นได้แค่ฝัน แค่นั้นไม่พอโลกรวนยังทำให้ยุงสามารถแพร่โรคได้ไกลกว่าที่เคยอีกด้วย
โดยหากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเกิดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่บรรเทาลง ภายในปี 2070 จะมีผู้คนอีก 4.7 พันล้านคนที่ต้องเสี่ยงต่อโรคที่มียุงเป็นพาหะ เช่น มาลาเรียและไข้เลือดออก ตลอดจนโอกาสที่จะเกิดการระบาดซ้ำและการฤดูการระบาดที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย
ดังนั้น แทนที่จะพยายามกำจัดยุงด้วยวิธีอย่างการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงในวงกว้าง ซึ่งเป็นการฆ่ายุงไปพร้อม ๆ กับแมลงดี ๆ อื่น เพราะหากเราเข้าใจความสำคัญของยุงต่อระบบนิเวศแล้วหากการเลือกควบคุมแหล่งกำเนิดของยุงน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า...
อ้างอิง
●
Cypress Hansen. 2021. The Secret Lives of Mosquitoes, the World’s Most Hated Insects From
https://www.smithsonianmag.com/blogs/national-museum-of-natural-history/2021/08/19/secret-life-worlds-most-hated-insect/
สืบค้นเมื่อ 14 พ.ค. 2565
●
https://blog.nwf.org/2020/09/what-purpose-do-mosquitoes-serve/
●
https://www.gavi.org/vaccineswork/how-bad-will-climate-change-be-our-health?gclid=Cj0KCQjw4PKTBhD8ARIsAHChzRKL6M1EfnupVqVsbNlRe35DQ3siZHCgi5GBNAeQj489ONnnbdzjJCQaAvR1EALw_wcB
●
https://insh.world/science/what-if-we-killed-all-mosquitoes/
●
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87
●
https://thewire.in/environment/the-ecological-importance-of-mosquitoes
●
https://unfoundation.org/blog/post/seven-ways-climate-change-harms-our-health/?gclid=Cj0KCQjw4PKTBhD8ARIsAHChzRJg8TKUnSHq7ckTIidhooqvb9TC3VB6HifOIvJAyDOk9T31WDQHcz8aArncEALw_wcB
●
https://www.brandeis.edu/now/2020/february/mosquitoes-heat-garrity.html
●
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6597837
วิทยาศาสตร์
สิ่งแวดล้อม
การศึกษา
บันทึก
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เบาสมองส่องสัตว์
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย