22 พ.ค. 2022 เวลา 08:07 • ประวัติศาสตร์
งานเลี้ยงที่ทำให้ราชวงศ์ต้องถึงกาลอวสาน
ตุลาคม ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) กลางทะเลทรายในประเทศอิหร่าน คือสถานที่ที่จะใช้เป็นที่รวมตัวของเหล่าพระราชวงศ์และประมุขของประเทศต่างๆ และอาจจะเป็นการรวมตัวของบุคคลระดับสูงที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์
1
งานนี้จัดขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 2,500 ปีของการก่อตั้งจักรวรรดิเปอร์เซีย โดยแม่งานใหญ่ ก็คือ “พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (Shah Mohammed Reza Pahlavi)” กษัตริย์แห่งอิหร่าน
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดทรงทุ่มเงินไปนับร้อยล้านดอลลาร์เพื่องานนี้โดยเฉพาะ
1
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (Shah Mohammed Reza Pahlavi)
มีการจัดเต็นท์ขนาดใหญ่ที่ติดเครื่องปรับอากาศ พร้อมด้วยอาหารเลิศรส หรูหรามากมาย โดยจัดขึ้นในโอเอซิสขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเอง
หากแต่การฉลองเพียงสามวันนี้ไม่ใช่เพียงแค่ใช้งบประมาณมหาศาลเท่านั้น แต่ทำให้พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดต้องสูญเสียตำแหน่งและอำนาจไปด้วย
“พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (Shah Mohammed Reza Pahlavi)” ทรงปกครองราชวงศ์ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี และเป็นที่เรียกขานในฐานะของ “กษัตริย์แห่งกษัตริย์ (King of Kings)”
ในปีค.ศ.1951 (พ.ศ.2494) ได้มีการโอนย้ายกิจการน้ำมันของประเทศให้มาเป็นของรัฐ และกีดกันไม่ให้สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเข้าแสวงผลประโยชน์
แต่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด ก็ได้รับการเสนอเงินจำนวนหนึ่งล้านดอลลาร์ (ประมาณ 34 ล้านบาท) ในการทำรัฐประหาร ล้มล้างรัฐบาล และให้บุคคลที่ได้รับการวางตัวไว้ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
ในปีค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดทรงกระทำ “การปฏิวัติสีขาว (White Revolution)” ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาประเทศให้ทันสมัย
สตรีได้รับสิทธิต่างๆ มากขึ้น มีการจัดสรรที่ดิน อุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มเติบโต
1
แต่เบื้องหลังวิสัยทัศน์นี้คือความจริงที่โหดร้าย การปฏิรูปนี้เป็นที่ถูกใจของคนกลุ่มเล็กๆ เพียงไม่กี่คน หากแต่ผู้คนส่วนใหญ่กลับไม่ยินดีด้วย
1
ในเวลานั้น เสรีภาพในด้านการแสดงออก วิพากษ์วิจารณ์ ล้วนแต่ถูกจำกัด และหน่วย “SAVAK” ซึ่งเป็นหน่วยสืบราชการลับของอิหร่าน ก็ทำการจับกุมและทรมานบุคคลที่ต่อต้านรัฐบาล
ภายในปีค.ศ.1951 (พ.ศ.2494) อิหร่านเป็นประเทศที่มีจำนวนนักโทษทางการเมืองสูงที่สุดในโลก และมีการประหารมากที่สุดในโลกอีกด้วย
2
ประชาชนกว่า 51% ของทั้งประเทศมีความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่าระดับปานกลาง โครงสร้างพื้นฐานในเมืองก็มีไม่เพียงพอ ส่วนต่างจังหวัดนั้นก็ขาดแคลนหนัก แม้แต่น้ำดื่ม การศึกษา หรือการรักษาทางการแพทย์ ก็แทบจะไม่มี
1
หากแต่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดก็ไม่ได้สนพระทัยเรื่องความทุกข์ร้อนของประชาชนมากนัก นี่คือปีค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 2,500 ปีตั้งแต่ “พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)” ทรงก่อตั้ง “จักรวรรดิอะคีเมนิด (Achaemenid Empire)” ซึ่งเป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เซีย
