20 พ.ค. 2022 เวลา 07:35 • ประวัติศาสตร์
ย้อนอดีต “โอมชินริเกียว” ลัทธิสะเทือนญี่ปุ่น
หลายสิ่งเหมือนลัทธิ “พระบิดา” ขับเคลื่อนด้วยความสิ้นหวังของมนุษย์
Photo: Reuters, South China Morning Post, Getty Images
เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนคงได้ยินข่าวหนึ่งที่ชวนตกตะลึงและชวนสะพรึงปนแหวะ นั่นคือลัทธิพิสดารที่มีเจ้าลัทธิเรียกตนเองว่า “พระบิดา” (โจเซฟ) และสถาปนาตนว่าเป็นพระบิดาเหนือทุกศาสดาของทุกศาสนาบนโลก
ไม่ต้องตกใจ รีบปิดบทความนี้ไปเพราะกลัวจะเห็นภาพชวนสยองและชวนอ้วกแตก รับรองว่าไม่มีแน่นอนครับ
...
หลังจากที่ผู้เขียนได้ติดตามข่าวของพระบิดานี้แล้ว ชวนให้ย้อนนึกถึงข่าวเมื่อซัก 20 กว่าปีที่แล้วได้ข่าวหนึ่ง ซึ่งเป็นข่าวใหญ่สะเทือนบ้านเมืองสังคมของชาวญี่ปุ่น นั่นคือข่าวการก่อเหตุปล่อยก๊าซพิษทำลายประสาทบนรถไฟใต้ดินกลางกรุงโตเกียว ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งทำให้คนทั่วโลกได้รู้จักกับลัทธิที่ชื่อว่า “โอมชินริเกียว” หรือภาษาอังกฤษคือ “Aum Shinrikyo”
  • ประวัติส่วนตัวของเจ้าลัทธิ “โชโกะ อาซาฮาร่า”
เจ้าลัทธินี้คือ “โชโกะ อาซาฮาระ” มีชื่อจริงว่า “ชิซูโอะ มัตสึโมโตะ” เกิดเมื่อ ค.ศ. 1955 ที่จังหวัดคุมาโมโตะทางตอนใต้ของญี่ปุ่นในครอบครัวทำเสื่อทาทามิที่ยากจน เขาตาบอดเกือบสนิทแต่ข้างขวายังพอมองเห็นเลือนราง และได้ลงเรียนในโรงเรียนของเด็กตาบอด
โชโกะ อาซาฮาระ สมัยตอนเรียนในโรงเรียนมัธยมที่คุมาโมโตะ ที่มาภาพ: mainichi.jp
  • ค.ศ. 1977 เขาจบการศึกษา และได้ออกมาเรียนเกี่ยวกับวิธีฝังเข็มและแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นอาชีพทั่วไปสำหรับคนตาบอดในญี่ปุ่น
  • ค.ศ. 1978 เขาแต่งงานกับภรรยาชื่อ “โทโมโกะ” และมีลูกคนโตสุดในปีเดียวกัน
โชโกะ อาซาฮาระ กับ ภรรยาและลูกสาว (เสื้อสีฟ้า) ที่มาภาพ: https://koreshbabylon.tumblr.com/post/186141697925/the-women-of-aum-shinrikyo
  • เส้นทางจากธุรกิจเล็กๆและโรงเรียนโยคะ จนกลายเป็นลัทธิที่มีสมาชิกมากมาย
  • ค.ศ. 1981 เขาหันมาเปิดร้านขายยาในจังหวัดชิบะ และถูกดำเนินคดีในข้อหาขายยาโดยไม่มีใบอนุญาต โดยถูกปรับเป็นเงิน 200,000 เยน ในยุคนั้น
  • ค.ศ. 1984 เขาเปิดโรงเรียนสอนโยคะ ซึ่งพัฒนามาเป็นลัทธิโอมชินริเกียวต่อมา ในเวลาแค่เพียง 3 ปี
...
ช่วงเวลานั้นในสังคมญี่ปุ่นมีการเติบโตของลัทธิต่างๆ อย่างมาก อันเนื่องมาจากการล่มสลายของ “รัฐชินโต” คือพุทธศาสนานิกายชินโตของญี่ปุ่นที่จักรพรรดิมีสถานภาพเป็นเทพเจ้า ซึ่งถูกลบทิ้งไปโดยอเมริกาหลังจากชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาจึงเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความคิดจะผสมผสานจับเอาแก่นของลัทธิศาสนาเดิมเข้ากับเสน่ห์แห่งความเพ้อฝัน จนเป็นลัทธิของเขาเอง ในชื่อ “โอมชินเซ็นโนะไค”
...
  • ค.ศ. 1985 เกิดการตื่นตัวเรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติ เช่น ยูเอฟโอ การหยั่งรู้ กายทิพย์ การลอยตัว และโทรจิต เขาได้ใช้ความตื่นตัวนี้ลงภาพเขากำลังลอยตัวอยู่กลางอากาศลงบนนิตยสารฉบับหนึ่งในปี ค.ศ. 1986 (รูปหนึ่งบนหน้าปกบทความนี้) พร้อมตีพิมพ์คำพูดว่า “ข้าพเจ้าสามารถลอยตัวอยู่ราว 3 วินาที และจะเพิ่มนานขึ้นเรื่อยๆ”
1
...
เมื่อแนวคิดของเขามีความชัดเจนมากขึ้น เขาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โชโกะ อาซาฮาร่า” พร้อมกับเริ่มไว้หนวดเคราและสวมเสื้อคลุมขาวเหมือนผู้ทรงศีล อาซาฮาร่าปรับเอาแนวคิดจากความเชื่อ ลัทธิ แนวคิด จากศาสนาต่างๆ มาเป็นลัทธิของเขา เช่น พุทธศาสนา นิกายเซน โยคีฮินดู ลัทธิบำเพ็ญตบะ พราหมณ์-ฮินดู ลัทธิอะกอนชู นอสตราดามุส คริสต์ศาสนา เป็นต้น
Photo: Reuters
...
  • ค.ศ. 1987 เขาได้เปลี่ยนชื่อลัทธิเป็น “โอม ชินริเกียว” จดทะเบียนเป็นองค์กรศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของญี่ปุ่นในปี 1989 และเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถดึงดูดผู้ที่มีการศึกษาสูง แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ทนายความเข้ามาเป็นสาวกทั่วประเทศญี่ปุ่นได้ 11,000 คน (จุดพีค)
  • ความเชื่อและโครงสร้างของลัทธิ
ด้วยความที่เป็นคนตาบอดและวางท่าทางเป็นผู้ทรงความรู้ ทำให้เขาดูเหมือนผู้วิเศษ และมีสาวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการสร้างสำนักหลายแห่งหรือจะเรียกว่าเป็น “สถานที่ล้างสมอง” ก็ว่าได้ เพราะเป็นการนำคนเข้าไปอยู่ในที่จำกัด ตัดขาดจากโลกภายนอก และสั่งให้ทำอะไรซ้ำๆ เพื่อสลายตัวตนจนหลายต่อหลายคนตัดขาดกับครอบครัวตัวเองและทุ่มทรัพย์ส่วนตัวทั้งหมดให้กับลัทธิ
3
...
  • ความเชื่อและศรัทธาที่สาวกมีต่อเจ้าลัทธินี้
  • นายอาซาฮาระอ้างว่า เขาเป็นพระศิวะอวตาร และบอกว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 จะเกิดขึ้น มุ่งเน้นไปที่ “วันสิ้นโลก” จะมาถึงในไม่ช้า และเขาจะเป็นผู้นำพาสาวกทั้งหลายไปสู่การปลดปล่อย
  • สาวกหลายคนยอมจ่ายเงินมากมายเพื่อที่จะได้รับ “สารคัดหลั่ง” ต่างๆ จากร่างกายเขา หรือยอมดื่มน้ำที่เขาอาบตัว เพราะเชื่อว่ามีพลังศักดิ์สิทธิ์อยู่
1
  • สวมหมวกไฟฟ้าที่อ้างว่าสามารถเชื่อมต่อกับสมองของนายอาซาฮาระได้
สาวกสวมหมวกไฟฟ้า เชื่อว่าเพื่อเชื่อมต่อกับสมองของเจ้าลัทธิได้ เครดิตภาพ: Nikkei Asia
โอมชินริเกียวไม่เพียงแต่มีเงินบริจาคมากมายจากบรรดาสาวก แต่ยังทำธุรกิจอาหารสุขภาพ จนสามารถซื้อที่ดิน ขยายสาขาต่างๆ ไปทั่วประเทศญี่ปุ่นและในต่างประเทศ และยังมีการจัดตั้งหน่วยล่าตัวผู้ทรยศที่ออกจากลัทธิไปอีกด้วย
...
  • ค.ศ. 1989 ทนายความคนหนึ่งที่วิจารณ์ลัทธิโอมชินริเกียว ถูกสังหารโหดพร้อมภรรยาและลูกชายวัย 1 ขวบ จุดชนวนให้หน่วยงานความมั่นคงของญี่ปุ่นเริ่มตระหนักถึงอิทธิพลของลัทธินี้
1
ภาพทนายกับครอบครัว เชื่อว่าถูกลัทธิโอมชินริเกียวสังหารโหด เครดิตภาพ: NHK News
...
โอมชินริเกียวมีการจัดระเบียบองค์กรที่ดีไม่แตกต่างจากรัฐบาล โดยแบ่งงานเป็น “กระทรวง” ต่างๆ และให้สาวกหนุ่มสาวที่มีความสามารถเป็น “รัฐมนตรี” สาวกหลายรายถึงขนาดยอมละทิ้งครอบครัวมาอยู่ในที่พักของทางลัทธิแบบถาวร
  • เริ่มต้นสร้างอาณาจักรแห่งความสยดสยอง
  • ค.ศ. 1990 เขาพร้อมสาวกอีก 24 คนลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อเล่นการเมืองในระบบไม่รุ่ง เขาก็หันเล่นเกมใต้ดินด้วยการติดต่อซื้อปืนกลและเฮลิคอปเตอร์จากรัสเซีย พร้อมจัดตั้งหน่วยพัฒนาอาวุธเคมีและอาวุธเชื้อโรค
  • ค.ศ. 1993 เขามาตั้งฐานปฏิบัติการของลัทธิใกล้กับภูเขาฟูจิ เรียกว่า “ศูนย์ฟูจิ” โดยใช้เงินกว่า 10 ล้าน USD โดยฐานแห่งนี้มีทั้งสำนักงาน แผนกวิจัยวิทยาศาสตร์ ห้องขัง โรงพิมพ์ คลินิก รวมทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ลับ เรียกว่าเป็นอาณาจักรครบวงจรเลยก็ว่าได้
สาวกทั้ง 12 คน และคีย์แมนสำคัญของลัทธิโอมชินริเกียว เครดิตภาพ: NHK News
...
  • Kiyohide Hayakawa คือสาวกคนสนิทข้างตัวอาซาฮาระ มีส่วนสำคัญในการขยายสาขาทั่วโลก และพัวพันกับคดีฆ่ายกครัวทนายที่เป็นปรปักษ์กับลัทธิในปี 1989
  • Masami Tsuchiya คือหัวหน้าการวิจัยและพัฒนาของลัทธิ เพื่อผลิตอาวุธมรณะ ทั้งแก๊สพิษซาริน อาวุธเชื้อไวรัส และสาร VX ที่ทำลายระบบปราสาท
  • Tomomasa Nakagawa คือแพทย์ที่ทำงานให้กับโอมชินริเกียว และเป็นแพทย์ส่วนตัวของอาซาฮาระด้วย เขาเคยเขียนจดหมายถึงหน่วยสืบสวนของมาเลเซียให้ข้อมูลว่า สาร VX คือสารพิษที่ใช้ลอบสังหารนายคิม จ็องนัม พี่ชายของผู้นำแห่งเกาหลีเหนือที่มาเลเซีย แสดงให้เห็นว่าสาวกของลัทธินี้ล้วนไม่ธรรมดา ระดับหัวกะทิ
2
...
  • ซารินมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทโดยเบื้องต้นเมื่อสูดดมก๊าซนี้จะทำให้น้ำมูกน้ำลายไหล แน่นหน้าอก ม่านตาหดเหลือเท่าหัวเข็มหมุด ตาพร่ามัว กล้ามเนื้อเกร็ง เหงื่อออกมากผิดปกติ คลื่นเหียน อาเจียน หายใจลำบาก ไม่สามารถกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะได้ จากนั้นอาการจะรุนแรงมากขึ้นจนเริ่มชักกระตุก ซวนเซ สับสน ปวดหัวรุนแรง อัมพาต โคม่า และจะเสียชีวิตเนื่องจากหายใจไม่ออกเพราะซารินไปทำลายระบบหายใจ
3
  • ก่อการร้ายและสร้างความหวาดกลัวให้คนญี่ปุ่นและทั่วโลก
  • 27 มิถุนายน ค.ศ. 1994 สาวกโอมชินริเกียวปล่อยแก๊สพิษซารินที่กลางเมืองมัตสึโมโต จังหวัดนากาโน มีผู้เสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บกว่า 100 คน
  • 20 มีนาคม ค.ศ. 1995 สาวกโอมชินริเกียวปล่อยแก๊สพิษซารินในรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ 13 คน มีผู้บาดเจ็บ 6,200 ราย โตเกียวกลายเป็นแดนมิคสัญญีที่ต้องใช้กองกำลังป้องกันตนเองพร้อมขุดป้องกันก๊าซพิษเข้าควบคุมสถานการณ์
2
ภาพเหตุการณ์การปล่อยแก๊สซารินในรถไฟใต้ดินกรุงโตเกียว ปี 1995 ที่มาแฟ้มภาพ: BBC News
...
สมาชิกลัทธิฯจำนวน 5 คน มีเป้าหมายโดยตรงและเจตนาโจมตีประชาชนชาวญี่ปุ่นที่กำลังเดินทางด้วยรถไฟใต้ดินในกรุงโตเกียว โดยเลือกช่วงเวลาประมาณ 8 โมงเช้า เป็นช่วงเวลาที่มีคนพลุกพล่านมากที่สุด ทั้ง 5 คนเลือกนั่งขบวนรถไฟที่จะผ่านย่านคาซูมิกาเซกิในเวลาพร้อมๆ กันเพื่อปฏิบัติการ เนื่องจากย่านนี้เป็นย่านที่ตั้งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลญี่ปุ่น
ขั้นตอนปฏิบัติการเริ่มจากพวกเขาจะห่อถุงก๊าซด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะนำไปวางในขบวนรถไฟแล้วใช้ของปลายแหลม เช่น ปลายร่ม ทิ่มถุงให้ทะลุ จากนั้นเวลาประมาณ 8:10 ทีมทั้ง 5 คนได้ขึ้นจากสถานีรถไฟใต้ดินแล้วก็แยกกันขึ้นรถที่คอยเตรียมไว้หลบหนีไปเซฟเฮาส์
3
  • การต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม สุดท้ายจบที่การประหารแขวนคอ
1
  • 22 มีนาคม ค.ศ. 1995 หลังเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายในโตเกียว 2 วัน ตำรวจบุกตรวจค้นศูนย์ที่ทำการของลัทธิโอมฯ ทั่วประเทศ โดยที่ศูนย์ฟูจิพบสารเคมีจำนวนมาก สำหรับทำสารกระตุ้น ทำวัตถุระเบิด รวมไปถึงสารประกอบสำคัญของซาริน
  • 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 ตำรวจนำกำลังตรวจค้นสำนักงานใหญ่ของลัทธิโอมชินริเกียว และสามารถเข้าไปจับตัวอาซาฮาระที่ซ่อนอยู่ในห้องลับเล็กๆห้องหนึ่ง ออกมาเพื่อดำเนินคดีได้
อาซาฮาระ ขณะถูกคุมตัวเพื่อไปดำเนินคดี ที่มาภาพ: mainichi.jp
...
หลังจากถูกจับกุมและดำเนินคดี สาวกที่เป็นแกนนำของโอมชินริเกียวรับสารภาพเกือบทั้งหมด อ้างว่าการฆาตกรรมเป็นหนทางหนึ่งเพื่อปลดปล่อยมนุษยชาติ
...
1
แต่เจ้าลัทธิอย่างอาซาฮาระปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยอ้างว่าเขาได้ห้ามสาวกแล้ว แต่พวกเขาไม่เชื่อ หลังจากนั้นอาซาฮาระก็ไม่บอกอะไรในชั้นศาลอีกเลย พร้อมทำตัวเหมือนคนเสียสติ (กฎหมายของญี่ปุ่นจะไม่ประหารชีวิตคนที่สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์) แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับก่อนหน้านี้ที่ถึงขนาดเคยตั้งโต๊ะแถลงข่าวตอบโต้หน่วยงานความมั่นคงของญี่ปุ่นอย่างดุเดือด ที่เพิกถอนให้โอมชินริเกียวเป็นลัทธินอกกฎหมาย
ในญี่ปุ่น การลงโทษประหารชีวิตจะไม่เกิดขึ้นหากผู้สมรู้ร่วมคิดของนักโทษยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดี เนื่องจากอาจจำเป็นต้องให้ผู้ต้องหาให้การเป็นพยานในศาล
1
...
  • การพิจารณาคดีอาญาของสมาชิกลัทธิทั้งหมดสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2018 เป็นการปูทางสู่การประหารชีวิตเจ้าลัทธิและสาวกแกนนำทั้งหมด 13 คน ด้วยวิธีแขวนคอ เมื่อช่วง กรกฎาคม 2018 เป็นการปิดฉากลัทธินี้ที่มีมาอย่างยาวนานในญี่ปุ่น
2
อย่างไรก็ตามหลังเจ้าลัทธิและแกนนำทั้งหมดถูกประหารไปแล้ว แต่อุดมการณ์ยังคงเหลืออยู่ แต่เปลี่ยนชื่อ และยังคงอยู่ในรูปแบบกลุ่มต่างๆกระจายกันออกไป ทางเจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นได้เพียงเฝ้าระวังจับตามองกลุ่มเหล่านี้ และต้องมีการรายงานทรัพย์สินอยู่เป็นระยะ รวมถึงสามารถให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นได้ถ้าจำเป็น เพื่อสืบสวนและป้องกันเหตุร้ายไม่ให้เกิดขึ้นอีก
1
  • ข้อคิดจากเหตุการณ์ของลัทธินี้
  • ในยุค 1980 จริงอยู่ที่ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจที่ดีมาก แต่ยิ่งดีมาก ทำให้มีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากเช่นกันกลับไม่มีความสุขกับลัทธิบริโภคนิยมและการแข่งกันร่ำรวย พวกเขาต้องการความสุขทางใจมากกว่าความสุขจากวัตถุ จึงถูกดึงดูดให้เข้าสู่ลัทธิประหลาดแบบไม่ลืมหูลืมตา
  • ด้วยความที่ศาสนาหลักๆ ของญี่ปุ่นเช่นพุทธและชินโตไม่ได้มีกิจกรรมหมู่เป็นจริงเป็นจัง เช่น เข้าวัดฟังธรรม หรือพบปะกันในหมู่ผู้เคารพ ทำให้ลัทธิใหม่ๆ เหล่านี้เข้ามาเติมเต็มช่องว่างในความต้องการทางใจ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกสังคมในรูปแบบลัทธิความเชื่อ
เมื่อเหล่าสาวกถูกชี้นำแบบไม่มีข้อกังขาแล้ว สุดท้ายก็นำมาซึ่งเหตุการณ์ร้ายอย่างที่ได้เล่ามาข้างต้นนี้
  • ในไทยก็เช่นกัน สังคมมีความเจริญทางวัตถุมากขึ้นและมากขึ้น แต่สิ่งที่คนกลับถอยหลังคือความเจริญทางจิตใจ และเมื่อไม่มีศาสนาหรือความเชื่อที่สามารถให้การชี้นำหรือถูกยอมรับจากพวกเขา การหันเข้าไปสู่ความเชื่ออื่นๆแปลกๆและพิสดาร หรือจะเรียกว่าลัทธิ จึงมีให้เห็นเกิดขึ้นตามในข่าวช่วงที่ผ่านมา
1
เรียบเรียงและสรุปข้อคิดโดย Right SaRa
20th May 2022
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
David E. Kaplan and Andrew Marshall. (2544). โอมชินริเกียว ลัทธิมหาภัย. แปลโดย โรจนา นาเจริญ. กรุงเทพฯ: มติชน.
โฆษณา