15 พ.ค. 2022 เวลา 15:59 • ประวัติศาสตร์
Series: จักรวรรดิโรมัน
EP1: Vigiles ยามตรวจการณ์ รากฐานของนักผจญเพลิงในปัจจุบัน
เครดิตภาพปก: https://www.romanoimpero.com/2011/03/vigiles-romani.html
ค.ศ. 64 ในคืนฤดูร้อน เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งยิ่งใหญ่ที่ใช้เวลา 6 วัน จึงจะควบคุมได้ ทำให้ 25% ของกรุงโรมสมัยนั้นวอดวายไม่เหลือซาก โดยเชื่อว่าต้นเพลิงเกิดจากไฟที่ถูกจุดขึ้นบนถนนเส้นคดเคี้ยวใกล้กับสนามแข่งรถม้าเซอร์คัสแมกซิมัส
4
...
ทาซิตัส (ค.ศ. 56-120) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันในยุคนั้น ได้บันทึกไว้ว่า “ไม่มีบ้านเรือนที่มีกำแพงกั้น วิหารที่ล้อมรอบด้วยรั้วหิน หรือปราการใดๆ จะขัดขวางเพลิงไหม้ครั้งนี้ไม่ให้ทวีความรุนแรงได้”
1
หลายคนรวมถึงนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ไฟไหม้ใหญ่ครั้งนี้เป็นความคิดของจักรพรรดิเนโร ทรงตัดสินใจชำระล้างเมือง เพื่อจะทรงสร้างกรุงโรมขึ้นมาใหม่และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ ตามแผนการของพระองค์เอง แต่สุดท้ายก็ไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนถึงมูลเหตุหรือต้นเหตุของไฟไหม้ใหญ่ครั้งนี้
2
...
  • เกร็ดความรู้: เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดวลีขึ้นมาว่า “เนโรจอมเผาโรม” และเป็นที่มาของซอฟท์แวร์ที่ใช้เบิร์นแผ่นซีดี/ดีวีดี ที่ชื่อว่า “Nero” คนที่อ่านมาเจอคงร้องอ๋อกันเลยนะครับ
3
ภาพวาด The Great Fire of Rome เครดิตภาพ: https://www.archeoguidaroma.com/blog/great-fire-rome
...
ภาพเหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่ดังกล่าวเป็นสิ่งหนึ่งที่บอกว่าหากไม่มีเจ้าหน้าที่หรืออาชีพหนึ่งที่เรียกว่า Vigiles (วิกิเลส) ในโรมยุคนั้นแล้ว กรุงโรมคงมอดไหม้ทั้งหมดไม่เหลือซากให้เห็นในปัจจุบัน
3
  • Vigiles คือ หน่วยดับเพลิงเฉพาะกิจ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผจญเพลิง (นักดับเพลิง) หลายกองแบ่งความรับผิดชอบเป็นเขตๆดูแลภายในกรุงโรม หน้าที่หลักคือการป้องกันอัคคีภัยและเข้าดับเพลิงเมื่อเกิดเหตุ และยังมีหน้าที่อื่นคือ เป็นคนเดินตรวจตราบนท้องถนนในยามค่ำคืน และเป็นผู้รักษากฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเมืองจากการปล้นฆ่าและอันธพาลที่สร้างความเดือดร้อน
2
...
วิกิเลส ยังมีอำนาจสามารถบุกเข้าไปในอาคารใดๆ ที่ตามที่พวกเขาสงสัยว่าอาจเป็นต้นตอของไฟไหม้หรือเห็นว่าควบคุมไฟที่จุดไว้ไม่ได้แล้ว และยังมีอำนาจตามกฎหมายในการปรับเจ้าของร้านหรือเจ้าของบ้านที่เลินเล่อ ซึ่งอาจปล่อยให้เกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นได้ รวมถึงอาจมีบทลงโทษทางร่างกายได้อีกด้วย
1
  • ความเป็นมาของ Vigiles
ก่อนที่หน่วยวิกิเลสจะถูกตั้งขึ้นช่วงต้นคริสต์ศตวรรษแรก หรือในสมัยของจักรพรรดิเอากุสตุส (องค์แรกของจักรวรรดิโรมันหลังเปลี่ยนการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน) หน่วยดับเพลิงในกรุงโรมมีแค่ที่เดียวและเป็นของเอกชน เจ้าของคือเศรษฐีอสังหาริมทรัพย์รวยอันดับหนึ่งในโรมและยังเป็นนักการเมืองด้วย ที่ชื่อว่า Marcus Licinius Crassus (ลิซิเนียส ครัสซุส)
2
รูปปั้นใบหน้าของ Marcus Licinius Crassus ที่มา: Wikimedia Commons
เมื่อบ้านใดเกิดไฟไหม้ เศรษฐีผู้นี้ก็จะไปปรากฏตัวที่บ้านนั้นพร้อมกับนักดับเพลิง โดยจะดับไฟให้ทันทีก็ต่อเมื่อเจ้าของบ้านตกลงขายบ้านหลังนั้นให้เขาในราคาที่ตกลงกันได้ ยิ่งเจ้าของบ้านเดิมไม่ยอมขายให้ราคาที่ดีและต่อรองนานเท่าไหร่ เศรษฐีผู้นี้ย่อมถือไพ่เหนือกว่า เพราะไฟที่ยิ่งมอดไหม้ ยิ่งทำให้บ้านเสื่อมมูลค่าลงไปเท่านั้น การกระทำเช่นนี้เหมือนเป็นการทำธุรกิจที่ผูกขาดของเศรษฐีผู้นี้
2
...
  • ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งหน่วยวิกิเลสนี้ขึ้นมาเป็นของทางการ โดยจักรพรรดิเอากุสตุสเป็นผู้สั่งการริเริ่มในช่วง ค.ศ. 6 และปฏิบัติหน้าที่มาอย่างต่อเนื่องในยุคของจักรวรรดิโรมัน
รูปปั้นของจักรพรรดิเอากุสตุส จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ที่มา: Wikimedia Commons
  • โครงสร้างของ Vigiles
จักรพรรดิเอากุสตุสได้รวบรวมเสรีชนผู้ที่เป็นอิสระจากการเป็นทาสมาจำนวน 3500 คน เพื่อเริ่มต้นจัดตั้งหน่วยดับเพลิงหรือวิกิเลสขึ้น (ต่อมาจำนวนก็เพิ่มขึ้นเท่าตัว) โดยแบ่งกำลังพลออกเป็น 7 กอง กองละ 500 คนเท่าๆกัน ประจำตามค่ายรอบกรุงโรม มีลำดับชั้นการปกครองในแต่ละกองตามตำแหน่งยศ และมีการแบ่งเขตการป้องกันอัคคีภัยในกรุงโรมออกเป็น 14 เขต โดยกำลังพลแต่ะละกองจะดูแล 2 เขต
แผนที่กรุงโรมสมัยจักรพรรดิเอากุสตุส แบ่งเขตการดูแลเรื่องป้องกันอัคคีภัยออกเป็น 14 เขต เครดิต: ColdEel และ Joris1919
  • การแบ่งหน้าที่ในแต่ละกอง Vigiles มีหลายตำแหน่ง เช่น
  • ผู้เชี่ยวชาญ เช่น หมอที่ดูแลคนที่ถูกโจรปล้นจี้ทำร้าย หรือตัวเจ้าหน้าที่วิกิเลสเองที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้กับอันธพาล รวมทั้งรอยแผลจากไฟไหม้หรือกระโดดลงมาจากอาคารที่เกิดไฟไหม้
  • ผู้น้อย หรือ สมาชิกอายุน้อยจะถูกตั้งให้เป็น “คนถือผ้าห่ม” โดยคอยถือผ้าห่มชุบน้ำส้มสายชูสำหรับดับไฟกองเล็กๆ ก่อนลามไปที่อื่นๆ
  • คนถือฟูก เหมือนปัจจุบันเลย มีเจ้าหน้าที่ที่คอยรองฟูกลมใหญ่ๆที่พื้น เพื่อลดแรงกระแทกเวลากระโดดหรือตกลงมาจากที่สูง
2
  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน หรือ หน่วยวิกิเลส
ยามปกติที่ดูแลตรวจตรารอบๆ จะมีเพียงแค่กระบองยามเป็นอาวุธ ต่างจากเจ้าหน้าที่นครบาลที่จะมีดาบประจำตัวเพื่อใช้ในการสลายการจลาจล
เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้น วิกิเลสจะดูแลให้มีการอพยพออกจากอาคารใกล้เคียงก่อน และใช้วิธีการส่งต่อถังน้ำมาเป็นทอดๆ จากที่พักอาศัยใกล้เคียง โดยทุกบ้านจะต้องมีการกักเก็บน้ำไว้ในปริมาณหนึ่งเพื่อใช้สำรองในการนี้ หรือจากน้ำพุที่อยู่ใกล้ที่สุด
1
การลำเลียงน้ำมายังจุดเกิดไฟไหม้ของหน่วยวิกิเลส ที่มา: https://antoniolombardi00.altervista.org/i-vigiles-il-primo-corpo-antincendio.html
ถ้าจำเป็นต้องใช้กำลังเสริม เครื่องจักรดับไฟก็จะถูกนำออกมาใช้งาน เป็นเครื่องที่คิดค้นมาก่อนหน้านี้แล้วหลายศตวรรษก่อน คิดค้นโดยนักประดิษฐ์ชาวกรีก ใช้หลักการทำปั๊มแรงดันสูงเพื่อดันน้ำออกมาทางสายดับเพลิง
เครื่องปั๊มน้ำในสมัยโรมัน จัดแสดงที่มาดริด เครดิตภาพ: Sebastià Giralt ภายใต้ CC BY-NC-SA 2.0
ถ้าเครื่องปั๊มดับเพลิงเอาไม่อยู่ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรลักษณะคือเป็นปืนใหญ่จริงๆ ซึ่งใช้ในการรบทำสงคราม ที่มีพลังทำลายล้างสูง เพื่อนำมาเล็งเป้ายิงออกไปยังกำแพงหรืออาคารที่สร้างขึ้นแบบลวกๆ เป็นการรื้อถอนด่วนเพื่อทำแนวกันไฟนั่นเอง
1
เครื่องจักรลักษณะปืนใหญ่ เรียกว่า Ballistae เครดิตภาพ: Pearson Scott Foresman
เมื่ออาคารหรือกำแพงทลายลงมา เจ้าหน้าที่จะตรงเข้าไป ใช้ตะขอด้ามยาวเพื่อลากวัสดุที่ติดไฟได้ออกมา เพื่อไม่ให้ไฟลามอย่างต่อเนื่องขยายวงกว้าง
1
สรุป: Vigiles เป็นรากฐานหรือต้นแบบของอาชีพนักผจญเพลิงหรือนักดับเพลิงในปัจจุบัน
...
จบแล้ว ตอนที่ 1
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
มาทิสซาค, ฟิลิป., 24 hours in ancient Rome: a day in the life of the people who lived there. ไอริสา ชั้นสิริ, ผู้แปล. (กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป, 2563). หน้า 18-19, 21-22, 24
โฆษณา