Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FutureTales LAB by MQDC
•
ติดตาม
17 พ.ค. 2022 เวลา 04:22 • ข่าว
สะท้อน 8 มิติสุขภาวะที่ดี เพื่อตอบโจทย์คนเมืองกับนโยบายผู้ว่าฯ กทม.
นับเป็นครั้งแรกในช่วง 9 ปี ที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คน กทม. จึงตื่นตัวและตั้งคำถามถึงนโยบายของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. แต่ละท่านเป็นพิเศษ ว่านโยบายเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนเมืองในด้านใดบ้าง แม้ว่าในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง แต่ภาพรวมของการพัฒนา กทม.
ดูเหมือนจะเจอความท้าทายที่เพิ่มขึ้นในทุกปี เมื่อกลับมาวิเคราะห์ภาพการพัฒนาเมืองจะพบว่า การมีสุขภาวะที่ดีควรเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้ภาพรวมของสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และค่านิยม ดำเนินไปในทิศทางที่ดีได้ในระยะยาว
จากงานวิจัย Future of Urbanisation โดย FutureTales Lab by MQDC พบว่า เมกะเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 30 ปี คือ ความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน (Well-being for all) (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 1) ที่ให้ความสำคัญกับการมีสุขภาวะที่ดี เป็นอีกหนึ่งเมกะเทรนด์ของการพัฒนาเมืองและพื้นที่โดยรอบให้เป็นประเทศที่ชาญฉลาด (wise nation) (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 2)
ซึ่งในบริบทของประเทศไทยที่คนไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้นและมีความสุข เรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ความสำคัญกับค่านิยมในเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มุ่งหาความสมดุลระหว่างกาย-จิต-วิญญาณซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของสังคมไทย และจากผลสำรวจความเห็นนักเรียนมัธยมศึกษาไทยมากกว่า 1,000 คน พบว่า 92% ของทั้งหมด
เชื่อว่าทุกชีวิตมีค่าที่จะรักษาและให้ความสำคัญการสร้างสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงาน ตอบโจทย์ความเป็นอยู่ของคนในเมืองที่ดี
จากแนวโน้มของการพัฒนาเมืองสู่แนวคิด Well-Being for all ที่นำไปสู่การสร้างสุขภาวะที่ดีกับการพัฒนาเมืองอนาคตให้อยู่ดีมีสุข สามารถแยกประเด็นของ Well-Being ได้ 8 มิติ (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 3,4,5 และ 6) ซึ่งประกอบไปด้วย
1. สุขภาพร่างกายแข็งแรง (Physical) คือ การดูแลร่างกายซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ สามารถมีสุขภาวะที่ดี และสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ตามความต้องการส่วนบุคคลได้ รวมถึงให้ความสำคัญกับการการออกกำลังกาย กินอาหารเพื่อสุขภาพ และการนอนหลับอย่างเต็มอิ่ม จะนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีขึ้น
2. สุขภาพด้านการเงินที่ดี (Financial) คือ มีเงินเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงมีความเข้าใจด้านการลงทุนเพื่อเพิ่มช่องทางของรายได้ ซึ่งจะสร้างความรู้สึกพอใจและปลอดภัยของผู้คน ผู้ที่มีความเครียดทางการเงินมีแนวโน้มที่ปัญหาสุขภาพ เช่น ความวิตกกังวล เป็นต้น
3. สภาพแวดล้อมสะอาด ปลอดภัยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Environmental) คือ การเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของสุขภาวะที่ดีของประชาชนเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม เช่น ความสะอาดของอากาศ น้ำ การจัดการขยะ การควบคุมมลพิษภายในเมือง สภาพแวดล้อมที่น่ารื่นรมย์เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นอยู่ที่ดี สามารถเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติจากธรรมชาติในอนาคต เช่น น้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นความร้อน เป็นต้น
4. โครงสร้างทางสังคมเป็นมิตรและปลอดภัย (Social) คือ ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล คนรอบข้างและสังคม พัฒนาความรู้สึกเชื่อมโยง ความเป็นเจ้าของพื้นที่ และมีระบบที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาสังคมอย่างปลอดภัย นอกจากการสนับสนุนของโครงสร้างทางสังคมที่แข็งแกร่งแล้ว ยังรวมถึงการดูแลชุมชนและคนรอบข้างอย่างมีความสุข
5. มีอาชีพตอบโจทย์ความพอใจส่วนบุคคล (Occupational) คือ การให้ความสำคัญของการทำงานที่มีความหมาย สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จด้านหน้าที่การงานและเติมเต็มความพอใจในงาน เป็นความสำคัญของสุขภาวะที่ดี
6. โอกาสทางการเรียนรู้เพื่อต่อยอด (Intellectual) คือ การพัฒนาความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ตอบโจทย์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ผ่านความกระหายใคร่รู้ ความอยากรู้อยากเห็น และส่งผลต่อการพัฒนาด้านแรงบันดาลใจ รวมถึงการเสริมทักษะด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์ ศิลปะ เป็นการเรียนรู้เชิงประสบการ์นอกเหนือจากการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับ
7. สุขภาพด้านอารมณ์ (Emotional) คือ ความสามารถในการเข้าใจตนเอง รวมทั้งมีเครื่องมือในการแสดงอารมณ์เหล่านั้นอย่างสร้างสรรค์ เช่น เล่นกีฬา เล่นดนตรี วาดภาพ เป็นต้น และมีช่องทางในการดูแลรักษาให้กายใจสมดุล โดยส่วนใหญ่ สุขภาพทางอารมณ์ที่ดีจะส่งผลให้ผู้คนมีความตระหนักในตนเองมากขึ้นและสามารถเชื่อมโยงกับผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับชีวิตอย่างมีประสิทธิผลและสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก
8. สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Spiritual) คือ การเข้าถึงความหมายและเป้าหมายของชีวิต เกิดขึ้นจากการคิด ไตร่ตรอง เรียนรู้ ส่งเสริม บ่มเพาะความสงบภายใน การรู้จักตนเอง เปิดโอกาสให้ตนเองและบุคคลรอบข้างในสังคมได้ฝึกปฏิบัติเพื่อหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณ สร้างความยืดหยุ่น พัฒนาความเห็นอกเห็นใจ และนำไปสู่ชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้
หากนำองค์ประกอบของ Well-Being for All ทั้ง 8 มิติสุขภาวะที่ดีมาสะท้อนกับนโยบายของผู้สมัครฯ ตัวเต็ง (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 7)
ได้แก่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร นายสกลธี ภัททิยกุลศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง นางสาวรสนา โตสิตระกูล รศ. ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และน.ต.ศิธา ทิวารี
พบว่า ผู้สมัครฯ 85% (หรือ 6 ใน 7 ท่าน)วางนโยบายที่ครอบคลุมและให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคมเป็นหลัก และ 71% (หรือ 5 ใน 7 ท่าน) พยายามตอบโจทย์ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับสอง ในขณะที่อีก 29% (2 ใน 7 ท่าน) มุ่งดูแลสุขภาพของคนเมืองเป็นอันดับสอง
ส่วนอันดับสามที่ผู้สมัครฯ 42% (3 ใน 7 ท่าน) ที่วางนโยบายไว้ คือ การให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกายของคนเมืองและสุขภาวะทางอารมณ์ อีก 29% (2 ใน 7) มุ่งไปที่การสร้างงานสร้างอาชีพ ส่วนท่านที่เหลือจะวางนโยบายที่เกี่ยวข้องพัฒนาการเรียนรู้ สังคมปลอดภัย และดูแลสุขภาพของประชาชน ตามลำดับ
จากนโยบายของผู้สมัครฯ ผู้ว่าทุกท่าน เน้นครอบคลุมการแก้ไขปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เมืองสามารถดำเนินต่อได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีความต้องการที่ไม่ได้ตอบโจทย์ (Unmet Need) ที่อยู่ภายในจิตใจของคนเมือง ซึ่งท้าทายและควรนำมาพิจารณาเพิ่มเติมในบริบทของการพัฒนาเมืองในอนาคต เพื่อการแก้ปัญหาที่ชัดเจนตอบโจทย์คนเมืองได้อย่างตรงประเด็น
1. มิติด้านสุขภาพร่างกาย (Physical) นอกจากจะผลักดันให้เกิดความปลอดภัยภายในเมืองและสนับสนุนการดูแลรักษาสุขภาพ ผ่านเทคโนโลยี อาทิ telemedicine แต่ประเด็นที่น่าจะให้ความสนใจในด้านสุขภาพร่างกายส่วนบุคคล รวมถึงอาหารมีคุณภาพ ให้เวลากับการพักผ่อนยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง
ซึ่งในประเด็นนี้ มีแนวทางที่จะช่วยต่อยอดความคิดด้านการดูแลสุขภาพผ่านเทคฯ จะประกอบไปด้วย ต่อยอดจาก telemedicine เป็น preventive medical ส่งเสริมให้ประชาชน ดูแลตัว ลดอาการการป่วยไข้
อีกทั้ง เตรียมความพร้อมกับสังคมสูงวัยและคนที่จะมีอายุยืนยาวมากขึ้น ให้ความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพ มุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 13) มีพื้นที่สำหรับการออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนเข้าถึงอาหารที่ดีมีคุณภาพในทุกพื้นที่ รวมถึงเข้ามาดูแลที่พักอาศัยให้คนเมืองมีที่อยู่ที่นอน
2. มิติด้านสุขภาพทางการเงิน (Financial) มีการพูดถึงการลดค่าครองชีพและช่วยหางานสร้างรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เกี่ยวกับ การเพิ่มทักษะเฉพาะ (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 14)
เช่น สายบริการ หรือ สารเทคนิค เป็นต้น รวมถึงให้ความรู้ด้านการลงทุนและการต่อยอดด้านการเงิน ยังเป็นประเด็นที่ควรถูกหยิบยกขึ้น อาทิ สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินสำหรับประชาชน เพิ่มพื้นที่จำลองธุรกิจและส่งเสริมกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและกลาง
รวมถึงธุรกิจเพื่อสังคมที่จะช่วยให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมากขึ้น อีกทั้งดึงเอาหลักสูตรที่เข้าใจง่ายและควรรู้ ด้านการทำธุรกิจหรือการลงทุนขั้นพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนได้ต่อยอดรายได้ หรือ ทรัพย์สิน มีสถานะทางการเงินที่ไม่ติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลางและมีรายได้มากพอที่จะอยู่ในภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 15)
3. มิติด้านสภาพแวดล้อมสะอาด ปลอดมลพิษ (Environmental) การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะ รวมถึงการเข้ามาบริหารจัดการเรื่องขยะที่จะเป็นมุมที่มีให้ความสำคัญเป็นหลัก เมื่อมองถึงอนาคต ยังมีประเด็นที่ยังไม่ได้มีใครพูดถึงนัก คือ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดทั้งมุมมองธุรกิจและชุมชน รวมถึงวางแผนการพัฒนาเมืองให้เตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในเมือง
อาทิ น้ำทะเลหนุนสูง การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดสาธารณะ นโยบายป้องกันการเกิดคลื่นความร้อนภายในเมือง รวมถึงพื้นที่หลบภัยเมื่อเกิดภัยพิบัติที่ไม่คาดคิด และแผนการฟื้นฟูเมืองหลังจากภัยพิบัติเกิดขึ้นอีกด้วย (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 16) นอกจากนี้ควรมีนโยบายส่งเสริมความหลากหลายทางชีวะภาพภายในเมืองให้กลับคืนมา (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 11) เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับคนเมือง
4. มิติด้านสังคมเป็นมิตรและปลอดภัย (Social) มีการพูดถึงเรื่องการพัฒนาพื้นที่และสังคมให้ปลอดภัย นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อความรวดเร็วและเข้าถึงของข้อมูล ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ไม่มีใครพูดถึงเพื่อตอบโจทย์อนาคตของเมืองที่ส่งเสริมเรื่องระบบหรือโครงสร้างสังคมที่สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ภายในพื้นที่ หรือ ชุมชม ให้เกิดความเชื่อมโยงกัน
และสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนเพื่อต่อยอดให้เกิดอัตลักษณ์ที่แตกต่าง ดึงคนในชุมชนให้มามีส่วนร่วม อาทิ การเชื่อมชุมชนเข้ากับสังคม เพิ่มช่องทางคมนาคมให้เข้าถึงพื้นที่หรือชุมชม ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์และฟื้นฟูทัศนียภาพโดยรอบของสังคม พัฒนาระบบการใช้ยานพาหนะร่วมกัน (Shared mobility) (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 17)
ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนรวมถึงรับนักท่องเที่ยวคุณภาพที่จะกลับมาทั้งอยู่ในเมือง และเดินทางไปพักทั่วประเทศ (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 8)
5. มิติด้านอาชีพตอบโจทย์การดำรงชีวิต (Occupational) มีการพูดถึงเพิ่มหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงาน รวมถึงสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน เพื่อต่อยอดจากประเด็นนี้ที่ยังไม่ได้พูดถึงนักคือ การเติมเต็มทักษะทั้งพื้นฐานและเฉพาะด้าน รวมถึงเพิ่มทักษะด้านระบบอัตโนมัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 18)
อาทิ อาชีพที่ใช้ทักษะเฉพาะของธุรกิจโลกเสมือน (Metaverse) รวมถึงการขยายขอบเขตไปถึงนโยบายที่ส่งเสริมการทำงานที่สะท้อนลักษณะตัวตนของผู้ทำงาน ความพอใจส่วนบุคคล ผ่านการทำงานในสิ่งที่รักและหลงใหล โดยมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้เกิดทั้งเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างครบวงจร
6. มิติด้านโอกาสทางการเรียนรู้ (Intellectual) มีการพูดถึงพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ในขณะเดียวกัน ยังมีประเด็นที่สำคัญที่ยังไม่ได้พูดถึง คือ การต่อยอดพื้นที่การเรียนรู้เพื่อรองรับกับชุมชนวัยเกษียณ (Active senior citizen) ให้มีทักษะใหม่ๆ สามารถหาเลี้ยงชีพได้หรือมีกิจกรรมเสริมทักษะได้ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 18)
อีกทั้งสามารถนำพื้นที่โดยรอบของชุมชนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาสร้างความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) ของผู้เรียนทุกวัยเพื่อให้เกิดการตั้งคำถามที่ดีในการต่อยอดการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ ยังเป็นการนำเสนอเนื้อหาด้านความเป็นเมืองอย่างกรุงเทพฯ มาเป็นหลักสูตรเพื่อเตรียมพร้อมเจนเนอเรชันรุ่นถัดไปให้เข้าใจและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 19)
7. มิติสุขภาพด้านอารมณ์ (Emotional) ในมิตินี้มีผู้สมัครหลายท่านได้มีการกล่าวถึง เช่น การพัฒนาโรงพยาบาลให้ครอบคลุมและดูแลรักษาสุขภาวะทางด้านอารมณ์ ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ยังไม่ได้พูดถึงมากนัก คือ การส่งเสริมเครื่องมือในการแสดงออกทางอารมณ์แล้ว เช่น การเล่นดนตรี ศิลปะ กีฬา เป็นต้น
นอกจากนี้ การดูแลรักษาควรเสนอแนวทางวิธีการใหม่ๆ เช่น ให้คำปรึกษาผ่านช่องทางที่กลุ่มเสี่ยงอยู่ เป็นต้น ในการตอบโจทย์การเข้าถึงช่องทางการรักษาให้กับกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะ คนเจนเนอเรชัน z ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 20) ซึ่งสะท้อนความต้องการเพื่อเข้าถึงช่องทางการดูแลสุขภาพใจมากกว่าคนเจนอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบหลังจากการเกิดช่วงล๊อคดาวน์จากโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา
8. มิติสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Spiritual) เป็นมิติที่ท้าทายและยังไม่มีมุมมองเชิงนโยบายทางด้านนี้จากผู้สมัครอย่างชัดเจน สำหรับแนวทางการพัฒนาเมืองปลอดภัยและส่งเสริมการดูแลสุขภาพระยะยาว (long-stay health retreat) จะนำไปสู่ความสมดุลของสุขภาพกาย-ใจ-จิตวิญญาณของประชาชนในเมืองไปในขณะเดียวกัน (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 12) อาทิ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เอาธรรมชาติเป็นที่ฟื้นฟูกายใจ สงบจากภายใน
และจะนำไปสู่การเข้าถึงความหมายและเป้าหมายของชีวิต (Spiritual) จากมิตินี้ ยังสามารถยกระดับสภาวะของจิตวิญญาณ โดยใช้เครื่องมือของสังคมและธรรมชาติเป็นกลไกในการขับเคลื่อนความสามารถของตัวเอง (*อ้างอิงแหล่งข้อมูลข้อ 21) เมื่อมิตินี้มั่นคงจะสามารถกลับไปตอบโจทย์มิติด้านสุขภาพร่างกายและอารมณ์ที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่ดีได้อีกด้วย
จากข้อเสนอแนะทั้งหมด ผ่านมุมมองอนาคตเจาะประเด็นด้านสุขภาวะที่ดีสำหรับเมืองนั้น แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเมืองในอนาคตอย่างมีความสุขในช่วงเวลาอีก 5-10 ปีข้างหน้านั้น อาจยังมีโจทย์ที่ท้าทายอีกหลายประเด็นรออยู่ จึงไปสู่คำถามที่ “เราพร้อมจะมีสังคมที่มีความสุขทุกมิติจริงหรือไม่?”
ข้อมูลอ้างอิง*
1.
https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page
12
2.
https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page
14
3.
https://wellnesstool.com/eight-dimensions-if-wellness-was-a-house/
4.
https://www.wisconsin.edu/ohrwd/well-being/
5.
http://burgeonwellness.co.za/the-8-dimension-of-wellness-infographic/
6.
https://www.workplacewellnesslab.com/the-8-dimensions-of-wellness/
7.
https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=568
8.
https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page
20
9.
https://www.tcijthai.com/news/2022/4/scoop/12290
10.
https://www.bmz.de/en/development-policy/climate-change-and-development/climate-risk-management
11.
https://www.weforum.org/agenda/2021/06/cities-ecosystems-biodiversity-climate-change/
12.
https://indd.adobe.com/view/9cf5ab87-0deb-44cc-b215-caccd8544d83/page28
13.
https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page
13
14.
https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247/page
21
15.
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/how-to-invest-win-inflation.html
16.
https://indd.adobe.com/view/9cf5ab87-0deb-44cc-b215-caccd8544d83
/page23
17.
https://indd.adobe.com/view/9cf5ab87-0deb-44cc-b215-caccd8544d83
/page25
18.
https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247
/page15
19.
https://futuretaleslab.com/research/future-of-urbanisation-scenarios-greater-bangkok#content-247
/page32
20.
https://images.assettype.com/afaqs/2021-07/9004b3b4-06bf-474c-8855-ad6a53a6ffa1/Spotify_CultureNext_Report_IN.pdf
21.
https://indd.adobe.com/view/9cf5ab87-0deb-44cc-b215-caccd8544d83/page29
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก
https://www.futuretaleslab.com
และ
https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureUpdate #FutureofLiving #WellBeingForAll #BKKGovernorElection #เลือกตั้งผู้ว่า #เลือกตั้งผู้ว่ากทม #MQDC
เลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพ
เลือกตั้ง
คนเมือง
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย