Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กินได้ กินดี
•
ติดตาม
17 พ.ค. 2022 เวลา 06:10 • สุขภาพ
ลองโควิด...คืออะไร
ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ทุกคนจะเกิดการ “อักเสบไปถึงระดับเซลล์ในร่างกายในทุกระบบ” และผลของการอักเสบเมื่อหายจากระยะของการติดเชื้อ จะเกิดอาการที่เรียกว่า “กลุ่มอาการลองโควิด” (Post Covid Syndrome หรือ Long COVID)
ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลในกลุ่มผู้ที่ป่วยหลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างวันที่ 17-23 เมษายน 2565 จำนวน 377 รายจากทั่วประเทศ พบว่า ร้อยละ 60 มีภาวะไม่สุขสบายจากกลุ่มอาการลองโควิด
เช่น มีเสมหะ ระคายคอ เวียนศีรษะ มึนงง มีผื่นคัน หลงลืมความจำลดลง อ่อนแรง เครียดง่าย หายใจไม่อิ่ม ผมร่วงผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ จมูกไม่ได้กลิ่น นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลีย ท้องผูกอาหารไม่ย่อย อาการท้องเสีย ไอเรื้อรัง คิดอะไรไม่ออกหรือมีอาการเบลอ ปวดตามข้อ ฯลฯ เป็นต้น
“โดยสรุปแล้วอาการ “ลองโควิด” เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการที่ร่างกายเกิดการอักเสบทั่วทั้งร่างกายในระดับเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการหลังการอักเสบในหลายระบบ เช่น ผลต่อระบบสมองและหลอดเลือด เกิดอาการวิงเวียน มึนงง หลงลืม คิดอะไรได้ช้าลง นอนไม่หลับ ผลต่อระบบหัวใจ อาจมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ต่อระบบหายใจ มีอาการไอเรื้อรัง หายใจเหนื่อย รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
ต่อระบบกล้ามเนื้อและข้อ เกิดอาการกล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดข้อ ข้ออักเสบ ต่อระบบทางเดินอาหารส่งผลให้เกิดภาวะกระเพาะอักเสบ กรดไหลย้อน อาการท้องผูก สลับท้องเสีย รวมไปถึงการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายลดประสิทธิภาพลดลง
ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งของระยะการฟื้นฟูของร่างกายตามธรรมชาติที่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องในช่วงเวลา 2-3 เดือน หลังจากหายป่วย ซึ่งหากพบว่าอาการต่างๆ ไม่ดีขึ้นและยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายมนุษย์คือ ความมหัศจรรย์ เราสามารถฟื้นฟูสุขภาพได้ ด้วยการใช้อาหารและธรรมชาติบำบัด ที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน
ฟื้นฟูสภาพร่างกายด้วยวิธีง่ายๆ “กินได้ กินดี”
“สำหรับการฟื้นฟูสุขภาพ คือ การฟื้นฟูร่างกายให้หายจากการอักเสบของร่างกายซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ ทั้งนี้การลดการอักเสบของร่างกาย (แม้ว่าจะตรวจด้วยอุปกรณ์ ATK และไม่พบขีดแดง 2 ขีดแล้วก็ตาม แต่ร่างกายอาจยังเกิดการอักเสบอยู่) เริ่มจาก กินได้กินดี
1.ดื่มน้ำสะอาด ดื่มให้ได้วันละ 2 ลิตร-2 ลิตรครึ่งต่อวัน เพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญทั้งช่วยชะล้างสารพิษในร่างกาย สร้างความชุ่มชื่น และฟื้นฟูสมดุลของน้ำในเซลล์และน้ำนอกเซลล์ให้กับร่างกาย การดื่มน้ำ ดื่ม 2 แก้ว หลังตื่นนอน และ ครึ่งแก้วทุกครึ่งชั่วโมง ก่อนนอนดื่มน้ำอีก 1 แก้ว
2.กินอาหารสร้างภูมิต้านทาน ด้วยการฟื้นฟูลำไส้ด้วยอาหารโพรไบโอติกส์ที่หาได้ง่ายๆ เช่น ผักดองตามธรรมชาติ โยเกิร์ต คีเฟอร์ กิมจิ ชาหมักคอมบูชา เทมเปะ มิซโซะ ทานทุกวัน เพราะโพรไบโอติคตายทุกวัน ทานให้หลากหลาย อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
3.กินอาหารเสริมความแข็งแรงของจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกาย อาหารในกลุ่มพรีไบโอติกส์ เช่น ผักและผลไม้สด โดยเฉพาะผักที่มีความเป็นเมือก วุ้น เช่น กระเจี๊ยบ หอม ผักปลัง ว่านหางจระเข้ หน่อไม้ฝรั่ง ผักกูด ซึ่งผักสดจะมีทั้งวิตามินเกลือแร่มากกว่าผักสุก
4. หลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นการอักเสบ เพื่อฟื้นฟูการทำงานของลำไส้เล็กและตับได้แก่ น้ำตาล ซึ่งปกติใน 1 วัน เราไม่ควรกินน้ำตาลซึ่งการนับจำนวนน้ำตาลต่อวัน จะนับรวมอาหารจำพวกแป้ง ซึ่งไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หลักเลี่ยงผลไม้ที่รสหวานจัด หยุดการบริโภคแป้งสาลี เนื่องจากในแป้งสาลีมีสารกลูเตนที่จะส่งผลต่อขัดขวางการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็ก
งดการบริโภคอาหารแปรรูป และสารปรุงรสต่างๆ งดดื่มนมและผลิตภัณฑ์ของนม เพราะช่วงที่ป่วยโควิด-19 ร่างกายจะอักเสบ ร่างกายเรามีความสามารถในการย่อยนมลดน้อยลง และมีผลต่อการดูดซึมอาหารของลำไส้เล็ก
5. ฝึกลมหายใจเพื่อช่วยให้ปอดขยายตัว และลดความเครียด เริ่มจากวิธีการง่ายๆ เริ่มจากใช้มือจับที่หน้าอก และท้อง ขณะหายใจเข้าให้รู้สึกว่าท้องเราป่องออก และให้หายใจทางจมูกดังนี้ หายใจเข้าลึกๆ โดยนับในใจ นับ 1-2-3-4-5-6-7-8 จากนั้นการกลั้นลมหายใจไว้และนับในใจ 1-2-3-4-5-6-7-8 จากนั้นผ่อนลมหายใจออกนับ 1-2-3-4-5-6-7-8
ทำแบบนี้ ให้ได้ 10 รอบ และสามารถฝึกหายใจแบบนี้ได้ตลอดทั้งวัน หรือเมื่อเรามีเวลาว่างๆ ทำได้ทุกๆ 1 ชั่วโมง
6. นอนหลับให้มีคุณภาพ พักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกาย โดยเข้านอนก่อน 4 ทุ่ม ตื่น ตี 5 หรือ 6 โมงเช้า ในห้องที่ปิดไฟมืดสนิท หยุดการใช้โทรศัพท์มือถือก่อนนอน 1 ชั่วโมง ก่อนนอนให้นอนราบ มือวางแนบลำตัว ฝึกหายใจ ตามข้อที่ 5 และผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย การนอนที่มีคุณภาพจะเป็นช่วงเวลาของการซ่อมแซมภาวะอักเสบที่เกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาการทำงานของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย
7. ปรับสมดุลน้ำเหลือง ด้วยการเดินหรือออกกำลังกายรับแสงแดดยามเช้าในช่วงเวลาประมาณ 9 โมงเช้าถึง 11 โมงเช้า ใช้เวลาเดิน 30 นาที เพื่อกระตุ้นให้ระบบน้ำเหลืองในร่างกายหมุนเวียน
8. ฝึกให้มีการขับถ่ายทุกวัน ในช่วงเวลา 6.00น-09.00 น และขับถ่ายให้เป็นปกติอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ซึ่งการขับถ่ายจะเป็นส่วนสำคัญในการขับสารพิษสารเคมีออกจากร่างกาย และเป็นสิ่งสำคัญ
การฟื้นฟูร่างกายหลังป่วยด้วยโควิด19 เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถดูแลตัวเองได้ หากมีคำถามหรือมีข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม ติดตามได้ในช่อง Youtube: ผาสุข กินได้ กินดี
ธรรมชาติบำบัด
บันทึก
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย