15 พ.ค. 2022 เวลา 08:26 • คริปโทเคอร์เรนซี
เหตุผลห้าข้อที่ผมคิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับ Terra จะไม่กระทบกับตลาดทุนอื่นอย่างมีนัยยะสำคัญ
1) Market cap ของ Terra แม้จะเคยเป็นอันดับต้นๆ แต่ยังเล็กเมื่อเทียบกับ BTC โดยก่อนที่จะเกิด Terra Crisis นั้น Luna มี market cap ประมาณ $30bn ส่วน UST มี market cap $18bn
Luna market cap
UST market cap
เทียบกับ BTC ที่มี Market cap ที่มี Market cap เกือบ $600bn (เคยสูงสุดเกือบ $1trn) หรือถ้ารวม ETH ที่ตอนนี้มี Market cap $250bn แล้ว Terra ถือว่าไม่ได้ใหญ่มากนัก แม้จะเป็นอันดับต้นๆ แต่ BTC กับ ETH account ประมาณ 3 ใน 4 ของตลาดรวม
1
BTC market cap
เทียบง่ายๆคือ Luna ก่อนเกิด Crisis นั้น มีขนาดพอๆกับบริษัท ปตท. ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์บ้านเราเท่านัันเอง ซึ่งเป็นส่วนเล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดโลก
ยิ่งถ้าเทียบจากตลาด Crypto ทั้งหมดวันนี้ ก็ยังมีขนาดเล็กกว่า บริษัท Microsoft บริษัทเดียว ที่มี Market cap $2trn เทียบไม่ได้เลยกับขนาดตลาด S&P ซึ่งมี market cap $40trn
เทียบในอีกมุม คือ Market cap ของ Terra ที่หายไปทั้งหมดนี้ ยังเล็กกว่า Market cap ของบริษัท Netflix ที่หายไปภายในวันเดียวหลังการประกาศผลประกอบการ หลังตัวเลข subscriber หดตัวลงเป็นครั้งแรก
เพราะฉะนั้น ถึง Terra จะมี VC ใหญ่ๆมาลงทุนมากมาย ผมคิดว่าก็ไม่ได้มีผลสั่นสะเทือนอะไรขนาดนั้นครับ อาจจะเป็นการ Cut loss ไปอีกหนึ่ง Project แล้วก็หา Project ใหม่ลงทุนต่อไป
2) ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระบบของ Terra เป็นหลัก
จากข้อมูล Total Value Locked (TVL) ที่รวบรวมโดย website defillama จะเห็นว่า ส่วนหลักของ Terra คือ Anchor ซึ่งก็คือ protocol ที่ให้ผลตอบแทน 20% ต่อปี ถามว่าทำได้ยังไง จริงๆมันมีกลวิธีทาง Financial engineer ที่ทำให้ตัวเลขที่จ่ายจริงน้อยกว่าที่เห็น (คล้ายๆกับการหาประโยชน์ของพวก CEX ไม่ต่างกันมาก) แต่เอาเป็นว่า ก็สูงอยู่ดีครับ
Terra TVL by protocol
ซึ่งด้วยความที Terra เป็น Blockchain อีกอันต่างหาก และยังมี Stable coin ของตัวเองคือ UST ทำให้การเข้าถึง Terra ไม่ได้ยากลำบาก แปลว่าสามารถซื้อ UST ได้เลย ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับ Blockchain อื่นเท่าไหร่ ทำให้เป็นการจำกัดความเสียหายได้พอสมควร
ถ้ามาดูที่ Collateral ที่ Anchor เราก็จะเห็นว่าก่อนจะเกิด Crisis นั้น Collateral ส่วนใหญ่เลยก็คือ Luna เป็นอีกเรื่องที่ยืนยันว่า ความเสียหายส่วนใหญ่ ถ้าจะเกิด น่าจะไม่ลุกลามออกไปมากนัก ตารางเป็นข้อมูลที่ผมได้จาก Anchor Protocol Dashboard วันที่ 14 พฤษภาคมนะครับ เนื่องจากไม่มีข้อมูลก่อนหน้า แล้วใช้ราคา LUNA ก่อนจะ crash นอกนั้นใช้ราคาตอนที่เก็บมาคร่าวๆครับ
1
จำลอง Collateral ก่อนเกิด Crisis ด้วยราคา Luna สมมติที่ $100
