17 พ.ค. 2022 เวลา 09:35 • ธุรกิจ
RCEP เริ่มแล้ว คุณพร้อมหรือยัง !
RCEP หรือ ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) ได้เริ่มต้นแล้ว โดยจะเริ่มตั้งแต่ Jan 2022 เป็นต้นไป และมันสำคัญมากสำหรับผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องรู้ครับ
ทำไมมันถึงสำคัญมาก
1. เป็นข้อตกลงการค้าที่มีขนาดใหญ่มาก เพราะข้อตกลงความร่วมมือนี้ มันเกิดจากกลุ่มประเทศ ที่มีประชากรมาก และเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกขนาดใหญ่ด้วย
นั้นก็คือ AEC (10 Country) + 5 Country (China+ Japan + Korean + Australia + New sea land)
ผลก็คือ จะเกิดความร่วมมือทางการค้าของประชากรถึง 2,300 ล้านคน จึงเป็นที่มาของ ขนาดของตลาดที่ใหญ่มาก (ตอนเริ่มต้น คาดหวังว่า จะมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีประชากรถึง 3,500 คน ถ้าประเทศอินเดีย ไม่ถอนตัวออกไปสะก่อน)
2. สิทธิประโยชน์ ทางภาษีซึ่งจะมีการยกเว้น หรือ ลดหย่อน ซึ่งกันและกันในกลุ่ม RCEP ซึ่งหมายความว่า จากที่เคยเสียอยู่ จะได้ยกเว้น หรือลดหย่อน (วิธีการเรื่องภาษีนำเข้าของ RCEP ก็เอาแนวรูปแบบของ FTA / AFTA มาปรับใช้)
3. RECP นั้นมีเงื่อนไขใหม่ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า และที่สำคัญมากๆ ก็คือ การสะสมถิ่นกำเนิด ซึ่งข้อนี้สำคัญมาก เพราะมันเป็นการทลายกำแพงภาษีให้กับการนำเข้า และส่งออก (Export & Import) แบบสุดๆไปเลย (ผมจะขยายความตามข้างล่างนี้)
สำหรับผู้ที่เป็น Exporter & Importer อยู่แล้ว ข้อตกลงนี้ จะสร้างโอกาสให้กับพวกท่านอย่างมาก ก็ขอให้ท่านศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องนี้นะครับ
สำหรับ ผมก็ยังศึกษาเรื่องของ RECP ไม่ได้หมด ที่ทราบมาก็มีหลายประเด็นที่เพิ่มเติมขึ้นมาจาก AFTA แต่ก็อยากจะเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุดของ RCEP มานำเสนอก่อน นั้นก็คือ เงื่อนไขการสะสมถิ่นกำเนิด
การสะสมถิ่นกำเนิดนั้น ให้ประโยชน์กับ Exporter & Importer อย่างมาก เพื่อให้ท่านเข้าใจในเรื่อง การสะสมถิ่นกำเนิด ผมก็ขออธิบาย ดังนี้
โดยปกติการยกเว้นภาษีนำเข้าของประเทศคู่ค้า (FTA and AFTA) นั้น สินค้าที่ผลิตและส่งออกนั้น จะต้องผลิตขึ้นในประเทศนั้นจริงๆ ซึ่งจะต้องมีการรับรองถิ่นกำเนิด โดยมีหน่วยราชการหรือหอการค้า เป็นผู้ออกเอกสารรับรองให้ ที่เราเรียกว่า ใบรับรองถิ่นกำเนิด (Country of Origin)
หมายเหตุ : ในทางปฏิบัติเขาจะกำหนดเป็น Code ขึ้น เช่นของ จีน เรียกว่า Form E
: Country of Origin มีไว้เพื่อป้องกันการในการนำเอาสินค้าจากประเทศอื่น เอามา Re-packing แล้วส่งออกไปในชื่อตัวเอง โดยหลอกผู้ซื้อว่าตัวเองเป็นผู้ผลิต เช่น คนไทยเอาของจีนเข้ามา แล้วเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ แล้วส่งขายออกไปยัง ประเทศเวียดนาม
จาก Country of Origin นั้น มันมีประเด็นที่ซ้อนอยู่ในนั้น ก็คือ Local Content
Local Content ก็คือ การตีความในความหมายของคำว่า ผลิตในประเทศ มีขอบเขตอย่างไร เช่น จะต้องมีการใช้วัตถุดิบ และค่าแรงในประเทศ โดยมีมูลค่าในสัดส่วนที่ 60 % ขึ้นไป เท่ากับว่า เราจะเอาวัตถุดิบหรือส่วนประกอบจากต่างประเทศได้ไม่เกิน 40% นี้ จึงจะถือว่าเป็นการผลิตในประเทศ
ดังนั้นข้อจำกัดของ FTA and AFTA ก็คือ ถ้าคุณไม่สามารถควบคุมสัดส่วน (Local Content) ที่ว่านี้ได้ การส่งออกไปยังประเทศผู้ซื้อ ที่เป็นคู่ค้าก็จะไม่ได้รับสิทธิในการยกเว้นอากรขาเข้า
แต่ RCEP นั่นมี เรื่อง การสะสมถิ่นกำเนิด เท่ากับว่า สัดส่วนของการใช้วัตถุดิบ หรือ ส่วนประกอบที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น (Local Content) จะเปลี่ยนไป
ความหมายคือ ถ้าเรานำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน มาจากประเทศกลุ่ม RCEP ด้วยกัน และส่งออกไปขายยังประเทศในกลุ่ม RCEP ด้วยกัน หลักการของ Local Content จะเปลี่ยนไป โดยอนุโลมให้ การนำเข้าในกลุ่ม RCEP ด้วยกันถือเป็นส่วนหนึ่งของสัดส่วนการผลิตในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการคนไทย แล้วผลิต Computer เพื่อ Export ไปขายยังประเทศมาเลเซีย (ซึ่งมาเลเซียเป็นประเทศในกลุ่ม AEC ที่เป็นผู้ซื้อของเรา (Importer) สามารถจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าได้ เรียกการใช้สิทธินี้ว่า AFTA )
แต่ถ้า Computer ที่เราผลิตขายนั้น มีการนำเข้าชิ้นส่วนจากประเทศจีน (China) โดยมีมูลค่าเกิน 40% ก็เท่ากับว่า Computer ที่เราจะส่งออกไปที่มาเลเซีย นั้นจะไม่สามารถยกเว้นอากรขาเข้าได้ !
แต่ถ้า Computer ที่เราผลิตขายนั้น มีการใช้เงื่อนไข ของ RCEP โดยการนำเข้าชิ้นส่วนจากประเทศจีน เงื่อนไขใน Local Content ก็จะเปลี่ยนไป โดยจะอนุโลมให้สามารถนับมูลค่าการนำเข้าจากประเทศจีน ถือว่าเป็นส่วนของการผลิตในประเทศไทย
ดังนั้นการที่เราขาย Computer ของเราไปที่ประเทศมาเลเซีย (ซึ่งก็เป็นประเทศในกลุ่ม RECP ด้วยกัน) ก็จะได้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นอากรขาเข้าได้ (แม้เราจะเอาชิ้นส่วนจากประเทศจีน เข้ามาประกอบก็ตาม)
หมายเหตุ : หลักการเรื่อง Local content สำหรับ RCEP นั้น ถ้าผู้ประกอบการสนใจ ให้หาข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ เพราะยังมีวิธีปฏิบัติ และ รายละเอียดอื่นๆอีก ที่ RCEP มีเพิ่มขึ้นมาจาก FTA / AFTA เช่น
1.วิธีปฏิบัติในการจัดทำเอกสาร
2.สัดส่วน ที่แน่นอนของ Local Content
3. สิทธิที่เพิ่มขึ้นจากการค้าในกลุ่ม RCEP กับสิทธิประโยชน์เดิมที่ได้จาก AFTA อันนี้มีข้อสรุปอย่างไร จะเหมือนกันไหม !
4.กฎระเบียบด้านการค้า ที่อำนวยความสะดวกมากขึ้น เช่น การส่งสินค้าประเภท พืช ผัก ผลไม้ จะทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น (ลดเวลา และขั้นตอน ในพิธีการนำเข้า)
5. สำหรับ RCEP ตามข่าวจากสำนักต่างๆ จะให้ข้อมูลว่าภาษีนำเข้าจะเป็น 0 % แต่ผมยังไม่สรุป เพราะถ้าเอาตาม AFTA จะเป็น 0% แต่ถ้าตาม FTA ก็จะมีทั้งลดหย่อน และยกเว้น แต่อย่างไรก็ตามสินค้าอ่อนไหว ก็จะไม่ได้เปิดให้นำเข้าอย่างอิสระ
ก็หวังว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ส่งออกและนำเข้านะครับ
เรียบเรียงด้วย Anant.V (Tangram Strategic Consultant)
THX picture from DW.com
สนใจพัฒนา เจ้าหน้าที่ ฝ่ายจัดซื้อ และฝ่ายขาย ต่างประเทศของท่าน ส่งมาอบรมกับเราได้ครับ
1. นักจัดซื้อ..ต่างประเทศ (Oversea Purchaser)
ดูรายละเอียดได้ที่ : https://tangramtib.blogspot.com/2016/10/the-inter-business-for-sme.html
2. งานขาย..ต่างประเทศ (Oversea Sale)
ดูรายละเอียดได้ที่ : https://tangramtib.blogspot.com/2020/07/12-international-trade.html
#จัดซื้อมืออาชีพ #จัดซื้อต่างประเทศ #ขายต่างประเทศ
โฆษณา