18 พ.ค. 2022 เวลา 13:58 • สุขภาพ
🔰โรคภูมิแพ้ชนิด Atopic dermatitis🔰
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่มีลักษณะเฉพาะคือ​ มีผื่นเป็นแบบ eczema ( = ภาวะการอักเสบของผิวหนัง มีอาการผื่นคัน บวม แดง แต่บางรายอาจเกิดแผลพุพอง มีน้ำหนอง หรือตกสะเก็ดร่วมด้วย)​ ร่วมกับการมีประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ ได้แก่ โรคหอบหืด หรือโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากการแพ้​ (allergic rhinitis)
❇️สาเหตุและปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค
มีปัจจัยทางพันธุกรรม
การมีภูมิคุ้มกันไวเกินของร่างกาย
ความบกพร่องของการสร้างสารให้ความชุ่มชื้นที่ผิวหนังตามธรรมชาติ ทำให้ผิวแห้ง
การได้รับสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ จากสิ่งแวดล้อม​ หรือจากอาหาร
โดยพบว่าหากพ่อหรือแม่หรือพี่น้องท้องเดียวกันเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้จมูก หอบหืด ภูมิแพ้เยื่อบุตา แพ้อาหาร เป็นต้น ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ที่ครอบครัวไม่ได้มีโรคภูมิแพ้ แต่ในผู้ป่วยบางรายก็ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว
💥อาการของโรค
1. วัยทารก จะเริ่มมีผื่นเห็นได้ชัดที่อายุ 3-4 เดือนเป็นต้นไป
ผื่นมีสีแดง ขอบเขตไม่ชัด ผิวหนังไม่เรียบ สาก มีขุย บางครั้งมีน้ำแฉะเยิ้มบนผื่นจากการติดเชื้อโรคซ้ำซ้อน
ส่วนใหญ่พบมีผิวแห้งร่วมด้วย
มีอาการคันมากจนอาจรบกวนการนอนหลับ
พบผื่นได้บ่อยที่ใบหน้าโดยเฉพาะที่แก้ม 2 ข้าง แขน ขา โดยเฉพาะที่บริเวณด้านนอกของแขน ขา ข้อมือ ข้อเท้า บางรายพบมีผื่นบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขาบริเวณหลังเข่า หรืออาจมีขุยคันที่หนังศีรษะได้
การสังเกตอาการคันเมื่อทารกคันจะเอาใบหน้าถูกับที่นอนหรือเริ่มเอามือจิกตัวเอง อาจพบรอยเกาเป็นทางสีแดงได้
ผื่นมักไม่พบในบริเวณที่นุ่งผ้าอ้อมปิดและบริเวณรักแร้
2. วัยเด็กเล็กหลังอายุ 2 ปี จะพบมีผื่นคล้ายในวัยทารกได้
มีอาการเด่นชัดที่บริเวณข้อพับต่างๆได้แก่ ข้อพับแขน ข้อพับขา บริเวณใต้ก้น รอบลำคอ รอบข้อมือ รอบดวงตา โดยเฉพาะที่บริเวณหนังตาบน หลังใบหู ข้อศอก หัวเข่า
บางครั้งเกามากจนมีผิวหนังหนาตัวและสาก โดยเฉพาะที่ข้อพับและรอบลำคอ
3. วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ผื่นจะพบน้อยลงและสามารถเป็นผื่นได้ทั่วๆไป เช่น ตามแขน ขา ลำตัว รอบลำคอ ลำตัวในรายที่มีอาการรุนแรงจะพบมีผื่นเป็นบริเวณกว้าง
มักมีผิวหนังแห้ง มีอาการคันรุนแรง บางรายจะเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณมือและเท้าได้
💥เนื่องจากโรคภูมิแพ้ชนิด Atopic dermatitis เป็นโรคเรื้อรัง หลักการรักษาที่สำคัญคือ
1. ลดอาการคัน (relief pruritus)
2. ควบคุมการอักเสบของผิวหนัง (control inflammation)
3. ดูแลให้ผิวของผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ไม่มีผื่นอยู่เสมอ(maintain skin in disease-free state)
👨‍🔬โดยควรแนะนำดังนี้
• ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
• แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น สบู่ ผงซักฟอก หรือเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์ เสื้อผ้าเนื้อสาก หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ทำให้เหงื่อออกมากๆ
• ค้นหาและควบคุมปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดโรค หรือทำให้โรครุนแรงมากขึ้น เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา เกสรดอกไม้ หญ้า
🎯เมื่อเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังขึ้นแล้ว สามารถทายากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งให้ผลการรักษาที่ดีและทำให้ผื่นยุบได้เร็วมาก
อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ่มนี้จะต้องมีความระมัดระวังในการใช้ และต้องเลือกชนิดของยาให้เหมาะสมกับตำแหน่งบริเวณที่ใช้ยานั้น เนื่องจากอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาตามมาได้หากใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น ผิวหนังบาง แผลแตก เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และยาอาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายก่อให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ต่างๆเช่นเซลล์ต่อมหมวกไต
ดังนั้นก่อนการใช้ยากลุ่มนี้จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้การใช้ยามีประสิทธิภาพมากที่สุดและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
 
💊ในกรณีที่มีอาการคันมากๆ อาจให้ยาแก้แพ้ชนิดกินร่วมกับการใช้ยาทาเฉพาะที่
📌นอกจากนี้ยังมียากลุ่มใหม่คือ​ ยากดภูมิคุ้มกันกลุ่มที่ยับยั้งแคลซินูริน (Calcineurin inhibitors) เช่น​ cyclosporin, tacrolimus​ สามารถควบคุมการอักเสบและการกำเริบของผื่น ซึ่งถูกนำมาใช้ทดแทนยากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
🛑เมื่อมีผื่นเกิดขึ้นควรระวังป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ผิวหนังบริเวณที่เกิดผื่น โดยหลีกเลี่ยงการเกาซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเปิด และหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว เช่นมีหนองหรือคราบน้ำเหลือง​ ควรดูแลแผลโดยการประคบด้วยผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือล้างแผล ซับหมาดๆและประคบลงบนผื่น 10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง และมีการให้ยาปฏิชีวนะชนิดกินหรือยาทาร่วมด้วย
🎡เนื่องจากโรคภูมิแพ้ชนิด Atopic dermatitis เป็นโรคเรื้อรัง​ การรักษาใช้ระยะเวลานาน จึงควรให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ปกครองให้เข้าใจถึงโรค การดำเนินโรค รวมถึงปัจจัยที่กระตุ้นเกิดโรคหรือทำให้โรครุนแรงขึ้น
.
.
📁อ่านเพิ่มเติม
โรคภูมิแพ้ชนิด​ Atopic dermatitis อ.พญ.ดร.จงกลนี วงศ์ปิยะบวร
.
🤔 Case ในร้านยา​
ถ้าสังเกตช่วงนี้จะเห็นคนเป็นผื่นกันเยอะมาก​ แถมผื่นมีลักษณะแปลกๆ​ กระจายเป็นวงกว้างแต่ไม่คล้ายกับงูสวัด​ เกิดได้ทั้งกับเด็กหรือผู้ใหญ่​ อาจจะเนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจากภาวะ​ long covid
.
.
CLIP
ATOPIC-DERMATITIS INTRODUCTION (ไม่​มีเสียง)​
.
ATOPIC DERMATITIS GUIDELINE
.
ATOPIC DERMATITIS DRY SKIN MANAGEMENT (ไม่มีเสียง)​
ATOPIC DAY 2021
Posted 2022.05.18
💥💥
บทความอื่น
👽ผิวหนังอักเสบ(Dermatitis)
ECZEMA
ผิวหนังแค่แพ้หรือติดเชื้อดูแลรักษาอย่างไร
ผดร้อน.
ผื่นผิวหนังโควิด
STEROID LADDER
โฆษณา