1
พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great)
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดทรงเล็งเห็นว่าการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่อลังการ จะเป็นการแสดงให้โลกเห็นว่าพระองค์นั้นยิ่งใหญ่แค่ไหน และยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับพระเจ้าไซรัสมหาราช
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) พระองค์ทรงประกาศว่าจะจัดงานเลี้ยงที่ยิ่งใหญ่เป็นเวลาสามวันในบริเวณเมืองเปอร์เซเปอลิส (Persepolis) และเชิญประมุขของชาติต่างๆ จากทุกมุมโลก
1
และในงานนี้เอง ทุกคนจะได้เห็นประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของอิหร่าน และยกย่องพระองค์เป็น “กษัตริย์เหนือกษัตริย์ (King of Kings)”
2
ในเวลานั้น อิหร่านถูกมองว่าเป็นประเทศที่ยังไม่พัฒนามากนัก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็ยังไม่ดี โรงแรมหรือความสะดวกสบายที่จะรองรับประมุขจากประเทศต่างๆ กว่า 60 คนและพระองค์ ก็ยังไม่น่าจะมีเพียงพอ
เมื่อเป็นอย่างนี้ พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดจึงมีรับสั่งให้สร้างเมืองโอเอซิสขึ้นกลางทะเลทราย โดยมีการนำเข้าต้นไม้กว่า 15,000 ต้น และดอกไม้กว่า 15,000 ดอกมาจากยุโรป เพื่อนำมาสร้างโอเอซิส
ในขณะที่ประชาชนชาวอิหร่านกำลังประสบกับภัยแล้ง แต่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดกลับให้ทุ่มน้ำวันละหลายแกลลอนกับโอเอซิสแห่งนี้
1
และเพื่อป้องกันแขกจากสัตว์มีพิษต่างๆ จึงมีการกำจัดงูและแมงป่องที่อยู่ในรอบๆ บริเวณ 30 กิโลเมตรจากจุดก่อสร้าง
จากนั้น ก็มีการนำเข้านกจากยุโรปกว่า 50,000 ตัว หากแต่นกจำนวนมากก็ตายเนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดของทะเลทราย
3
แต่ถึงจุดประสงค์ของงานนี้ คือเพื่อแสดงถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอิหร่าน แต่ปรากฎว่าคนงานและช่างชาวอิหร่าน กลับแทบไม่มีส่วนในงานนี้เลย
1
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดทรงมีรับสั่งให้ใช้ช่างฝีมือระดับโลกจากฝรั่งเศส และการก่อสร้าง ก็ใช้ทีมงานจากปารีส
1
ดีไซเนอร์และช่างจากฝรั่งเศสนับร้อย ได้ใช้เวลานับปีในการก่อสร้างเมืองในเต็นท์กว่า 50 เต็นท์ โดยแต่ละเต็นท์มีการติดเครื่องปรับอากาศ มีห้องนอนสองห้อง ห้องน้ำสองห้อง ห้องพักผ่อน ห้องครัว และห้องสำหรับสตาฟฟ์
เต็นท์เหล่านี้จะตั้งอยู่บนถนนห้าสาย โดยมีน้ำพุตรงกลางเป็นศูนย์กลาง
1
เต็นท์เหล่านี้ หนึ่งในนั้นคือเต็นท์ที่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดใช้ในการรับแขกบ้านแขกเมือง เต็นท์ที่ใช้ในการจัดเลี้ยง และสนามกอล์ฟ 18 หลุม
หนึ่งในเต็นท์มีร้านทำผมอยู่ถึง 16 ร้าน ร้านเสริมสวยอีกสี่ร้าน ส่วนอื่นๆ ก็จะมีคลับและบาร์ คาบาเรต์สวีท มีแม้กระทั่งห้องลับที่ใช้เป็นบ่อนการพนัน
2
ส่วนเรื่องของอาหาร พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดก็ทรงทุ่มไม่อั้น โดยพระองค์ทรงเลือกให้ร้านอาหาร Maxim’s ในปารีส เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารในงาน
ในเวลานั้น ร้านอาหาร Maxim’s ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลก และเพื่องานนี้ ร้านอาหาร Maxim’s ถึงกับปิดร้านเป็นเวลาสองสัปดาห์ เพื่อพาพนักงานทั้งหมดมายังอิหร่าน
2
และสำหรับการขนย้ายอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดมายังกลางทะเลทรายของอิหร่าน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดก็ทรงมีรับสั่งให้สร้างลานบินในเมืองชิราซ รวมทั้งถนนยาว 100 กิโลเมตรซึ่งเชื่อมตรงสู่เปอร์เซเปอลิส โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศหลวงอิหร่านกว่า 100 ลำ ต้องใช้เวลากว่าหกเดือนจึงจะสามารถขนย้ายอาหารและเครื่องดื่มกว่า 18 ตันได้หมด
1
เสบียงอาหารก็มีอาทิเช่น ไข่จำนวน 380,000 ใบ คาเวียร์ 30 กิโลกรัม เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อแกะอีก 2,700 กิโลกรัม ไวน์ แชมเปญ และเหล้าอีก 12 ตัน และมีการสร้างก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่เท่าโรงจอดรถเพื่อให้เครื่องดื่มเหล่านี้เย็นตลอดเวลา
3
ส่วนด้านความปลอดภัยนั้น ก็มีการวางกำลังอย่างดี เนื่องจากนี่คืองานเลี้ยงที่รวมตัวราชวงศ์และประมุขของประเทศต่างๆ จากทุกมุมโลก และในเวลานั้น พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดก็เสียคะแนนนิยมจากประชาชนไปมากอยู่ก่อนแล้ว
2
มีการประท้วงการจัดงานนี้ตั้งแต่มีการประกาศแรกๆ และ SAVAK ก็เชื่อว่ากลุ่มก่อการร้ายได้ซ่อนตัวอยู่ตามเทือกเขา รอโอกาสโจมตี
ทหารและเจ้าหน้าที่ SAVAK กว่า 65,000 นายได้ทำการอารักขารอบๆ เมืองเต็นท์นี้ ตามถนนที่มุ่งตรงมายังเปอร์เซเปอลิส มีการวางจุดตรวจไว้ทุกๆ ไม่กี่เมตร และเต็นท์ที่ใช้จัดเลี้ยงนั้น ก็อนุญาตให้เฉพาะพนักงานของร้านอาหาร Maxim’s เข้าเท่านั้น เพื่อป้องกันเรื่องความปลอดภัยหากมีการวางยาพิษ
นอกจากนั้น ชายแดนอิหร่านทั้งหมดก็ถูกปิดเพื่องานนี้โดยเฉพาะ มหาวิทยาลัยทั้งหมดก็ปิดการเรียนการสอน และห้ามไม่ให้นักศึกษาจับกลุ่มชุมนุม
3
นักศึกษาและนักเคลื่อนไหวทางสังคมนับพันถูกจับกุมและควบคุมตัว
2
ตุลาคม ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) ภายหลังจากเตรียมงานมานานกว่า 13 เดือน ในที่สุด ทุกอย่างก็พร้อม
1
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้สั่งให้ปลูกต้นสนตลอดถนนจากชิราซถึงเปอร์เซเปอลิส อีกทั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติอิหร่าน ก็ได้ติดตั้งคบเพลิงตลอดเส้นทาง
ดูเหมือนความฝันของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดจะกลายเป็นจริงแล้ว
1
งานเฉลิมฉลองเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) โดยเป็นการสดุดีพระเจ้าไซรัสมหาราช และในบ่ายวันนั้นและตลอดสองวันต่อมา แขกบ้านแขกเมืองก็ได้เดินทางมาถึง
เหล่าแขกบ้านแขกเมืองนั้น ประกอบไปด้วยประธานาธิบดีจาก 18 ประเทศ กษัตริย์แปดพระองค์ และจักรพรรดิ และยังไม่นับรวมเจ้าชายและผู้แทนพระองค์อีกจำนวนมาก
4
ค่ำคืนวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด ได้ทรงเลี้ยงรับรองแขกอย่างยิ่งใหญ่อลังการ
1
โต๊ะอาหารนั้นยาวถึง 70 เมตร ผ้าปูโต๊ะก็ต้องใช้หญิงกว่า 150 คนและเวลาอีกหกเดือนในการเย็บ
2
ห้องอาหารนั้นก็ตกแต่งอย่างหรูหราราคาแพง อาหารก็ล้วนแต่เป็นอาหารระดับโลก ตามมาด้วยเครื่องดื่มอย่างแชมเปญจำนวน 2,500 ขวด ไวน์ 1,000 ขวด ไวน์เบอร์กันดีอีก 1,000 ขวด
อาหารค่ำมื้อนี้ถูกเลี้ยงรับรองแขกกว่า 600 คน และกินเวลากว่าหกชั่วโมง และได้รับการบันทึกลงกินเนสส์ บุ๊ค (Guinness Book) ว่าเป็นอาหารค่ำที่หรูหราและยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์
2
ภายหลังจากอาหารค่ำ แขกเหรื่อก็ถูกพาไปยังบริเวณซากเมืองเปอร์เซเปอลิส เพื่อชมการแสดงแสงสีเสียงอย่างอลังการ ตามด้วยดอกไม้ไฟ
1
เช้าวันต่อมา 15 ตุลาคม ค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) ได้มีขบวนพาเหรดซึ่งประกอบด้วยทหาร 1,724 นาย และนักแสดงอีกกว่า 2,500 คน แสดงโชว์ประวัติศาสตร์เปอร์เซียกว่า 2,500 ปี
1
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดทรงทุ่มเงินไม่อั้น จัดเต็มเครื่องดนตรี และเสื้อผ้านักแสดง นักประวัติศาสตร์ก็ต้องใช้เวลาหลายเดือนในการศึกษาจึงจัดทำได้
1
งานเลี้ยงนี้ หากมองในแง่ของชื่อเสียงที่โด่งดังไปทั่วโลก ก็ถือว่าประสบความสำเร็จมาก ความรุ่งเรืองของอิหร่านได้ถูกนำเสนอไปทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นการรวมตัวของสมาชิกราชวงศ์และประมุขของประเทศต่างๆ ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
1
หากแต่สำหรับชาวอิหร่าน ล้วนแต่ไม่พอใจกันทั้งนั้น
3
เริ่มแรก ก็คือเรื่องของความรู้สึก โดยในเวลานั้นชาวอิหร่านกว่า 51% กำลังอดอยาก ประเทศกำลังเผชิญภัยแล้ง แต่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดกลับสร้างโอเอซิส กินอาหารแพงๆ หรูหรา
1
นอกจากนั้น หน่วยสืบราชการลับของพระองค์ยังสั่งปิดมหาวิทยาลัยและจับกุมผู้ต่อต้านอีกนับพัน
เรื่องต่อมา ก็คือโครงการนี้แทบไม่ใช้คนงานชาวอิหร่านเลย อาหารก็มาจากฝรั่งเศส พ่อครัวก็เป็นพ่อครัวชาวฝรั่งเศส มีเพียงชาวอิหร่านไม่กี่คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และหลายคนก็มองว่าจุดประสงค์จริงๆ ไม่ใช่เพื่อแสดงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อิหร่าน แต่เป็นการอวดความร่ำรวยและอำนาจของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด
2
เรื่องถัดมาก็คือความเหมาะสมทางศาสนา เนื่องจากอิหร่านเป็นประเทศที่ผู้คนจำนวนมากนับถือศาสนาอิสลาม แต่ในงานนี้มีอบายมุขครบ ทั้งเหล้า สตรีก็แต่งกายด้วยชุดราตรี กระโปรงสั้น อีกทั้งยังมีห้องสำหรับเล่นการพนันอีกด้วย
2
เรื่องสุดท้ายก็คืองบประมาณ โดยงบประมาณสำหรับงานนี้ จากข้อมูลก็แตกต่างกันออกไป โดยนิตยสาร Time ได้คาดคะเนว่างบประมาณในการจัดงานน่าจะอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับประมาณ 635 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 21,600 ล้านบาท) ในปัจจุบัน ในขณะที่สื่ออิหร่านได้โต้แย้ง โดยกล่าวว่างานนี้ไม่มีทางใช้งบต่ำกว่า 500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 102,000 ล้านบาท) ในปัจจุบัน
5
แต่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดก็ออกมาโต้แย้งว่างบประมาณนั้นใช้ไปเพียง 16.8 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 112 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,800 ล้านบาท) ในปัจจุบัน อีกทั้งเงินบริจาคจากแขกเหรื่อ ก็ยังนำไปสร้างโรงเรียนอีกกว่า 3,200 แห่ง
2
แต่ไม่ว่างานนี้จะใช้งบประมาณไปเท่าไร แต่สิ่งที่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัดต้องแลกไปกับงานนี้ ก็คือ “บัลลังก์”
1
เหตุการณ์นี้ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามโจมตีพระองค์อย่างหนัก ทำให้พระองค์ทรงเสียภาพลักษณ์และความนับถือจากประชาชน ทำให้ในปีค.ศ.1974 (พ.ศ.2517) พระองค์ต้องออกมาตรัสขอโทษ
หากแต่ก็สายไปแล้ว ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงมากมาย และกลายเป็นการปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolution) ในปลายยุค 70 (พ.ศ.2513-2522) และได้ทำการล้มล้างรัฐบาล และสุดท้าย พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด ก็ต้องลี้ภัยไปอียิปต์ ก่อนที่พระองค์จะสวรรคตในปีค.ศ.1980 (พ.ศ.2523) และทำให้การปกครองอิหร่านซึ่งปกครองด้วยราชวงศ์มายาวนานกว่า 2,500 ปี ต้องถึงจุดจบ
1
โฆษณา