21 พ.ค. 2022 เวลา 08:13 • สิ่งแวดล้อม
นกโจรสลัด
จอมอันธพาลแห่งท้องทะเล
นกโจรสลัดเล็ก เพศผู้ เต็มวัย Lesser frigatebird เกาะบิดะนอก ทะเลอันดามัน
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสไปสำรวจนกที่ทะเลอันดามันใต้ และผมก็ได้ล่องเรือไปยังบริเวณเกาะบิดะ ที่ๆซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่นกโจรสลัดมาเกาะนอนในช่วงเย็น ซึ่งเราก็ได้พบมันจริงๆ แถมยังมีจำนวลมหาศาลอีกด้วย
นกโจรสลัด หรือ Frigatebird เป็นนกที่อาศัยอยู่กลางทะเล
ในช่วงกลางวัน พวกมันจะบินเร่ร่อนไปทั่วมหาสมุทร คอยจับปลากินเป็นอาหาร และกลับมานอนบนเกาะในช่วงพลบค่ำ
ชื่อภาษาอังกฤษของมัน Frigatebird หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Man o’-war bird บ่งบอกว่ามันเป็นนกที่เปรียบเสมือนเรือรบ ที่รวดเร็วและอันตรายถึงตายได้
ถ้าใครได้อ่านบทความก่อนหน้า ที่ผมเขียนเกี่ยวกับทริปอ่าวไทยที่ผมไปมาแล้วเจอนกสกัว ทั้งนกโจรสลัดและนกสกัว (Jaeger) ต่างก็เปรียบเสมือนกับโจรสลัดแห่งท้องทะเล
นกสกัวขั้วโลกเหนือ Arctic Jaeger อ่าวไทย
สิ่งที่เหมือนกันของนกโจรสลัดกับนกสกัวก็คือ พวกมันมีพฤติกรรมการแย่งอาหารจากนกตัวอื่น ทั้งต่างชนิด และชนิดเดียวกันเอง (Kleptoparasitism)
นกสกัวขั้วโลกเหนือ ที่พยายามแย่งปลาจากนกนางนวลแกลบธรรมดา
แต่จริงๆแล้วทั้งนกโจรสลัดและนกสกัว ก็สามารถหาอาหารเองได้นะะ (นกโจรสลัดเล็ก)
กลับมาที่นกโจรสลัด
นกโจรสลัดเป็นนกที่อยู่ในอันดับ(Order Suliformes) เดียวกับพวกนกแกนเน็ตและบู้บี้ นกกานำ้ และนกอ้ายงั่ว
นกโจรสลัดบนโลกนี้มีทั้งหมด5ชนิด ซึ่งในประเทศไทยเราสามารถพบได้มากถึง3ชนิด
นกโจรสลัดเล็ก
Lesser Frigatebird
𝐹𝑟𝑒𝑔𝑎𝑡𝑎 𝑎𝑟𝑖𝑒𝑙
นกโจรสลัดเล็ก วัยเด็ก
เป็นนกโจรสลัดที่เล็กที่สุดในโลก และพบได้มากที่สุดในไทย
ความยาวลำตัว 66-81cm
ฝูงนกโจรสลัดเล็กที่มารวมตัวกันเพื่อมานอนบนเกาะ จากการประมาณจำนวนประชากรพบว่าอาจจะมีมากถึง400ตัวววว
พวกนกโจรสลัดที่เป็นวัยเด็กนั้น หน้าจะยังไม่เป็นสีดำ และลายบนตัวจะยังเลอะๆอยู่ ส่วนพวกนกเต็มวัย ตัวผู้จะมีสีดำเกือบทั้งตัว และมีถุงคอสีแดง ส่วนตัวเมียจะมีหน้าสีดำและคอจะเว้นสีขาว ทำให้เหมือนใส่หน้ากาก
นกโจรสลัดตัวผู้จะมีถุงคอสีแดงสด ไว้ใช้สำหรับการเกี้ยวพาราสีตัวเมีย โดยเมื่อเข้าฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะพองคอออกมาเพื่อดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย (Inflating display)
Magnificent frigatebird (ชนิดนี้ไม่มีในไทยครับ) ตัวผู้ กำลังพองคอเพื่อดึงดูดตัวเมีย ภาพจาก Latinroots
โดยสำหรับนกโจรสลัดเล็กนั้น ตัวผู้จะมีสีดำเกือบทั้งตัว ยกเว้นบริเวณรักแร้ที่มีสีขาวเป็นปื้น ปื้นเดียว
ส่วนตัวเมียจะมีอกและท้องสีขาวไปจนถึงช่วงกลางลำตัว
นกโจรสลัดเล็ก เพศผู้และเพศเมีย ตัวผู้จะสังเกตได้ว่ามีถุงคอเล็กๆสีแดงอยู่ด้วย
นกโจรสลัดเล็กนั้น ยังคงมีสถานภาพการอนุรักษ์ LC (Least concerned หรือ เป็นกังวลน้อย) แต่นกโจรสลัดชนิดถัดไปที่ผมกำลังจะพูดถึงนั้น มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ที่สุดในบรรดานกโจรสลัดทุกชนิดบนโลก
นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส
Christmas island Frigatebird
𝐹𝑟𝑒𝑔𝑎𝑡𝑎 𝑎𝑛𝑑𝑟𝑒𝑤𝑠𝑖
นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส เพศผู้
มันเป็นนกโจรสลัดที่มีขนาดใหญ่กว่านกโจรสลัดเล็กพอสมควร (89-100cm)
ถ้ามันบินเทียบกันจะเห็นความต่างได้ชัดเจน
เปรียบเทียบขนาดของนกโจรสลัดเกาะคริสต์มาสและนกโจรสลัดเล็ก รูปสุดท้ายจะมีตัวที่ใหญ่ขึ้นมาชัดเจน เพราะถึงแม้มันจะบินปะปนมากับนกโจรสลัดเล็ก แต่ positionของมันจะชอบบินห่างออกมาจากฝูงเป็นระยะๆ
นอกจากขนาดแล้ว นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส ยังมีท้องสีขาว ที่ยาวลงไปจนถึงส่วนท้าย ต่างจากนกโจรสลัดเล็กที่ถึงแค่ช่วงกลางๆลำตัว
เพศผู้เต็มวัยจะมีส่วนท้องสีขาว
ส่วนตัวเมียจะเป็นสีขาวตลอดลำตัว
นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส เพศผู้และเพศเมีย
นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาสอยู่ในสถานภาพ CR (Critically Endangered หรือ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่พวกมันมีแหล่งทำรังเพียงที่เดียวบนโลกก็คือเกาะคริสต์มาสเท่านั้น และตอนนี้เกาะคริสต์มาสกำลังถูกคุกคามจากการทำเหมืองบนเกาะ และยังมีสัตว์ต่างถิ่นรุกรานอย่าง Yellow crazy ant (𝐴𝑛𝑜𝑝𝑙𝑜𝑙𝑒𝑝𝑖𝑠 𝑔𝑟𝑎𝑐𝑖𝑙𝑖𝑝𝑒𝑠) ที่สามารถทำร้ายพวกมันในช่วงทำรังได้
ซึ่งในตอนนี้ประชากรของพวกมันเหลือประมาณ ไม่ถึง5000ตัว และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ยังเป็นหนึ่งในที่ๆพวกมันมาเยี่ยมเยียน และยังคงมีรายงานการพบเห็นทุกปี
ซึ่งตอนที่พวกผมไป มันก็บินมาปนๆกับนกโจรสลัดเล็กเนี่ยแหละครับ โดยจำนวนตัวตลอด2วันมีทั้งหมด10ตัวด้วยกัน
ซึ่งนอกจากนกโจรสลัด2ชนิดนี้แล้ว ยังมีนกโจรสลัดอีก1ชนิด ที่ถึงแม้จะไม่ได้ใกล้สูญพันธุ์เหมือนนกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส แต่กลับหายากในไทยมากกว่า
นั่นคือนกโจรสลัดใหญ่
𝐹𝑟𝑒𝑔𝑎𝑡𝑎 𝑚𝑖𝑛𝑜𝑟
แปลกดี ชื่อโจรสลัดใหญ่ แต่ในชื่อวิทยาศาสตร์
ดันใช้คำว่า minor ที่แปลว่าเล็ก😂
นกโจรสลัดใหญ่ วัยเด็ก
ถามว่าหายากขนาดใหนหรอ
ในช่วงเวลา3วัน พวกผมเจอนกโจรสลัดเล็กประมาณ400ตัว นกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส10ตัว และนกโจรสลัดใหญ่ “1” ตัว เท่านั้น
มันไม่ได้จำนวนน้อยเพราะใกล้สูญพันธุ์ แต่อาจจะน้อยเพราะเพียงแค่ประเทศไทยอาจจะไม่ใช่เส้นทางที่มันจะผ่านมาบ่อยๆแค่นั้นเอง
ซึ่งโดยปกติแล้วที่น่างประเทศมักจะไม่ค่อยมีปัญหาด้านการจำแนกชนิดของนกโจรสลัด เพราะนกโจรสลัดแต่ละชนิดในประเทศนั้นๆมีข้อแตกต่างที่ชัดเจน
แต่ประเทศไทย…..ดันมีทั้งนกโจรสลัดใหญ่ และนกโจรสลัดเกาะคริสต์มาส ซึ่ง2ชนิดนี้แยกจากกันได้ยากมากกกกก เพราะนอกจากขนาดที่ใกล้เคียงกันมากแล้ว ลายบนตัวยังต่างกันน้อยมากอีก
ตามข้อมูลจากงานวิจัยจะบอกว่า นกโจรสลัดใหญ่จะไม่มีปื้นสีขาวที่รักแร้เลย และบริเวณท้องสีขาวจะมีมุมเหลี่ยมมากกว่า
ซึ่งหลังจากวิเคราะห์กับผู้เชี่ยวชาญบนเรือและคนอื่นอีกหลายคนก็มีความเห็นว่าตัวนี้มีความเป็นโจรสลัดใหญ่มากที่สุด
นกโจรสลัดใหญ่ วัยเด็ก
โดยส่วนตัวมันเป็นนกที่ผมชอบมันมากๆ ด้วยความ unique ความเท่ และมันยังเป็นนกที่ผมเคยเห็นในสารคดีบ่อยๆ แล้วพอได้มาเห็นตัวจริงมันเป็นความรู้สึกที่ดีมากๆครับ
เราได้รู้ว่าพวกมันไม่ได้มีตัวตนอยู่แค่ในสารคดีที่ถ่ายมาจากต่างประเทศ พวกมันมีตัวตนอยู่จริงๆ แถมยังมีในประเทศไทยตั้ง3จาก5ชนิดบนโลกอีกด้วย
นกโจรสลัดเล็ก เพศผู้
โฆษณา