Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2022 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
‘ซึม หงอย เศร้า จากอากาศเปลี่ยน’ รู้จักโรค S.A.D ซึมเศร้าตามฤดูกาล
ใครที่รู้สึกเหงามากขึ้น ในช่วงเวลาฝนตก หรือถึงขั้นหดหู่ มีความเศร้าในระดับที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน อาการเหล่านั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ Seasonal Affective Disorder ; S.A.D ซึ่งโรคนี้มักพบในช่วงหน้าหนาวของประเทศที่มีภูมิภาคหนาวยาวนาน สำหรับคนไทยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล อย่างบางช่วงเวลาที่มีเมฆฝนปกคลุมตลอดสัปดาห์ ก็ทำให้ผู้คนมีภาวะซึมเศร้าไม่ต่างกัน
‘ซึม หงอย เศร้า จากอากาศเปลี่ยน’ รู้จักโรค S.A.D ซึมเศร้าตามฤดูกาล
สาเหตุของภาวะดังกล่าวยังไม่แน่นอน แต่มีหลักฐานที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย (circadian phase shift) สารสื่อประสาท และอาจรวมไปถึงพันธุกรรม ผู้ป่วย S.A.D. มักแสดงอาการผิดปกติเช่นเดียวกับผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" ทั่วไป โดยอาการเด่นชัดคือ
- รู้สึกหมดหวัง ไร้ค่า มีอารมณ์เศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- หมดความสนใจในสิ่งที่ตนเองเคยสนใจ
- อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง หมดความกระตือรือร้นจะทำสิ่งต่างๆ
- อยากนอนตลอดเวลา หรือมีปัญหาการนอน เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
- มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป เช่น กินอาหารมากเกินไป หรืออยากกินแป้งและน้ำตาลมากกว่าปกติ
- ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน
- เก็บตัว ไม่ต้องการออกไปพบปะผู้อื่น
หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการครบตามข้อด้านบน แนะนำให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นโรคซึมเศร้า (Major Depressive) จริงๆ ได้ อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา
สำหรับวิธีแก้อาการซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ก็คือการทำกิจกรรมตามปกติของตนเอง แต่อาจจะเพิ่มกิจกรรมบางอย่าง
1
-อย่าอยู่ว่าง ๆ นั่ง ๆ นอน ๆ จะทำให้หมกมุ่นอยู่กับความคิดและอารมณ์เศร้า หากิจกรรมที่ชื่นชอบหรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกายเพิ่มขึ้นทำ เช่น ทำสวนครัว ทำงานบ้าน เล่นดนตรี อ่านหนังสือ ดูทีวี วาดรูป ฯลฯ
-ออกกำลังกาย ข้อมูลจากงานวิจัยที่เชื่อถือได้จากประเทศอังกฤษแสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายเป็นประจำอาจอย่างต่อเนื่องช่วยเรื่องอาการซึมเศร้าได้ ควรมีการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3-5 วัน ถ้าไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน อาจเริ่มจากกิจกรรมที่ทำเป็นประจำอยู่แล้วให้มีการออกแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น การเดินทางไปทำงานด้วยการเดินหรือขี่จักรยาน
-ออกไปพบปะสังสรรค์หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคมเพื่อให้ได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนฝูงหรือทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่
-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตและการเกิดภาวะซึมเศร้า พยายามฝึกนิสัยการนอนที่ดี โดยก่อนนอนควรปิดอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ฝึกผ่อนคลายตัวเองด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การฝึกสมาธิ การฝึกหายใจคลายเครียด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฯลฯ
ทางที่ดีที่สุด เราควรหมั่นสังเกตอาการ การเปลี่ยนแปลงของตนเองถ้ารู้สึกว่าอารมณ์แปรปรวนและเป็นทุกข์มากจนควบคุมตัวเองไม่ได้ควรหาความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดหรือไปพบแพทย์ เพื่อจะได้รับการดูแลและรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ที่มา :
https://nph.go.th/?p=4792
https://www.istrong.co/single-post/seasonal-affective-disorder
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/443/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/
1 บันทึก
2
2
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย