16 พ.ค. 2022 เวลา 08:41 • คริปโทเคอร์เรนซี
สรุปการทำงานของ Anchor Protocol ที่เป็นทั้ง Value creator และ Value destroyer ของ Terra
สำหรับคนที่เคยลงทุนกับ Terra ผมเชื่อว่าไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก Anchor เพราะมันคือการฝากเงินที่ให้ผลตอบแทนสุงถึง 20% แต่แน่นอนว่าก็ต้องมีคำถามว่า 20% นี่มันเป็นไปได้จริงๆหรือแค่หลอกให้คนเอาเงินมาลงทุน
มุมมองส่วนตัว ผมคิดว่า มันก้ำกึ่งระหว่าง real return กับความเป็นแชร์ลูกโซ่ เพราะการสร้างผลตอบแทนระดับนี้ ในโลกของ DeFi มันก็มีความเป็นไปได้จริงอยู่ครับ เพียงแต่มันมีระดับของเงิน ที่จะยังทำให้การสร้างผลตอบแทนในระดับนี้ ยัง sustainable ถ้าเกินระดับนึงขึ้นไปแล้ว มันจะเริ่มเข้าสู่ความเป็นแชร์ลูกโซ่มากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะผลตอบแทนที่สร้างได้จริง มันเริ่มจะทำให้ไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนตามที่คนที่เข้ามาทีหลังคาดหวังได้ ทำให้ระบบ Anchor ถลำเข้าสู่ความเป็นแชร์ลูกโซ่ จนเกิด Hyper inflation ในระบบ โดยสังเกตุได้จากราคา Luna
และสัญญาณที่ว่า จริงๆมันเริ่มมีมาพักนึงแล้วตั้งแต่ตอนต้นปี มีคนในวงการที่ผมติดตามอยู่เริ่มออกมาเตือนว่า ความเสี่ยงได้เริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งพอผมกลับไปดู ก็เห็นแบบนั้นจริงๆ โดยเริ่มมีประเด็นถกเถียงกันว่า Anchor reserve เพียงพอหรือไม่ แต่ตอนนั้น เก้าอี้ดนตรีนี้ยังสามารถทำงานได้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะมีการเติมเงินเข้ามาเพื่อยื้อเวลา
แต่การเติมเงินเข้ามาแบบนี้ ทาง Terra ก็น่าจะเข้าใจดีว่า มันไม่ Sustainable แน่ ยิ่งปล่อยไป ความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เลยมีความพยายามในการปรับการทำงานเพื่อลดความร้อนแรงของเงินที่เข้ามา มีความพยายามปิดจุดอ่อนโดยการเพิ่ม Reserve เป็นสกุลอื่นๆ ณ จุดนี้ ทำให้ผมเริ่มคิดว่า Terra เริ่มกลับมาในรูปแบบที่ควรจะเป็นบ้างแล้ว แม้จะเพิ่งเริ่มต้น แต่ดูเหมือนตลาดจะไม่รอให้โอกาสนั้นเกิดขึ้นเสียแล้ว
มาทำความรู้จักกับ Anchor ในภาพใหญ่กันครับ Anchor เป็น Protocol ที่ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือธนาคารแบบ basic ที่สุดนั่นแหละครับ มีการฝากเงิน มีการเอาเงินฝากไปหาผลตอบแทนในรูปแบบของการให้กู้ แต่เพิ่มเติมนิดนึงคือ Anchor สามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมจากธุรกิจธนาคารปกติได้ โดยการหาผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน
ขออธิบายเพิ่มเติมตรงนี้นิดนึงครับ ปกติเวลาเรากู้เงิน ธนาคารอาจจะขอให้เราวางสินทรัพย์บางอย่าง เพื่อเป็นการค้ำประกันการกู้ครั้งนั้น ถ้าเป็นธุรกิจ อาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารยอมรับเป็นหลักประกัน พอวางสินทรัพย์ค้ำประกันแล้ว เราก็จะได้เงินกลับไปทำธุรกิจอะไรว่าไป โดยสินทรัพย์นั้นจะยังอยู่กับเรา เราสามารถหาประโยชน์ต่อไปได้ อธิบายตามภาพ
แต่ใน Anchor หรือโลกของ DeFi การทำงานจะต่างกันตรงที่ เวลาเราเอาสินทรัพย์ไปวางแล้วเราได้เงินมา นอกเหนือไปจากดอกเบี้ยที่จะได้รับจากการกู้ asset เวลาเรา stake ไปที่ protocol ตัวระบบนั้นๆ สามารถเอาสินทรัพย์ที่ใช้คำประกันไปหาผลตอบแทนได้ แต่ความเป็นเจ้าของเปลี่ยนไปหรือไม่แล้วแต่ Protocol design ซึ่งถ้าเป็นการ Stake โดยทั่วไปสุดท้ายก็จะกลับมาที่เราอยู่ดี ณ สิ้นสุดเวลาครับ
ตาม Diagram แปลว่า Protocol อาจยอมให้มีส่วนต่างของดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ได้มากกว่าเงินกู้ปกติทั่วไปที่เราคุ้นเคย เพราะธนาคารสามารถเอาสินทรัพย์ที่เราไปค้ำประกันไว้ ออกไปหาประโยชน์ได้ คล้ายๆการทำ Asset warehousing ที่แบงค์ชาติอนุญาติให้ธนาคารพาณิชย์ทำได้ช่วงที่เราเจอ Covid นั่นแหละครับ
โดยการหาประโยชน์ของ Anchor ส่วนนึงก็เอาไป Stake ต่อ ซึ่ง Protocol ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องที่สำคัญมากๆตัวนึงคือ Lido Finance นั่นเอง Lido Finance คือ ที่รวมเพื่ออำนวยความสะดวกของการ Stake เหรียญต่างๆ ซึ่งลูกค้าคนนึงก็คือ Anchor ของเรานี่เองครับ
ถ้าเทียบกับการบันทึกบัญชีของบริษัท ผมใช้ Diagram ด้านล่าง เผื่อจะทำให้นักลงทุนที่เข้าใจงบการเงินสามารถเข้าใจภาพการทำงานได้ง่ายขึ้นครับ
ในงบธนาคารพาณิชย์ เราจะเห็นเงินฝากด้านขวา และเงินปล่อยกู้ด้านซ้าย ส่วนที่อาจจะต่างออกไปคือ เวลาเราต้องการกู้เงิน เราต้องเอาสินทรัพย์มาค้ำประกัน เช่น Luna หรือ ETH ซึ่งใน Terra จะมีการแปลงเหรียญเป็น Token แล้วตั้งชื่อใหม่โดยเติม b หรือ bond เข้าไป ซึ่งเป็น obligation ของ protocol ที่จะต้องคืนตัวนี้กลับไปให้กับคนกู้เมื่อสิ้นสุดสัญญา ผมเลยใส่ชื่อบัญชีเป็น Staking obligation
ส่วนผลต้นทุนและผลตอบแทนที่ Anchor อาจจะมีการเอาทำหาผลประโยชน์เป็นตามภาพ ดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่เก็บข้อมูลคือ 19.33% ดอกเบี้ยเงินกู้ 12.5% และ Staking reward อยู่ช่วง 3%-9% แล้วแต่ว่าเป็นสินทรัพย์อะไร
ข้อมูลที่ผมมี ตอนต้นเดือนพฤษภาคม จะเห็นว่าส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ที่เอามาวาง คือ Luna ซึ่งให้ผลตอบแทนใน Lido Finance เกือบ 9% รองมาคือ ETH ที่มีผลตอบแทนประมาณ 4%
ถ้าย้อนกลับไปดูก่อนที่ Luna จะถูกโจมตี Anchor เองก็ค่อยๆมี asset ที่โตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้เกิด demand ของ UST และ demand ของ Luna เพิ่มขึ้น เกิดเป็น positive cycle จนทำให้ราคา Luna ขึ้นไปทำ All time high ที่ $120 สอดคล้องกับการเติบโตของ Anchor
แต่การเติบโตของเงินฝาก โดยไม่มีการเติบโตของเงินกู้ในสัดส่วนที่ไปด้วยกัน ก็ทำให้ Anchor เข้าขั้นวิกฤต เพราะเงินฝากสูงกว่าเงินกู้อยู่หลายเท่าตัว
ถ้าลองเอาตัวเลขมาคำนวณดู ก็จะเห็นเลยว่า Anchor ไม่มีทางจ่ายผลตอบแทนระดับนี้ได้แน่ โดยจะต้องมีเงินมาเติมอย่างน้อยเกือบ $2,000 ล้านเหรียญ ถ้าเงินฝากไม่เพ่มไปมากกว่านี้ ซึ่งในระบบที่เงินไหลอย่างเสรี เราทราบกันดีว่า เป็นไปไม่ได้ที่เงินจะหยุดไหลเข้ามา
ทำให้มีการปรับ mechanism ของการให้ดอกเบี้ย โดยจะเริ่มลดลงมาเรื่อยๆ ซึ่งผมลองคำนวณแบบบัญญัตไตรยางค์ แล้วได้ตามภาพ
ถ้าจะยังจ่ายดอกเบี้ย 20% แบบนี้ เงินฝากใน Anchor ไม่ควรเกิน $4 พันล้านเหรียญ แต่ถ้าจะยังอยากให้มีเงินฝากระดับ $14,000 ล้านเหรียญ ดอกเบี้ยจะต้องลดลงมาจนเหลือ 5% ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ทำให้ Anchor สามารถ balance ระหว่าง demand และ supply ได้อย่าง sustainable
แต่การจะลดดอกเบี้ยลงมา ย่อมมีผลต่อ demand ของ UST และ Luna ในที่สุด ทำให้ Terra ยังคงอยากให้จ่ายในระดับนี้ต่อไปแต่ค่อยๆลดลง ถ้ายังสามารถ maintain demand ของ UST ได้ซึ่งหมายถึงราคา Luna การลดลงของดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ก็น่าจะไม่กระทบกับระบบมาก
อีกทั้งผมเห็นข่าวเรื่อง Net worth ของ Do Kwon ว่ามีประมาณ $10,000 ล้านเหรียญก่อนวิกฤต ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ เพราะ Total supply ของ Luna ประมาณ 450 ล้านเหรียญ ที่ราคา Luna สมมติ $100 ถ้า Do Kwon ถือซัก 25% ก็ถึง $10,000 ได้ ซึ่งน่าจะพอกับการเติมเงินให้ Anchor ไปอีกปีสองปี
แต่ดูเหมือนคนที่จ้องโจมตี จะไม่ให้โอกาสนั้น เลยเลือกเวลาที่ Terra เพ่งปรับปรุงระบบ ยังไม่แข๊งแรงมากพอ อาศัยจังหวะนี้ที่ความเชื่อมั่นอ่อนแอ โจมตีก่อนที่ Terra จะแขีงแกร่งไปมากกว่านี้
ถามว่า Terra จะกลับมาได้หรือไม่ ผมคิดว่าต้องกลับไปที Productivity ของ Ecosystem ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ UST และ Luna ว่ายังเหลืออะไรบ้าง แล้วเริ่มจากจุดนั้น ยังไงยังขอเอาใจช่วยให้ Terra สามารถกลับมาเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้อีกครังเร็วๆนี้ครับ
โฆษณา