จะเห็นว่า แม้จะมี asset อื่น ก็มีจำนวนไม่มาก เช่น มี ETH แค่ $130m เท่านั้น เกือบทั้งหมดคือ LUNA
3) แม้จะไม่ทราบกว่า Leverage ใน Luna เป็นเท่าไหร่ ถึงแม้จะมีบางส่วนอาจจะมาจากการกู้ใน Crypto chain อื่นๆ แต่ถ้าไปดูว่าโลกของ DeFi ตัวที่เป็น Lending protocol นั้น จริงๆแล้วมีไม่มาก ตัวใหญ่สุดคือ AAVE ตามมาด้วย Compound, MakerDao ซึ่งสามสี่ตัวนี้ น่าจะกินเกือบทั้งตลาด Lending ในโลกของ DeFi ซึ่งมีสอง character สำคัญๆ คือ
1
3.1) เกินครึ่งเป็น Ethereum chain ซึ่งค่า gas แพง ไม่ค่อยเป้นที่นิยมของรายย่อย รองมาเป็น Polygon และ Avalanche ตามลำดับ
3.2) Protocol กลุ่มนี้ มี Collateral ratio ที่ค่อนข้างสูง ยกตัวอย่าง AAVE หรือ Compound สามารถกู้เงินได้ 80% ของสินทรัพย์ที่เอามาค้ำประกัน ถ้าวนลูปไปเรื่อยๆถึงอนันต์ เต็มที่คือ 5x ส่วน Maker นั้นยิ่งกว่า คือกู้ได้แค่ 50% ยกเว้น protocol เล็กๆ ที่พยายามจะแข่งขับกลุ่มนี้ อาจจะ offer ให้สูงกว่า แต่เทียบขนาดแล้วน่าจะยังไม่มีนัยยะสำคัญ
1
จะเห็นว่ารวมหลายๆตัวแล้ว ต่อให้ Leverage กันเต็มที่ ความเสียหายยังอยู่ในระดับ multibillion เท่านั้น
4) ข้อจำกัดโดยหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ยังไม่ให้การยอมรับ Crypto currency ทำให้หากมีการกู้มาลงทุนในโลกของ Crypto ผมเชื่อว่าจะมีข้อจำกัดที่ทำให้สถาบันการเงินเหล่านั้น จะพยายามจำกัดความเสี่ยง ไม่ปล่อยกู้จนเกินสินทรัพย์ที่มี ทำให้เชื่อว่า เงินส่วนใหญ่ที่อยู่ในคริปโตตอนนี้ น่าจะมีเพียงส่วนน้อยที่กู้มาลงทุน
5) สำคัญที่สุดอย่างนึงคือ กระบวนการในโลก Crypto เกิดขึ้นบน Smart Contract แปลว่า ไม่มีการ delay ของกระบวนการที่อาจจะเกิดขึ้นในโลกของการเงินปัจจุบัน เวลาถูก liquidate จะเกิดขึ้นทันที คือพอร์ตแตกทันที ไม่มีเวลาให้คุณเตรียมเติมเงินถ้าถึง trigger
ซึ่งน่าจะทำให้เราสามารถรับรู้ถึงความเสียหายได้ภายในไม่นาน ต่างกับโลกการเงินที่เราอยู่ ซึ่งอาจจะมี delay ของกระบวนการ ทั้งเอกสาร กระบวนการเจรจา กระบวนการยึดทรัพย์ ซึ่งใช้เวลา ทำให้เราประเมินได้ยากว่า ความเสียหายจบแล้วหรือยัง จะมีอะไรก้อนใหญ่ๆโผล่มาทีหลังหรือไม่ ในขณะที่ Smart Contract ทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้นแทบจะทันที ถ้าเกิดความเสียหาย ผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง เราจะต้องรู้สึกได้
จนถึงตอนนี้ ถ้าเรายังไม่เห็นความเสียหายที่กระทบไปถึงโลกการเงินปัจจุบัน ผมก็พอจะสรุปได้อย่างมั่นใจว่า ผลกระทบครั้งนี้ ไม่น่าจะกระทบไปถึงระบบการเงินที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
แต่ก็เป็นอุทธาหรณ์ว่า การลงทุนในโลกของคริปโตนั้น มีความเสี่ยงสูงกว่าที่หลายคนคิด และการยอมรับการเกิดของ Crypto โดย Regulator ในหลายๆประเทศ ก็น่าจะถูกเลื่อนออกไปอีกพักใหญ่ๆ ยกเว้น Blockchain ที่พิสูจน์แล้วว่า มีความเสถียรมากจริงๆ ไม่ถูกกระทบจากการโจมตีทำให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยยะสำคัญ
1
โฆษณา