20 พ.ค. 2022 เวลา 18:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ผมเองไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็พอจะจินตนาการได้แบบนี้ครับ
1) “Low wings VS High wing”
เห็นชัดๆว่าเป็นเรื่องของ “Wing Configurations” หรือลักษณะของ “ปีกเครื่องบิน” ที่มีหลากหลายตาม “จุดประสงค์ของการออกแบบ”
ชัดเจนว่า C-130 เป็นเครื่องบินลำเลียงทางทหาร (Military logistics) ซึ่งสามารถบรรทุก รถหุ้มเกราะหรือรถถังขนาดเบาได้ และเครื่องรุ่นนี้มีปีกแบบ High wings
ส่วนเครื่องบินพานิชย์ ขนาดกลางถึงใหญ่ เช่น A380 ของ Airbus หรือ 747-400 ของ Boeing มีปีกแบบ Low wings และใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร (passenger planes) และบรรทุกสัมภาระใต้ท้องบ้าง
1
2) “ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ”
คนส่วนใหญ่รู้จัก C-130 แต่เครื่องรุ่นนี้มีลูกพี่ลูกน้อง (variants) ที่เป็น “สายโหด” ที่มีชื่อว่า AC-130 โดยผมเข้าใจว่า A = Attack หรือ โจมตี นั่นเอง
จากภาพด้านบน แสดงถึง “บทบาท” ของ High wings ที่น่าสนใจ คือ AC-130 ก็คือ C-130 ที่ถูกดัดแปลงโดยการ “ติดอาวุธหนัก” เช่น ปืนกล และ ปืนใหญ่เข้าไปข้างๆลำตัวของเครื่องบิน เพื่อใช้ในภารกิจโจมตีทางอากาศกับเป้าหมายภาคพื้นดิน
1
และมันเหมาะมากเพราะ ปีกอยู่ด้านบนลำตัว จึงสามารถทำการยิงได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องกังวลว่า จะพลาดไปยิงปีกตังเอง
ในขณะที่เครื่องบินพานิชย์ ที่มีปีกแบบ Low wings ก็จะสามารถใช้ปีกช่วยในการร่อนลงฉุกเฉิน (emergency landing) บนผิวน้ำได้ อย่างที่เกิดเหตุการณ์จริงมาแล้ว ที่เครื่องบินที่เพิ่ง take off บินผ่านฝูงนก แล้วมีนกบินเข้าเครื่องยนตร์จนเกิดการระเบิดและนักบินสูญเสียกำลังของเครื่องยนตร์ซึ่งหมายถึงการสูญเสียแรงยก (Lift force)
แล้วนักบินที่หนึ่ง “กัปตัน Sully” ตัดสินใจนำเครื่องบิน “ร่อน” ลงแม่นำ้ Hudson จนเป็นข่าวใหญ่ที่ต่อมากลายเป็นภาพยนตร์เรื่อง Sully
จากภาพบนสุดจะเห็นได้ว่า Low wings ทั้งสองช่วยในการสัมผัสพื้นนำ้และยังช่วยให้ผู้โดยสารใช้เป็น “เส้นทางอพยพ” สู่พื้นที่ปลอดภัยได้อย่างน่าอัศจรรย์!
3) ผมมองว่า “ความสามารถเฉพาะตัวของนักบิน” และการคำนวณหา “จุดสมดุลย์” ในการรับนำ้หนักบรรทุกของตัวเครื่องบิน เป็นหัวใจสำคัญของความปลอดภัยในการบิน โดยปัจจัยไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Wing Configurations เสียทั้งหมด!
เพราะ “นักบินที่มีความสามารถ” จะใช้ฝีมือของตนเอง ดึงเอาขีดความสามารถสูงสุดของเครื่องบินแต่ละแบบออกมาได้ในที่สุด
4) บทความต่อไปนี้ อาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม ที่น่าสนใจของ “Low VS High wings” ครับ
5) แน่นอนครับ หากพิจารณาถึงหลัก อากาศพลศาตร์ หรือ Aerodynamics ของเครื่องบินทั้งสองประเภท
ให้คุณลองนึกเปรียบเทียบง่ายๆว่า “ใครจะลู่ลมกว่ากัน” ระหว่าง “รถเก๋ง” กับ “รถบรรทุก” ?
C-130 ถูกออกแบบมาให้ใช้ในงานขนส่งซึ่งเปรียบได้กับรถบรรทุก ในขณะที่ เครื่องบินพานิชย์ ที่ถูกออกแบบมาให้ผู้โดยสารนั่งก็เปรียบได้กับรถเก๋ง ซึ่งดูจากรูปทรงภายนอกก็พอจะคาดได้ว่า รถเก๋งย่อมต้องลู่ลมมากกว่า
รถบรรทุก! เนื่องด้วยรูปทรงตัวถังและความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ความลู่ลม” มีผลต่อ “อัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน” และ “อัตราการกินนำ้มัน” มีผลต่อ “ต้นทุนการทำธุรกิจการบิน” !
ดังนั้น หากนำ้หนักของเครื่องบินสองประเภทใกล้เคียงกัน และบินในสภาพอากาศใกล้เคียงกัน และบินโดยนักบินที่มีความสามารถคนเดียวกัน ก็เป็นไปได้ว่า เครื่องบินพานิชย์ น่าจะ “ร่อน” ได้ระยะทางที่ไกลกว่า!
โฆษณา