Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทำไมวะ
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2022 เวลา 10:04 • สุขภาพ
ทำไมเราถึงมีกระเพาะที่ 2 สำหรับของหวาน ?
ทำไมเราถึงมีกระเพาะที่ 2 สำหรับของหวาน
หากถามว่ากินของคาวแล้วอิ่มไหม ตอบได้เลยอย่างทันใจว่าอิ่มมาก แล้วถ้าถามเพิ่มไปอีกว่า “บัวลอยไข่เค็ม สักถ้วยไหม ?” หรือจะเป็น “เค้กช็อคโกแลตเนื้อแน่นๆอีกสักชิ้นป่ะล่ะ?” คำตอบก็คือ จัดเลยรับคำท้าไม่ว่าหน้าไหน สั่งมาได้เลย เพิ่มกระเพาะที่ 2 ไว้รอแล้ว 🤣🤣
หรืออาจจะลองคิดเหตุการณืในร้านบุฟเฟต์ปิ้งย่างครั้งล่าสุดของเรา ที่เราฝ่าฟันภารกิจของคาวเสร็จสิ้นไปด้วยดี แต่สงครามยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะเรายังคงไปต่อที่ของหวานได้แบบเต็มสูบ เคยสงสัยในตัวเองกันบ้างไหมคะว่า ในหลาบๆครั้งที่เราอิ่มจนเหมือนท้องจะแตก แต่ก็ยังกินขนม หรือสารพัดของหวานตบท้ายได้อย่างสวยงามอยู่เสมอ เรื่องนี้มีคำตอบอยู่ด้วยล่ะค่ะ
👨⚕#วิทยาศาสตร์ความอ้วนกับฮอร์โมน
ทฤษฎีนี้แอดเองได้มาจากการอ่านหนังสือเรื่อง #วิทยาศาตร์ความอ้วน (The Obesity Code) ที่เขียนโดย ดร.เจสัน เฝิง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ้ดานการดูแลผู้ป่วยโรตไต โดยเฉพาะโรคไตระยะสุดท้าย ที่ ดร.เฝิง ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับ #ปรากฎการณ์กระเพาะที่สอง เอาไว้ดังนี้
สาเหตุที่คนเราสามารถทานสารพัดขนม ของหวาน (ที่ล้วนแล้วเป็นแป้งขัดขาวแทบทั้งสั้น) ต่อท้ายจากอาหารคาวเป็นขบวนได้นั้น สาเหตุสำคัญคือ ร่างกายของเราไม่มีฮอร์โมนความอิ่มสำหรับคาร์โบไฮเดรตขัดสี!!! เราจึงสามารถทานขนมเหล่านี้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จะหยุดก็ต่อเมื่อแน่นท้องสุดๆจนแทบเดินไ่ม่ไหวแล้วเท่านั้น เมื่อเราเจอกับปรากฎการณ์นี้ซ้ำๆก็อาจจะทำให้เราเกิดอาการ “เสพติดอาหาร” ได้เลยค่ะ
ร่างกายของเราไม่มีฮอร์โมนความอิ่มสำหรับคาร์โบไฮเดรตขัดสี!!! เราจึงสามารถทานขนมต่างๆได้อย่างไม่มีสิ้นสุด!!!!
ดร.เจสัน เฝิง
คำถามต่อมาคือ งั้นแบบนี้ร่างกายของเรามีฮอร์โมนความอิ่มสำหรับอาหารประเภทโปรตีนและไขมันเหรอ?
ดร.เฝิง ให้ข้อมูลว่า ร่างกายของเราจะมีฮอร์โมนความอิ่มที่ชื่อ “โคลีซิสโตไคนิน” (Cholecystokinin) และ “เปปไทด์วายวาย” ที่จะตอบสนองต่ออารหารประเภทโปรตีนและไขมันโดยเฉพาะ
เราอาจสังเกตได้ว่าเมื่อเราทานเนื้อหรือไขมันได้ประมาณหนึ่ง เราจะเริ่มอิ่มและแทบจะไม่อยากกินมันเพิ่มอีก หลายๆครั้งที่เรากินเนื้อหรืออาหารมันๆมากเกินไป อาจทำให้เรามึนๆ เวียนหัว และถึงขั้นอาเจียนได้เลย นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนที่หลั่งออกมา ทำให้ร่างกายของเราไม่อยากรับเอาอาหารเหล่านี้เพิ่มได้อีกแล้ว
🧑 #ทฤษฎีความอิ่มทางประสาทสัมผัส (Sensory-Specific Satiry : SSS)
โดย ศาสตรจารย์ Russel Keast (ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทสัมผัสและวิทยาศาสตร์อาหาร มหาวิทยาลัย Deakin)
อธิบายว่า เมื่อเรารับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเข้าไป นอกไปจากการอิ่มท้องแล้วนั้น เราจะยังรู้สึกอิ่มทางประสาทสัมผัส ได้แก่ รูป รส และกลิ่น ได้อีกด้วยค่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อเราทานสเต๊กเนื้อนุ่มๆชิ้นใหญ่จนหมดจาน ร่างกายของเรารู้สึกอิ่มเอมในทุกประสาทสัมผัสแล้ว เราจะรู้สึก “เบื่อ” กับรูป รสและกลิ่นของเนื้อขึ้นมา และไม่อยากกินอาหารเมนูนี้ต่อไป
แต่กลับกันถ้ามีอาหารแบบใหม่ๆ (รูป รส และกลิ่น) เข้ามา เช่น เค้กก้อนโต ของหวานหรือไอศกรีมเชอร์เบท เราจะรู้สึกว่าของกินเหล่านั้นน่าสนใจมาก เพราะมันต่างไปกับเมนูก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง นั่นจึงทำให้เรามองหาอาหารที่แตกต่างออกไปจากอาหารมื้อหลักอยู่เสมอ เข้ากับหลักการกินคาว แล้วต้องปิดท้ายด้วยหวานนั่นเองค่ะ
นอกไปจากนี้งานวิจัยยังเผยข้อมูลว่า ทุกครั้งที่เราได้เห็นขนมหรือของหวานที่หน้าตาสวยงาม แถมกลิ่นยังหอมยั่วยวนใจ ต่อมใต้สมองของเราจะหลั่งสาร “อัลฟาเอ็นไดรฟิน” ออกมา
ส่งผลให้กระเพาะอาหารของเราหลั่งสาร “ออริซิน” ที่กระตุ้นให้กระเพาะอาหารส่วนล่างเกิดการบีบตัว และส่งอาหารที่เรากินเข้าไปแล้วจากกระเพาะไปสู่ลำไส้ไวกว่าเดิม ทำให้เรามีพื้นที่ในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น การทานขนมเบาๆสัก 10-20 ชิ้นหลังมื้ออาหาร จึงไม่ยากอีกต่อไป!!😋
🍡Tips
- ขนม ของหวานต่างๆที่เรา “เสพติด” โดยมากจะเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ล้วนแล้วแต่ผ่านการขัดสีหรือแปรรูปมาอย่างหนัก แทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมของวัตถุดิบ เช่น เบเกอรี่ เค้ก ไอศกรีม มันฝรั่งบด หรือพาสต้า น้อยคนมากๆที่จะตอบว่าอาหารจานโปรดของตัวเองคือ บร็อคโคลี่ แครอท หรือเนื้อหมู
- ของหวานแบบเดิมก็ทำให้เราเบื่อเช่นกันนะ หากให้เราทานเค้กช็อคโกแล็ตต่อเนื่องกันหลายๆชิ้น เราก็จะเบื่อได้เช่นกันค่ะ แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นเค้ก Red Velvet ต่ออีก 2-3 ชิ้น เราก็จะกินเพิ่มได้อีก เพราะเราไม่เบื่อมันแล้ว!! นี่มันยอดนักสู้ชัดๆ
Sources
1.หนังสือ วิทยาศาสตร์ความอ้วน ถอดรหัสศาสตร์แห่งการลดน้ำหนัก ไขความลับสู่สุขภาพดีอย่างยั่งยืน
2.
https://bit.ly/3Brm24r
3.
https://bit.ly/3EtDPtF
4.
https://bit.ly/3nKPGwy
สุขภาพ
อาหาร
สาระน่ารู้
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย