18 พ.ค. 2022 เวลา 10:04 • ดนตรี เพลง
กลับมารวมตัวกันทั้งที ปิดตำนานไปสวย ๆ อาจจะดีกว่า กระแสตีกลับจากเพลง #พ่อมึง ของวง #THAITANIUM แรปเปอร์รุ่นใหญ่ที่พร้อมประกาศศักดิ์ดาท้าชนคนรุ่นใหม่ด้วยบทเพลงฮิปฮอป ยังคงเป็นที่ฮือฮาอยู่บนหน้าฟีดของใครหลายคน
.
ด้วยเนื้อหาเพลงที่มุ่งไปที่การเหยียดคนรุ่นใหม่ และเคลมตัวเองว่าเป็นคนสร้างมาตรฐานไว้ให้คนรุ่นใหม่เดินตาม ซึ่งเมื่อฟังเนื้อหาของเพลงทั้งหมดแล้วก็ต่างสร้างความผิดหวังให้กับแฟนเพลงอย่างมาก เพราะการกลับมารวมตัวกันอีกครั้งในรอบหลายปี ก็ย่อมเกิดความคาดหวังเพิ่มขึ้นในผลงานตามมา
.
เดิมทีแล้ววง THAITANIUM มีจุดเริ่มต้นมาจากมิตรภาพของชายหนุ่มผู้รักดนตรีทั้งสามคน โดยเฉพาะแนวเพลง #HipHop จนทำให้พวกเขาเกิดการรวมตัวเป็นวงดนตรีฮิปฮอปในปี 2543 และกลายเป็นที่นิยมในที่สุด พร้อมยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบแนวเพลงฮิปฮอปหลายคน
.
แนวเพลงฮิปฮอปเกิดจากจังหวะเพลงดิสโก้ผสมกับแนวฟังก์ โดยนิยมในหมู่คนผิวสีมักมีเนื้อหาที่สะท้อนสังคม ไม่ว่าจะเป็นเพศ การเมือง หรือสิ่งเสพติด ทำให้แนวเพลงนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในวงกว้าง เพราะเป็นเพลงที่สามารถถ่ายทอดเล่าเรื่องเสียดสีสังคมรอบข้างได้
.
ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยเราก็ได้เคยมีเพลงแร็ปฮิปฮอปที่ชื่อว่า #ประเทศกูมี ออกมาเสียดสีการทำงานของรัฐบาล จนทำให้ศิลปินเจ้าของเพลงได้รับรางวัลด้านสิทธิฯ ระดับโลก จากประเทศนอร์เวย์มาแล้ว ซึ่งเป็นผลงานจากศิลปินฮิปฮอปรุ่นใหม่
.
ตรงข้ามกับกระแสตีกลับของเพลง #แม่มึง จาก THAITANIUM ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อวงการแร็ปเปอร์ไทย ที่นอกจากจะไม่ได้รับความนิยมแล้ว ยังโดนจวกเละยิ่งกว่าโจ๊กอีกในตอนนี้ จนเกิดคำถามที่ว่า “ปิดตำนานไปสวย ๆ อาจจะดีกว่ากลับมารวมตัวแล้วได้แค่นี้”
.
ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเพลงนี้ว่า "ขาดวิญญาณของการแร็ป" และยังเน้นความคิดแบบ #ปิตาธิปไตย หรือชายเป็นใหญ่ ความคิดแบบนี้ถือว่าเป็นแนวคิดที่ล้าหลัง (Primitive) ถึงแม้จะเป็นแบบนั้น แต่ว่าเพลงนี้ก็ยังแนวคิดนี้มาเป็นศูนย์กลางของการเล่าอยู่ดี
.
รวมถึงตัวศิลปินเองที่มีจุดยืนทางวงการเพลงและการเมืองที่ชัดเจน จนนำไปสู่การสะท้อนปัญหาของสังคมไทยในเรื่องของระบบอาวุโส เห็นได้ชัดจากคำว่า #พ่อ ที่ใช้ระบบอาวุโสและแนวคิดแบบปิตาธิปไตยมาเป็นตัวชูโรงของเพลงนี้
.
โดยสำนวนที่สื่อเนื้อหาในเพลงได้อย่างครอบคลุม คือ ‘อาบน้ำร้อนมาก่อน’ เป็นการส่งสารผ่านบทเพลงที่ที่ไม่ได้อัปเดตและพัฒนาตามยุคสมัยเลย และไม่ได้คำนึงถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ฟังเพลงฮิปฮอป
.
เพราะคนรุ่นใหม่ เป็นกลุ่มคนที่มีแนวทางเพลงชัดเจน โดยเฉพาะศิลปินรุ่นใหม่ ที่มีพร้อมกับไฟแรงกล้า ส่งผลให้มีกระแสตอบรับในเรื่องเพลงเป็นในทิศทางที่ดี แต่ในเนื้อหาเพลง #พ่อมึง ได้บอกว่ารุ่นพี่ทำสำเร็จมาแล้ว ก็ต้องเคารพรุ่นพี่ มันจึงขัดแย้งกับความคิดของคนรุ่นใหม่
.
ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องฟังรุ่นพี่ รุ่นพ่อที่ไม่ได้ตรงกับที่เขาคิด หรือที่เขาคาดหวังที่จะปฏิบัติตามก็ได้ อันเป็นเสรีภาพในการแสดงออกอันเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของมนุษย์โลก
.
ปัจจุบันศิลปินฮิปฮอปรุ่นใหม่หลายคนเป็นตัวขับเคลื่อนทำให้วงการ T-Pop โด่งดังในระดับภูมิภาคเอเชีย และยุโรป ไม่ว่าจะเป็น #Milli แรปเปอร์สาวที่เป็น Solf Power พาข้าวเหนียวมะม่วงไปไกลถึงเวทีเพลงระดับโลก หรือ #Sprite เจ้าของเพลง 'ทน' เพลงไทยเพลงแรกที่ติดชาร์ต Billboard Global Excl. U.S. เมื่อปีที่แล้ว
.
รวมถึงทางแร็ปเปอร์ RAP AGAINST DICTATORSHIP ที่ได้ทำเพลงสะท้อนการถูกกดขี่ กดทับในสังคมไทย และมีการยกประเด็นทางสังคมที่เป็นต้นกำเนิดเพลงแร็ปสะท้อนสังคมก็ว่าได้
.
ข้อคิดที่ได้วันนี้ : การเริ่มต้นก่อน ไม่ใช่ว่าจะดีกว่าเสมอไป
แหล่งข้อมูลที่ 5 :
.
Read Me - We Shout l The Shout
Living Online Magazine
[Life, Culture, Creative, Spirit]
#TheShout #HipHop #THAITANIUM #ปิตาธิปไตย #ไทยเทเนี่ยม #เพลง #แรปเปอร์ #Milli #Sprite #RapAgainstDictatorship #SolfPower #ประเทศกูมี
โฆษณา