23 พ.ค. 2022 เวลา 07:49 • ประวัติศาสตร์
พระราชอำนาจของ “สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (Elizabeth II)”
“สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (Elizabeth II)” เป็นพระประมุขแห่งสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งในพระประมุขที่โด่งดังและเคารพนับถือของผู้คนจำนวนมากทั่วโลก
พระองค์เป็นหนึ่งในพระประมุขที่ครองราชย์ยาวนาน และทรงส่งเสริมสันติภาพและงานการกุศลต่างๆ
หากแต่หลายคนก็เข้าใจว่าพระองค์นั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ของอังกฤษ หากแต่ไม่ได้มีอำนาจจริงๆ ซึ่งก็ไม่ผิด ในยุคหลังๆ พระราชวงศ์นั้นอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ การตัดสินใจต่างๆ ล้วนมาจากสภาและนายกรัฐมนตรี
หากแต่อันที่จริง อำนาจของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 นั้น ก็ยังคงมีอยู่
เราลองมาดูอำนาจของพระองค์กันครับ
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (Elizabeth II)
อันดับแรก พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองทัพอังกฤษทั้งหมดขึ้นต่อพระองค์ ซึ่งอันที่จริงนั้น มีกำหนดว่าก่อนจะเข้าร่วมกับกองทัพ ทหารอังกฤษทุกคนจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อพระองค์
หากแต่ในทางปฏิบัติ ถึงจะเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด แต่พระองค์ก็จะยกอำนาจนี้ให้แก่บุคคลอื่นในคณะรัฐบาล ซึ่งโดยปกติก็จะเป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่ก็ปลัดกระทรวงกลาโหม
การทำเช่นนี้นับเป็นสิ่งที่ดูมีเหตุผลในสายตาของประชาชน เนื่องจากให้บุคคลที่มีประสบการณ์เข้ามาดูแลกองทัพ
1
นอกจากนั้น พระราชินียังเป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่สามารถประกาศสงคราม ไม่มีใครในสหราชอาณาจักรที่มีอำนาจนี้นอกจากพระองค์ผู้เดียว
หากฟังแค่นี้ก็อาจจะคิดว่าพระราชอำนาจของพระองค์นั้นมีมากล้น หากแต่ก็มีข้อจำกัด
การที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีจะประกาศสงคราม จะต้องได้รับความยินยอมจากสภา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาลทั้งหมดก่อนจึงจะทำได้
ตลอดเวลาที่ครองราชย์เกือบ 70 ปี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธไม่เคยประกาศสงคราม หากแต่พระราชบิดาของพระองค์ นั่นคือ “สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร (George VI)” เคยทรงประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมันเมื่อปีค.ศ.1939 (พ.ศ.2482)
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร (George VI)
เรื่องต่อมา ก็คือเรื่องของ “กฎหมาย”
ก่อนที่กฎหมายใดก็ตามที่สภาเสนอจะถูกนำมาบังคับใช้ กฎหมายนั้นจะต้องได้รับการรับรองจากองค์ราชินีก่อน
พระราชินีมีอำนาจที่จะรับรองหรือไม่รับรองกฎหมายใดก็ตาม หากแต่ในความเป็นจริง การที่พระราชินีจะไม่รับรองหรือแทรกแซงข้อกฎหมายนั้น เป็นสิ่งที่แทบจะไม่เห็น โดยความเป็นจริงนั้น เมื่อสภาให้การรับรองแล้ว พระราชินีก็ทรงให้การรับรองเช่นกัน
1
ครั้งสุดท้ายที่พระประมุขทรงไม่รับรองกฎหมายจากสภา ก็ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 เมื่อ “สมเด็จพระราชินีนาถแอนแห่งบริเตนใหญ่ (Anne, Queen of Great Britain)” ได้ทรงคัดค้านกฎหมายที่จะช่วยฟื้นฟูทหารกองหนุนของสก็อตแลนด์
1
สมเด็จพระราชินีนาถแอนแห่งบริเตนใหญ่ (Anne, Queen of Great Britain)
ต่อมา ก็คือ “อำนาจในสภา”
อย่างแรก พระราชินีมีหน้าที่ในการเปิดสภาในทุกๆ เดือนพฤษภาคม และต้องพระราชทานโอวาทให้แก่ทั้งสภาขุนนางและสภาสามัญชน
พระราชินีเป็นผู้เปิดสมัยประชุมนิติบัญญัติ และสามารถยุบสภาได้ อีกทั้งยังสามารถปลดสมาชิกสภาคนใดออกก็ได้ และให้จัดเลือกตั้งใหม่ได้
แต่ในความเป็นจริงนั้น การทำเช่นนี้ก็คงลำบาก เนื่องจากทั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก็จะต้องวุ่นวาย และประชาชนก็คงไม่พอใจเป็นแน่
นี่ก็เป็นพระราชอำนาจคร่าวๆ ขององค์ราชินีแห่งอังกฤษ ซึ่งถึงแม้จะมีพระราชอำนาจมาก หากแต่ก็มีการจำกัดในหลายๆ เรื่องเช่นกัน
โฆษณา