14 พ.ค. 2022 เวลา 23:24 • สุขภาพ
การทำแมมโมแกรม
แมมโมแกรม เป็นการส่งตรวจที่มีมากว่า 50 ปี
โดยในช่วงปี คศ.1965 ได้มีงานวิจัย ที่สหรัฐอเมริกา
และคศ. 1985 ที่สวีเดน ยืนยันว่าการทำแมมโมแกรม
มีประโยชน์ในการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม
และช่วยลดอัตราตายได้ถึง 40 %
และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ทำให้การทำแมมโมแกรมสามารถตรวจพบมะเร็งได้ถึง 98 %
การทำแมมโมแกรม คือการยิงรังสีเอกซ์
ผ่านเนื้อเยื่อเต้านม ที่ถูกบีบให้แบนราบ
โดยเมื่อรังสีเอกซ์ผ่านเนื้อเยื่อเต้านมจะเกิดการสะท้อนกลับ
ของรังสีในปริมาณที่แตกต่างกัน
ซึ่งจะทำให้เห็นโครงสร้างภายในเต้านม
เห็นก้อนเนื้อ หรือการก่อตัวของแคลเซี่ยม
ที่เป็นลักษณะบ่งชี้การเกิดมะเร็งได้ชัดเจน
ในสตรีที่มีอายุน้อย ความหนาแน่นต่อมน้ำนมจะมาก
ทำให้เกิดเป็นข้อจำกัดในการทำแมมโมแกรม
แต่มนทางกลับกัน ในสตรีที่สูงอายุ
ความหนาแน่นของเนื้อเยื่อเต้านมจะน้อย
ทำให้เห็นก้อนเนื้อหรือแคลเซี่ยมได้ชัดเจน
จึงทำให้สามารถวินิจฉัยได้ง่าย
จึงเป็นสาเหตุให้การทำแมมโมแกรมควรทำใน
สตรีที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จึงจะได้ประโยชน์
และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน
ทำให้เครื่องคมอพิวเตอร์สามารถสร้าง
รูปจำลอง 3 มิติของเต้านมออกมาได้
(Digital breast tomosynthesis)
ทำให้มีความแม่นยำมากขึ้นในการวินิจฉัย
โรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น
นอกจากการใช้รังสีเอกซ์ธรรมดาในการทำแมมโมแกรมแล้ว
ยังมีการใช้เทคนิกการฉีดสีเข้าไปในร่างกายขณะที่ทำแมมโมแกรม
( Contrast Enhanced Mammography - CESM )
ซึ่งทำให้เห็นก้อนมะเร็งก้อนเล็กๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เพิ่มความไวของการตรวจพบมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นได้ถึง 98 %
ทำให้สามารถรักษาได้ทันก่อนจะเกิดการแพร่กระจาย
ดงันั้น เมื่อคุณอายุถึง 40ปี
คุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยแมมโฒแกรมทุกปีปีละ1ครั้ง
เพื่อลดโอกาสการเจอมะเร็งเต้านมในระยะลุกลาม
และเพิ่มโอกาสการรักษาในระยะเริ่มต้น
ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสียชีวิตของคุณเอง
ด้วยรักและห่วงใย
#หมอโภคิน
ติดตามความรู้สุขภาพเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา