14 พ.ค. 2022 เวลา 18:39 • ประวัติศาสตร์
เหตุที่ไม่มียิวในปาเลสไตน์
ตอนเกิดศาสนาอิสลาม
ในยุคที่ศาสดามูฮัมหมัด(ขอพระเจ้าทรงประทานพร)
เกิดในเมืองมักกะฮ์ ในอาราเบียนั้น โรมันครอบครอง
ดินแดนที่อาหรับเรียกว่าชามทั้งหมด ซึ่งมีซีเรีย
จอร์แดน เลบานอน และปาเลสไตน์ อยู่ในปลาย
ศตวรรษที่ 5-6
แต่โรมันนั้นครอบครอง อาณาจักรยิวต่อจากกรีก
ที่เคยยึด ทั้งยูดาห์และอิสราเอลไว้ แต่ยิวก็แข็งเมือง
กับโรมันหลายครั้ง จนโรมันปราบปรามเด็ดขาดเปลี่ยน
ชื่อจากอาณาจักรยูดาห์และอิสราเอล กลับมาใช้ปาเลสไตน์
ตามชื่อเผ่าพื้นเมืองเดิม ที่อยู่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ก่อน
ที่อับราฮัม ซึ่งเป็นรากต้นสายของศาสนายิวคริสต์อิสลาม
จะเข้ามาขออาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เพื่อจบสิ้นอาณาจักรยิว
ให้เหลือแต่ตำนานในคัมภีร์
จนถึงยุคพระเยซู โรมันก็ยังปกครองปาเลสไตน์เรื่อยมา
จน ศตวรรษที่ 1 กษัตริย์ฮาดริอานุส แห่งโรมัน ยิวได้ทำ
การแข็งเมืองกบถต่อโรมันอีก นับเป็นครั้งสุดท้าย
โรมันได้ทำสงครามแบบสงครามเบ็ดเสร็จ ฆ่าสิ่งมีชีวิต
ทั้งหมดทั้งคนทั้งสัตว์ สิ่งก่อสร้างโรมันก็รื้อเผาหมดสิ้น
และเนรเทศยิวออกจากแผ่นดิน ปาเลสไตน์และเยรูซาเล็ม
ทั้งหมด และออกกฎห้ามยิวเข้าแผ่นดินนี้ตั้งแต่นั้นมา
เหลือแต่คนพื้นเมืองเดิมอยู่กับโรมัน โดยปราศจากยิว
ผ่านมาแม้โรมันยุคหลังจะเปลี่ยนมานับถือคริสต์
แต่กฎห้ามยิวเข้าแผ่นดินปาเลสไตน์ก็ยังยึดกันเรื่อยมา
ยิวก็ไปอาศัยตามแหล่งที่โรมันไปยึดครอง เสมือนโรมัน
เหมือนน้ำยิวเหมือนปลาไปสู่ยุโรปที่ที่อื่นๆใกล้เคียง
ทั้งในอีหร่านอีรัค เยเมน อัฟริกา อินเดีย
ส่วนยิวแถวยูเครนไซบีเรีย นั้นเป็นเติร์กลูกผสมที่หันมานับถือศาสนายิวมาอาจจะยุคพุทธกาลหรือก่อนหน้านั้น
ที่เรียกว่า ยิวคาซาเรียน
ไม่ใช่ยิวโดยสายเลือด 12 เผ่าตามคัมภีร์
(ยิวในเยเมนในปี 1946 ที่เราจะเห็นวัฒนะธรรม การแต่งกาย
การเป็นอยู่ไม่ต่างจากอาหรับ แม้แต่การใช้ผ้าโพกศรีษะก็เป็นแบบ
เยเมน (บินลาเด็นก็โพกผ้าแบบนี้เอกลักษณ์แบบเยเมน))
ส่วนเรื่องที่ว่า ศาสดาของอิสลาม รบกับยิวนั้น ก็เป็นเพียง
ยิวเผ่าเล็กๆ 3 เผ่าที่อพยพเข้ามาอาศัยในอาราเบีย ในเมืองยัซริบ
ตั้งแต่ยุคแรกๆที่เมืองแตกเข้าออกเมืองนี้เรื่อยมา
ก่อนที่ ท่านศาสดาจะอพยพมาและได้
ถูกสถาปณาให้ขึ้นปกครองเมืองนี้
และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองมะดีนะฮ์ ที่มีอาหรับสองเผ่าใหญ่
คือเอาซ์และคอซรอจ รวมถึงเผ่าอื่นๆด้วย
ที่มีพันธสัญญาในการร่วมปกป้องเมืองร่วมกัน
แต่มียิวบางเผ่าหักหลังเป็นใส้ศึก ไปเข้ากับอาหรับฝ่าย
มักกะฮ์ที่ยกทัพมา และข้อขัดแย้งอื่นๆในเชิงการเมืองการปกครอง
เรื่องทั้งหมด เกิดในมะดีนะฮ์ในอาราเบีย ไม่เกี่ยวกับ
แผ่นดินปาเลสไตน์ ที่โรมันครอบครองอยู่ในเวลานั้น
ภาพมัสยิดที่ศาสดาในเมืองมะดีนะฮ์ หรือยัซริบในอดีต
ยิวในยุคอิสลามนั้นไม่มีอำนาจใดๆมาหลายร้อยปีแล้ว
นอกจากผู้ที่อพยพเร่ร่อนมาขออยู่ในที่ต่างๆ
อยู่สืบกันมาหลายร้อยปี
และพวกเขาก็ไม่เคยรวมตัวกันกลับไป ยึดแผ่นดิน
ปาเลสไตน์จากโรมันอีกเลยตลอดเวลาที่ถูกเนรเทศ
มาราว500 ปีจนถึงยุคอิสลาม
มักกะฮ์ บ้านเกิดของท่านศาสดาในปัจจุบัน
จนหมดยุคท่านศาสดา จนถึงผู้ปกครองคนที่สอง
ของอิสลาม คือท่านอุมัร ได้ทำสงครามขับไล่โรมัน
ออกไปจากดินแดนชาม ท่านจึงได้สร้างมัสยิดบนเขา
ที่ไม่มีสิ่งใดบนนั้น
มัสยิด อุมัร บนเขา และเชื่อกันว่ามี โขดหินแห่งหนึ่งของ
บนเขานี้ ว่าเป็นที่ๆท่าน ศาสดาได้เสด็จขึ้นสวรรค์
โดยมีพาหนะ แบบหนึ่งมารับขึ้นไป ต่อมาได้สร้างโดมออฟเดอะ
ร็อคสีทองครอบโขดหินตรงนี้ไว้
เมื่อท่านอุมัรได้ปกครอง อาณาจักรอิสลาม ที่ครอบครอง
ทั้งอียิปต์ เปอร์เชียร์ และปาเลสไตน์ จึงได้ยกเลิกกฎของโรมัน
ที่ห้ามยิวเข้าแผ่นดินปาเลสไตน์ เปิดให้เข้ามาแสวงบุญ
ค้าขายอยู่อาศัยได้อีกครั้งหนึ่ง
แต่ยิวก็ไม่ได้กลับมาปักหลักที่นี่อีกเพราะพวกเขาพึงพอใจ
ที่จะปักหลักในดินแดนอื่นๆ ในยุโป อัฟริกาอินเดีย ไม่เคย
รวมตัวกันมายึดหรือทำสงครามเลย ตั้งแต่ศตรวรรษที่6
ที่อิสลามปกครอง หรือแม้แต่จะกลับมาอยู่กันเยอะๆก็ไม่แม้
อิสลามจะเปิดให้มาอยู่ได้ ภายใต้การปกครองของอิสลาม
จนในเวลาต่อมา ยุโรปเริ่มขับไล่ยิว ต่อเนื่องกันในหลายประเทศ
ตั้งแต่สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศษ ฯลฯ เรียกว่าอยู่ที่ไหนได้ไม่นาน
ก็โดนไล่ต่อเนื่องกันหลายร้อยปีเข้า จนถึงขั้นต้องเข้าไปอยู่
ในเขตกักกันยิว ที่เรียกว่า เก็ตโต้ ที่ถูกสร้างขึ้นในประเทศยุโรป
รวมทั้งในเยอรมัน ที่อูเดงการ์ด ที่เป็นต้นกำเนิดของตระกูลรอชไชล์
ในศตวรรษที่17
ถึงตรงนี้ยิวเริ่มคิดว่า การไม่มีประเทศนั้นมันช่างอยู่ยาก
จึงวางแผนหลายอย่างที่ถูกเรียกว่าทฤษฎีสมคิด
ในเวลานั้นแต่ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือ องค์กรไซออนิสต์
ที่ตั้งขึ้นและออกหน้า
โดย ธีโอดอ เฮอร์เซล นั้นแหละที่ประกาศชัดว่าจะยึด
ปาเลสไตน์มาตั้งประเทศอิสราเอลให้กับยิว
จากนั่นโลกก็เข้าสู่สงครามโลกสองครั้ง ก็เกิดประเทศ
อิสราเอลขึ้น ตามมาด้วยข้อขัดแย้งมากมาย จนกลายเป็นคำ
อมตะว่า อิสลามกับยิว รบกันมาตั้งแต่เกิดศาสนาเพื่อ
ยึดปาเลสไตน์ ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้เพิ่งเกิดมาในศตวรรษที่19 นี่เอง
โฆษณา