Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
17 พ.ค. 2022 เวลา 12:00 • การศึกษา
ย้อนดูวิวัฒนาการ “สอบเข้ามหาวิทยาลัย”
ชวนย้อนดูวิวัฒนาการ 2 ทศวรรษหลังสุดของการ "สอบเข้ามหาวิทยาลัย" ว่าต้องเจอกับการสอบรูปแบบไหนบ้าง ก่อนเข้าสู่ยุค TCAS 2.0 ในปีการศึกษา 2566
ย้อนดูวิวัฒนาการ “สอบเข้ามหาวิทยาลัย”
วันนี้ (17 พ.ค.) นับเป็นแรกของการเริ่มต้นปีการศึกษา 2566 ของนักเรียนทั่วประเทศ และสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ #DEK66 ปีการศึกษานี้กลายเป็นช่วงรอยต่อที่สำคัญ เนื่องจากเป็นปีสุดท้ายในการเป็นนักเรียน ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเพื่อเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาต่อไป
ปัจจุบัน นักเรียนไทยเข้าสู่การศึกษาชั้นอุดมศึกษาผ่านระบบ #TCAS โดยระบบนี้จะทำหน้าที่คัดเลือกนักศึกษาให้กับคณะของมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามเกณฑ์ที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยระบบดังกล่าวถูกใช้ครั้งแรกในปี 2561 หลังจากใช้ระบบ #Admission มาก่อน
นอกจากนั้น สำหรับ #DEK66 หรือบุคคลที่จะเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2566 ก็ต้องเจอกับการเปลี่ยนเกณฑ์ครั้งสำคัญ ที่ต่างออกไปจากรุ่น #DEK65 หรืออาจจะบอกได้ว่า เด็กที่ต้องเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยในปีนี้กำลังเข้าสู่ยุค TCAS 2.0 เป็นปีแรก จึงเท่ากับว่าระบบ TCAS 1.0 มีอายุเพียง 5 ปีเท่านั้น
จากข้างต้น จึงอยากชวนย้อนดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ เส้นทางการเข้าสู่มหาวิทยาลัยในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา นักเรียนไทยในแต่ละยุคต้องเจอกับการสอบรูปแบบไหนบ้าง
📌 ย้อนดูวิวัฒนาการ “สอบเข้ามหาวิทยาลัย”
ในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ก่อนจะมีการใช้ระบบ TCAS ประเทศไทยเคยใช้ระบบการคัดเลือกที่เรียกว่า Admission ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.0 และ 2.0
ฉะนั้น วิวัฒนาการในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษหลังสุด นักเรียนไทยจึงต้องเผชิญกับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยทั้งหมด 4 รูปแบบ
รูปแบบที่ 1 : Admission 1.0 ปีการศึกษา 2549 - 2552
รูปแบบนี้ คือ ระบบ Admission แบบแรกที่ถูกนำมาใช้แทนระบบ Entrance ซึ่งเป็นระบบสอบแบบดั้งเดิมที่ใช้มานานหลายสิบปี
ระบบนี้จะยังคงใช้เกรดเฉลี่ยสะสม หรือ GPAX เช่นเดิม แต่จะเพิ่มการสอบวิชา O-NET และ A-NET มาเป็นเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยด้วย และมีการจัดสอบทั้งสองวิชาเพียงปีละครั้ง แต่สามารถเก็บคะแนนไว้ยื่นในปีอื่นได้ด้วย
นอกจากนั้น ยังสามารถสอบวิชา A-NET ได้อีกครั้งในปีถัดไป ทำให้การสอบวิชานี้ทำได้หลายครั้ง โดยคะแนนจะมีอายุ 2 ปี จึงทำให้นักเรียนไทยในยุคนั้น หากพลาดจากคณะและมหาวิทยาลัยที่หวังในปีแรก ก็สามารถสอบใหม่แล้วใช้คะแนนที่ดีที่สุดยื่นได้ในปีถัดไป
รูปแบบที่ 2 : Admission 2.0 ปีการศึกษา 2553 - 2560
หลังจากที่ได้ใช้ระบบ Admission แบบแรกมาได้เพียง 4 ปีเท่านั้น ก็ได้มีการเปลี่ยนระบบการคัดเลือกอีกครั้ง โดยเปลี่ยนจากการสอบวิชา A-NET เป็น GAT/PAT แต่ยังคงเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี และยังคงใช้คะแนนจาก GPAX และ O-NET เช่นเดิม
แม้ว่าระบบดังกล่าวนี้จะถูกใช้นานถึง 8 ปี แต่ระหว่างทางก็มีการเปลี่ยนแปลงยิบย่อยตามมาตลอด เพียงแค่เกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกจากส่วนกลางยังไม่ต่างจากเดิม โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ดังนี้
ปี 2554 มีการปรับลดจำนวนครั้งของจัดสอบ GAT/PAT จาก 3 ครั้ง เหลือเพียง 2 ครั้ง
ปี 2555 เป็นปีแรกที่ได้มีการเพิ่มการสอบ 7 วิชาสามัญ เนื่องจากทางกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ กสพท. ได้ให้ความเห็นว่าการสอบ GAT/PAT ไม่ได้ตอบโจทย์การคัดเลือกนักศึกษาจริงๆ และยังเป็นปีแรกที่มีการใช้ระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์เข้ามาอีกด้วย
ปี 2558 มีการปรับการสอบ O-NET จาก 8 วิชา เหลือเพียง 5 วิชาหลัก คือ ไทย สังคม อังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยวิชาที่ตัดออกคือ สุขศึกษาและพลศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ ดนตรี
ปี 2559 มีการปรับการสอบ 7 วิชาสามัญ ให้เป็น 9 วิชาสามัญ โดยเพิ่มวิชา คณิตศาสตร์ 2 (พื้นฐาน) และวิทยาศาสตร์ทั่วไป
นอกจากนั้น กฎเกณฑ์ต่างๆ ก็ไม่แตกต่างจาก Admission 1.0 เท่าใดนัก
รูปแบบที่ 3 : TCAS 1.0 ปีการศึกษา 2561 - 2565
หลังจากใช้ระบบ Admission 2.0 มาได้สักพัก ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนไปใช้ระบบ TCAS ในการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย โดยระบบนี้เกิดขึ้นจากความพยายามจะทำให้ระบบรับตรงและโควตาต่างๆ ผ่านส่วนกลางมากขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น
การรับเข้าด้วยระบบ TCAS จะแบ่งการคัดเลือกออกเป็น 5 รอบ คือ รอบ 1 พอร์ตโฟลิโอ รอบ 2 โควตา รอบ 3 รับตรง (ผ่านส่วนกลาง) และรอบ 4 Admission (แบบเดิม) และรอบ 5 รับตรงอิสระ โดยคะแนนที่ใช้ก็จะไม่ต่างจากเดิมมากนัก เพียงแค่เพิ่มการใช้คะแนนวิชาสามัญเข้ามาคิดในการรับตรงผ่านส่วนกลาง
การสอบ GAT/PAT และวิชาสามัญของระบบนี้ สามารถสอบได้เพียงครั้งเดียว แต่สามารถยื่นได้หลายรอบ และสามารถเก็บ GAT/PAT คะแนนไว้ได้ 2 ปีเช่นเดิม ส่วนคะแนนสามัญนั้นเก็บไว้ได้เพียง 1 ปีเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ระบบนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ยิบย่อยอีกเช่นกัน โดยในการรับเข้าปี 2564 มีการเปลี่ยนแปลงจากรับ 5 รอบ เหลือเพียง 4 รอบ โดยเอารอบ 3 และ 4 เข้ามาไว้รวมกัน แต่ยังคงใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกันเช่นเดิม เสมือนเป็นการให้สิทธิ์ยื่นคะแนน 2 ครั้ง ใน 1 รอบ
📌 การเปลี่ยนแปลงอีกครั้งของ TCAS
แม้ว่าระบบ TCAS ที่ใช้อยู่นี้จะมีอายุเพียงแค่ 5 ปีก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ได้มีการปรับเกณฑ์ครั้งสำคัญอีกครั้ง กลายเป็น TCAS 2.0 โดยจะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2566
กราฟิก : วราภรณ์ คำสม
อ่านเพิ่มเติม
bangkokbiznews.com
จาก “Admission” สู่ “TCAS” ย้อนดูวิวัฒนาการ ”สอบเข้ามหาวิทยาลัยไทย”
ชวนย้อนดูวิวัฒนาการ 2 ทศวรรษหลังสุดของการ ”สอบเข้ามหาวิทยาลัย” ว่าต้องเจอกับการสอบรูปแบบไหนบ้าง ก่อนเข้าสู่ยุค TCAS 2.0 ในปีการศึกษา 2566
4 บันทึก
5
6
4
5
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย