20 พ.ค. 2022 เวลา 13:22 • หนังสือ
📚 รีวิวหนังสือ The Ride of a Lifetime บทเรียนการทำงานและความเป็นผู้นำจากอดีต CEO ของ Walt Disney Company (Part II) 📚
1
👉🏻 ใน Part I นั้นผมได้เล่าไปแล้วว่า Robert หรือ Bob Iger นั้นไต่เต้าจากพนักงานมาจนถึงตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Walt Disney Company ได้อย่างไร
ในช่วงท้ายของตอนที่แล้วได้เกริ่นเอาไว้ว่าเมื่อ Bob ได้รับการรับเลือกจากบอร์ดบริหารของดีสนีย์แล้วว่าให้ดำรงตำแหน่งเป็น CEO นั้น Bob บอกว่ามีสิ่งเร่งด่วน 3 สิ่ง ที่เค้าต้องทำเป็นสิ่งแรกเลยหลังจากเป็น CEO ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า “Respect” หรือ การเคารพคนอื่นครับ ถึงทำได้สำเร็จครับ
ใครที่พลาดตอนแรกไปสามารถไปอ่านได้ที่นี่ครับ 👇🏻
……………..
“The Power of Respect”
1️⃣ สิ่งแรกเลยที่เค้าต้องจัดการคือปัญหากับ Roy Disney อดีตบอร์ดบริหารที่มีปัญหาไม่ชอบ CEO ตั้งแต่คนก่อนหน้าเค้าคือ Michael Eisner และโยงต่อเนื่องมาถึงตัว Bob เองด้วย และที่สำคัญยังสร้างปัญหาใหญ่ให้กับภาพลักษณ์ของบริษัทพอสมควรเนื่องจากเค้า discredit Michael อย่างหนัก และถึงขนาดสร้างเว็บไซต์ SaveDisney.com ขึ้นมาเพื่อโจมตี Disney แถมยังทำเรื่องฟ้องร้องบริษัทเป็นเรื่องใหญ่โตมากเลยครับ 😱
💡 ถามว่าแล้ว Bob ทำอย่างไรบ้างครับให้ Roy ยอมยุติการสร้างปัญหาให้กับดีสนีย์ครับ?
Roy Disney ผู้ซึ่งเป็นหลานแท้ ๆ ของ Walt Disney (ผู้ก่อตั้งบริษัท) นั้นโดยลึก ๆ แล้วรักและผูกพันกับบริษัทดีสนีย์อย่างมาก แต่โดนบีบให้ต้องลาออกจากบอร์ดไปเมื่อปี 2003 ทำให้รู้สึกว่าไม่ได้รับการเคารพและให้เกียรติจากบริษัทเลย
⭐️ โดยเริ่มต้น Bob ได้ทำการพูดคุยหารือกับนักกฎหมายประจำตัวของ Roy เพื่อรับฟังปัญหาอย่างจริงใจ หลังจากนั้นเค้าถึงได้นัดคุยกับ Roy อย่างเปิดอก ทำให้เค้าเข้าใจ Roy มากขึ้นถึงการที่ Roy ไม่ได้รับการเคารพ และด้วยความภาคภูมิใจมาก ๆ ในความเป็นคนเก่าคนแก่ของดีสนีย์ รวมถึงอีโก้ในตัวทำให้มันเป็นเรื่องที่เค้าทำใจรับไม่ได้ เมื่อโดนกระทำแบบนี้จาก CEO คนก่อนหน้า
Bob จึงเสนอให้ Roy ได้กลับเข้ามาในดีสนีย์ที่เปรียบเสมือนบ้านของเค้าอีกครั้งในฐานะที่ปรึกษาพิเศษและให้สิทธิ Roy ในการไปเปิดตัวหนังเรื่องใหม่ ๆ ของดีสนีย์ รวมไปถึงการเปิดตัวสวนสนุกแห่งใหม่และงานใหญ่ ๆ ต่าง ๆ
โดยให้ค่าตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ กับ Roy ในตำแหน่งที่ปรึกษานี้ ซึ่งจะช่วยทำให้ Roy เหมือนได้กลับมาบ้านหลังเก่าอย่างดีสนีย์อีกครั้งหนึ่ง แลกกับการที่ Roy ต้องหยุดทำทุกอย่างที่ทำลาย Disney ทั้งเรื่องของการปิดเว็บไซต์ที๋โจมตีดีสนีย์รวมไปถึงการที่จะทำเรื่องฟ้องร้องด้วย ทำให้สุดท้ายคนอย่าง Roy นั้นยอมทำตามข้อตกลงนี้ครับ
🌟 Bob ได้ให้บทเรียนในเรื่องนี้ไว้ว่าคนอย่าง Roy นั้นต้องการ “Respect” อย่างมาก
1
การที่เค้าให้ข้อเสนอที่ตอบสนองในสิ่งที่ Roy ต้องการนี้ได้ทำให้บริษัทนั้นได้ประโยชน์มากกว่า เนื่องจากข้อเสนอนี้มีต้นทุนที่น้อยกว่าเทียบกับการที่เค้าจะต่อสู้กับเรื่องแบบนี้รวมไปถึงเรื่องการฟ้องร้องให้ถึงที่สุด
ซึ่งเค้าบอกจริง ๆ แล้วเค้าไม่จำเป็นต้องไปคุยดี ๆ กับ Roy ก็ได้และสามารถจะต่อสู้การฟ้องร้องไปให้ถึงที่สุด แต่สุดท้ายแล้วน่าจะทำให้บริษัทต้องสูญเสียหลาย ๆ อย่างทั้งต้นทุนที่มากกว่ารวมถึงภาพลักษณ์ของบริษัทอีกด้วย
1
👉🏻 การที่เราพยายามทำความเข้าใจ คือมี “empathy” และปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างให้ความเคารพนั้นทำให้เรื่องที่ยากหรือเป็นไปไม่ได้นั้นสามารถเป็นไปได้โดยไม่น่าเชื่อครับ
2️⃣ สิ่งถัดมาอย่างที่สองที่ Bob ต้องจัดการแก้ไขก็คือความสัมพันธ์กับ Steve Jobs และบริษัท Pixar
ต้องเกริ่นก่อนว่าก่อนหน้าที่ Bob จะเป็น CEO นั้น ทางดีสนีย์นั้นมีปัญหาที่ไม่ลงรอยกับ Pixar อย่างมากในการร่วมงานกัน ทำให้ Steve Jobs นั้นไม่ชอบเอาเสียเลยครับและบอกไว้ว่าจะไม่ร่วมงานกับทางดีสนีย์อีกต่อไป
1
แต่เนื่องด้วย Bob นั้นมองเห็นโอกาสทางธุรกิจและศักยภาพที่สูงมาก ๆ ในการทำหนังอนิเมชั่นของ Pixar ที่มีตัวอย่างหนังที่โด่งดังมาก ๆ อย่าง Toy Story และต้องการให้ดีสนีย์นั้นจับมือเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจในอนาคต
Bob จึงได้ตัดสินใจโทรหา Steve Jobs เล่าให้ฟังถึงไอเดียที่ว่าเค้าอยากทำสิ่งที่คล้าย ๆ กับ iPod ที่บรรลุรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ ของ Disney ไว้สำหรับดูเมื่อไหร่ก็ได้
ซึ่งเค้าเรียกชื่อมันว่า “iTV” ซึ่งปรากฏว่า Steve Jobs นั้นสนใจครับ เนื่องจากเค้ากำลังทำสิ่งที่คล้าย ๆ กัน อยู่และหลังจากนั้นเค้าได้บินมาเจอกับ Bob แล้วก็โชว์ iPod แบบใหม่ที่สามารถเล่นวิดีโอได้ ซึ่งจะทำให้คนสามารถดูวิดีโอต่าง ๆ ได้บน iPod ไม่ใช่แค่ฟังเพลงเหมือนแต่ก่อน
หลังจากนั้น 5 เดือนดีสนีย์ก็ได้ร่วมมือกับ Apple นำเอารายการโชว์ต่าง ๆ ของดีสนีย์มาใส่ไว้ใน iTunes ให้ดาวน์โหลดและสามารถดูได้ผ่านทาง iPod นั่นเองครับ
🌟 สิ่งที่ Bob ได้ทำก็คือการมี empathy และ respect ในตัวของ Steve Jobs ซึ่งแตกต่างจากที่ Steve Jobs ได้รับจาก CEO คนก่อนหน้า นอกจากนี้ Bob ยังแสดงให้เห็นความจริงใจและเอาจริงกับการต้องการความร่วมมือกับ Steve Jobs ซึ่ง Steve Jobs ยังเคยพูดว่า เค้าไม่เคยเจอใครในธุรกิจด้านสื่อบันเทิงที่กล้าที่จะเสี่ยงและ disrupt ธุรกิจของตัวเองแบบ Bob มาก่อนเลย
1
หลังจากนั้นดีสนีย์ก็ทำการเข้าซื้อบริษัท Pixar ของ Steve Jobs ด้วยมูลค่าที่สูงถึง 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อมาบบรรลุเป้าหมายการเติบโตของดีสนีย์ที่ช่วงหลังการทำหนังอนิเมชั่นนั้นไม่สามารถสู้ทาง Pixar ได้เลย ดีลที่สำคัญดีลนี้ก็ได้มาจากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง Bob กับ Steve นั่นเองครับ 👍🏻
3️⃣ สิ่งถัดมาที่ Bob บอกว่าต้องรีบจัดการคือ การจัดการกับหน่วยงาน Strategic Planning ครับ 😆
1
อย่างที่เคยเกริ่นไว้ในตอนที่แล้วครับว่าเมื่อ Bob ได้เข้ามาทำงานกับดีสนีย์ เค้ามองเห็นวัฒนธรรมองค์กรที่เค้าไม่ชอบเลยคือ ความเชื่องช้าในการตัดสินใจที่ทุกอย่างต้องวิ่งผ่านไปหาหน่วยงาน Strategic Planning ในการจะตัดสินใจทั้งหมด
หลังจากเค้าได้รับตำแหน่ง CEO ไม่นาน เค้าได้รับเชิญให้เข้าประชุม ๆ หนึ่งที่เกี่ยวกับการตั้งราคาค่าตั๋วค่าเข้าของดีสนีย์แลนด์ที่ฮ่องกง ซึ่งการประชุมครั้งนั้นถูกเรียกโดย Peter Murphy ที่เป็นหัวหน้าของหน่วยงาน Strategic Planning ที่ต้องการที่จะแน่ใจว่าคนที่หน้างานสามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง
ซึ่งหลังจากที่ Bob ได้ทราบเค้าจึงสั่งยกเลิกประชุม และบอกว่า คนที่ดูแลดิสนีย์แลนด์ที่ฮ่องกงควรจะตัดสินใจเรื่องราคาได้เอง ถ้าไม่สามารถทำได้ เค้าก็ไม่ควรทำงานนี้แล้ว ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายหน่วยงาน Strategic Planning ออกไปแล้วเอาไปรวมกับส่วนอื่น
1
หน่วยงาน Strategic Planning นี้ถูกตั้งขึ้นมาโดยต้องการให้ดูแลเกี่ยวกับการตัดสินใจในธุรกิจสำคัญ ๆ ของดีสนีย์ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปหน่วยงานนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นมามากและมีอิทธิพลมากต่อการตัดสินใจต่าง ๆ ของบริษัทอย่างมาก ทำให้คนที่ทำงานหรือผู้บริหารในแต่ละส่วนงานนั้นไม่ได้ตัดสินใจทางธุรกิจด้วยตัวเอง
นอกจากนี้เมื่อบริษัทโตมากขึ้นเรื่อย ๆ กระบวนการตัดสินใจตรงนี้ก็จะใช้เวลานานมาก ๆ กว่าจะเก็บข้อมูลมาจากหน่วยธุรกิจนั้น ๆ เอามาวิเคราะห์ ทำตัวเลข ต่าง ๆ นานา ซึ่ง Bob มองว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงตรงนี้เพื่อความคล่องตัวและตัดสินใจได้ไวมากขึ้น
💡 หลังจากนั้นเค้าจึงลดขนาดหน่วยงานนี้ลงจากที่มีพนักงานถึง 65 คนเหลือเพียง 15 คนเพื่อไว้ตัดสินใจในเรื่องของการควบรวมกิจการที่ตอบโจทย์เป้าหมายทั้ง 3 ข้อภายใต้การบริหารของ Bob เท่านั้นและจะกระจายการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ ออกไปให้กับผู้บริหารในแต่ละหน่วยงาน ซึ่ง Bob บอกว่าการจัดการหน่วยงานนี้เป็นความสำเร็จหลักอันหนึ่งเลยที่เป็นรากฐานความสำเร็จต่อมาของ Disney จวบจนถึงทุกวันนี้ครับ
……………..
”If you don’t innovate, you die” 💡
นอกจากสามสิ่งที่เล่าไปข้างต้นแล้ว ก็ยังมีอีกอย่างที่ Bob ต้องทำเพื่อการเติบโตในระยะยาวของบริษัทครับ
👉🏻 ซึ่งหนึ่งใน strategic priorities ของ Bob ในการบริหารงานในฐานะ CEO ของดีสนีย์ ที่ได้เล่าไปในตอนที่แล้วคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้พัฒนาอย่างเต็มกำลัง ซึ่ง Bob เห็นแล้วว่าอุตสาหกรรมที่ดีสนีย์กำลังอยู่นี้กำลังมีการเปลี่ยนแปลงและจะถูก disrupt แน่ ๆ จากธุรกิจ streaming ที่กำลังเติบโต (อย่าง Netflix) ซึ่งทำให้เค้าเป็นกังวลอย่างมาก และต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังในเรื่องนี้
การเปลี่ยนแปลงนั้นก็คือการใช้ platform เพื่อที่จะส่งรายการ โชว์ หนังต่าง ๆ ของ Disney ไปสู่ลูกค้านั่นเองครับ ซึ่งการจะเข้าไปสู่ธุรกิจนี้ก็เหมือนการ disrupt ธุรกิจดั้งเดิมของดิสนีย์ไปด้วยเช่นกัน
สิ่งแรกที่เค้าคิดคือดีสนีย์ควรจะสร้าง platform ของตัวเองขึ้นมาหรือควรจะเข้าไปซื้อบริษัทที่มี platform อยู่แล้วดี?
ทางดีสนีย์เองก็มองแนวคิดการเข้าซื้อบริษัทไว้หลายบริษัท และรู้มั้ยครับว่า Twitter (ที่เพิ่งโดนซื้อไปโดย Elon Musk) นั้นก็เคยเป็นเป้าหมายในการเข้าซื้อของดีสนีย์ด้วยนะครับ
โดยดีลนั้นก็ใกล้จะสำเร็จแล้วเลยโดยทางบอร์ดบริหารของดีสนีย์ได้อนุมัติดีลนี้แล้วด้วยซ้ำแต่เป็นตัว Bob เองที่ขอยกเลิกเนื่องจากเค้ามองเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับแบรนด์ของ Disney หากมีการใช้ platform ของ Twitter ในการเข้าหาลูกค้า Bob ได้บอกไว้ว่าเค้าเชื่อในสัญชาติญาณของเค้าที่เค้ารู้สึกว่าดีลนี้ยังไม่ใช่สำหรับบริษัท
“If something doesn’t feel right to you, then it’s probably not right for you”
👉🏻 สุดท้ายก็มาลงตัวที่ว่าในเวลาเดียวกันดีสนีย์นั้นได้ลงทุนในบริษัทที่ชื่อว่า “BAMTech” อยู่แล้วซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ online streaming ในด้านกีฬาเบสบอลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หลังจากนั้นดิสนีย์ก็ได้ลงทุนเพิ่มและในที่สุดก็เข้าซื้อเพื่อที่จะควบคุมแลละใช้เป็นรากฐานในการพัฒนา platform ของดีสนีย์ขึ้นมาเอง นั่นก็คือ “Disney+” ที่เราเห็นกันทุกวันนี้นั่นเองครับ 🤩
แต่ก่อนที่จะทำ Disney+ ของตัวเองออกมา เราน่าจะเคยเห็นหนังของดีสนีย์ (รวมถึงหนังของ Pixar หนัง superhero ของ Marvel ทั้งหมดและหนัง Star Wars ทั้งหมดที่ดีสนีย์ได้ทำการซื้อกิจการมาหมดแล้ว) นั้นมีให้ดูใน Netflix หนึ่งใน streaming platform ที่ร้อนแรงแห่งยุค
1
ซึ่งแน่นอนครับว่าการจะเปลี่ยนแปลงมาทำ platform ของตัวเองนั้น ทางดีสนีย์ต้องสูญเสียรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ในส่วนนี้เป็นเงินหลายร้อยล้านเหรียญเลยนะครับ 💸 และอีกทั้งในช่วงแรกคงต้องมีการขาดทุนอย่างแน่นอน ซึ่งจะเป็นความกดดันมาก ๆ ในช่วงแรกของการเริ่มธุรกิจนี้เพื่อที่จะแลกกับการเติบโตในระยะยาวที่ในฐานะผู้นำ ต้องสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจให้ได้
ซึ่งเค้าบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยนะครับที่จะทำให้ทุกคนเข้าใจ ตัวเค้าเองต้องมีการสื่อสารพนักงานว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นั้นสำคัญและจำเป็นต้องทำ อีกทั้งตัวเค้าต้องไปขออนุมัติจากบอร์ดบริหารให้มีการปรับ incentive ให้สอดคล้องกับสิ่งที่กำลังจะทำซึ่งเป็นสิ่งใหม่สำหรับดีสนีย์ครับ
💡การที่เราจะตัดสินผลงานหรือการให้ผลตอบแทนด้วยการวัดความสำเร็จในรูปแบบเดิมคงไม่อาจตอบโจทย์และช่วยผลักดันให้พนักงานช่วยกันสร้างสิ่งใหม่นี้ได้ ซึ่งเค้าได้เสนอให้ปรับผลตอบแทนให้กับผู้บริหารให้สอดคล้องกับการพัฒนาและลงแรงกับกลยุทธ์ใหม่นี้ โดยการเสนอให้หุ้นเป็นผลตอบแทน ทั้งที่ดีสนีย์ไม่เคยทำแบบนี้มาก่อน
“When you innovate, everything needs to change, not just the way you make or deliver a product. Many of the practices and structures within company need to adapt, too” ☀️
“I know why companies fail to innovate… It’s tradition. Tradition generates so much friction, every step of the way”
สิ่งที่ทำให้บริษัทนั้นล้มเหลวในการจะทำอะไรใหม่ ๆ ก็คือการทำอะไรเดิม ๆ ต่อเนื่องกันมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละครับเค้าบอกว่าเป็นแรงเสียดทานที่ใหญ่มากต่อการพัฒนาหรือทำอะไรใหม่ ๆ นั่นเองครับ ✅
1
……………..
📌 สำหรับหนังสือ “The Ride of a Lifetime” เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่อ่านสนุกมาก ๆ เลยครับ Bob Iger นั้นเขียนเล่าเรื่องได้น่าติดตาม และที่สำคัญให้แนวคิดการบริหารงานและความเป็นผู้นำเยอะมากจริง ๆ ครับ โดยเฉพาะการบริหารองค์กรที่ต้องการ innovation หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่ต้องบอกว่าทำไม่ง่ายเลยนะครับ สำหรับองค์กรขนาดใหญ่อย่าง Walt Disney Company
2
ซึ่งเดี๋ยวผมจะหาเวลาทำสรุปเรื่องความเป็นผู้นำโดยเฉพาะมาให้ได้อ่านกันครับ 🙂
📍 สิ่งที่ผมเองได้เรียนรู้จาก Bob Iger ในหนังสือเล่มนี้นั้นเยอะมาก ๆ เลยครับ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างโดดเด่นในตัวเค้าก็คือ empathy และ respect ที่ทำให้เค้าสามารถปิดดีลขนาดใหญ่ได้สำเร็จหลาย ๆ ดีล ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ดีสนีย์นั้นเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้เรื่องของความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของบริษัทด้วยเช่นกันครับ เพราะถ้าไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเสียตั้งแต่ตอนนี้ เราก็อาจจะไม่สามารถเอาตัวรอดได้ในโลกปัจจุบันครับ…🌈
“If you don’t innovate, you die.”
#TheRideofALifeTime #BookReview #รีวิวหนังสือ #สิงห์นักอ่าน
ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook : สิงห์นักอ่าน
โฆษณา