Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Simple Blog
•
ติดตาม
22 พ.ค. 2022 เวลา 07:37 • ไลฟ์สไตล์
หน้าฝน ทำไมคนเหงา
วิทยาศาสตร์ก็มีเหตุผลอธิบายนะ
3
นอกจากคำอธิบายทางจิตวิทยาแล้ว วิทยาศาสตร์ก็ให้เหตุผลได้นะคะ ว่าทำไมคนเรามักจะรู้สึกเหงาหรือเศร้าเวลาฝนตก
2
(pic: Pexels)
Seasonal Affective Depression, SAD เป็นอาการซึมเศร้าเมื่อเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเกิดเฉพาะช่วงเข้าฤดูหนาว หรือ winter blues แต่จริงๆแล้วเกิดได้ในช่วงเปลี่ยนเข้าฤดูร้อนและฤดูฝนด้วย
1
ที่สำคัญคือ มีงานวิจัยมากมายชี้ว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้นเกี่ยวข้องกับระดับสารเซโรโทนินในร่างกาย
3
เซโรโทนิน, Serotonin คือ สารที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก มีหน้าที่ควบคุม ความรู้สึกเจ็บปวด ความเบื่อหรืออยากอาหาร การนอนหลับ อารมณ์ทางเพศ ความรู้สึกสุขสงบ และช่วยระงับความโกรธ ความก้าวร้าว
1
ดังนั้น ถ้าร่างกายมีเซโรโทนินต่ำก็จะส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรม อาจทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล อยู่ไม่สุข หงุดหงิด โกรธง่าย หรือ เกิดอาการซึมเศร้า ได้ค่ะ
5
(pic: Piqsels)
ปกติเมื่อร่างกายได้รับแสงแดดอ่อนๆ ก็จะสามารถผลิตเซโรโทนินได้มากขึ้น จึงเป็นที่มาของการแนะนำให้ออกไปรับแสงแดดตอนเช้าเพราะจะช่วยให้เรารู้สึกสดใส
3
2
แต่ในช่วงฤดูฝน ที่ฝนมักตกต่อเนื่องหลายวันติดกันทำให้ท้องฟ้ามืดครึ้มอยู่ตลอดระยะเวลาที่มีแดดลดน้อยลง ร่างกายก็เลยผลิตเซโรโทนินได้น้อยลง จึงส่งผลให้เราเกิดความรู้สึกเหงาๆเศร้าๆได้
1
การเปิดไฟในห้องให้สว่าง การออกกำลังกาย และ การออกไปเดินเล่นรับแสงแดดช่วงเช้าในวันที่อากาศดีบ้าง จะช่วยให้ความรู้สึกเหงาๆเศร้าๆดีขึ้นได้ค่ะ
1
2
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่า ตอนฝนตกจะทำให้เรามีสมาธิในการอ่านหนังสือมากขึ้น
3
7
ผู้เขียนก็ชอบหยิบหนังสือมาอ่านตอนฝนตกค่ะ แต่เพราะอากาศเย็นสบายก็เลยมีสมาธิมากไปหน่อย หลับทั้งวัน 💤
3
6
ข้อมูลอ้างอิง
-
https://www.everydayhealth.com/depression/treatment/ways-to-ease-seasonal-depression
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
22.05.22
บทความ
ไลฟ์สไตล์
เกร็ดความรู้
7 บันทึก
34
52
31
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
• มาใส่ใจสุขภาพกันเถอะ •
7
34
52
31
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย