23 พ.ค. 2022 เวลา 09:45 • การเมือง
"ที่น่ายินดีกว่าชัชชาติชนะ คือความท่วมท้นของชัยชนะ"
คะแนนของ 4 คนถัดมา คนละเกือบ 10% ที่เหลือรวมกันอีกเกือบ 10%
สรุป คือ คนกรุงเทพเลือกตรงกันเกิน 50%
ความเห็นตรงกันแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมานานมากแล้ว
เป็นเรื่องน่ายินดีของคนกรุงเทพจริงๆ
ถ้าการเมืองใหญ่เป็นอย่างนี้คงดี คือ ชนะกันท่วมท้น
ขอพูดเรื่องการเลือกตั้งใหญ่ในอนาคตหน่อย เพราะได้ยินว่าเขาเล็งกันไปที่ตรงนั้นกันแล้ว
สังคมหนึ่งๆ มันจะมีคนไม่เคารพกฎกติกาอยู่เยอะทีเดียว
ไม่ว่าจะโหวตอะไร ถ้าที่หนึ่งกับที่สองตัดกันแบบแค่สูสี หรือที่หนึ่งไม่กินขาดที่เหลือ มันสำคัญมากที่ผู้แพ้จะต้องเคารพผลลัพธ์การโหวต
ประเทศเราที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะไม่ได้เป็นแบบนั้น ความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามและความเห็นแก่ประโยชน์ตัวมันมากกว่าความเคารพในหลักการสากลที่ตกลงร่วมกัน
“คะแนนที่ชนะกัน 1-2% เป็นแค่เรื่องของการนับจำนวนเสียง แต่ถ้าบนเวทีปราศรัย หรือบนท้องถนน พวกเรายังไม่แพ้ พรรคพวกเครือข่ายในภาคส่วนต่างๆเรายังเยอะกว่าอย่างนี้เราไม่ได้แพ้” ประเทศเราคิดกันแบบนั้น
คนไม่เคารพกติกาของบ้านเมืองเราน่าจะมีมากกว่า 1-2% เยอะทีเดียว ถ้าชนะกันแค่ 1-2% นี่ก็ไม่ต่างอะไรกับไม่ชนะ มัน overthrown คนไม่เคารพกติกาไม่ได้ ถ้าจะทำอะไรก็จะสะดุดทุกก้าวที่ย่างตีนออกเดิน ทั้งในสภา ในส่วนราชการ บนถนน บนเวที บนสื่อ บนโซเชียล ถ้าไม่มีรากฐานพื้นมันก็คลอนตลอดเวลา ได้แต่ทรงตัวไปวันๆ (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโกงไม่ได้ อาจจะโกงได้ โดยต้องทรงตัวบนพื้นคลอนไปด้วย แต่คงไม่เดินหน้าไปด้วยได้)
ฝ่ายแพ้ที่เคารพผลการโหวตนี่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรมีตรวจสอบการทำงานของผู้ชนะ แต่หมายความว่าควรให้ความร่วมมือและสนับสนุนการทำงานของผู้ชนะ
ส่วนใครจะตรวจสอบอะไรมันก็ดีอยู่แล้ว ถ้าเป็นการตรวจสอบแบบ Quality Assurance หรือ Standard Compliance ไม่ใช่ตรวจสอบแบบรีเควสขอหยุดเครื่องจักรที่ต้องรันต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบทุกสองชั่วโมง นั่นเรียกภาษาง่ายๆว่า กวนตีน หรือเรียกว่า ขัดแข้งขัดขา
จริงๆแล้ว ถ้าการเมืองเป็นเครื่องมือที่ดีในการจัดการบ้านเมืองและถ้าเป้าหมายของการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยคือการสร้างประโยชน์ต่อบ้านเมืองจริง การที่ทุกฝ่ายทั้งที่แพ้และชนะ ทั้งนักการเมือง ข้าราชการและประชาชน ควรจะสนับสนุนการทำงานตามนโยบายของผู้ชนะนี่จะไม่เป็นเรื่องที่ต้องฝืนเลย มันควรจะเมคเซนส์มากๆ
หรือว่าเป้าหมายของการเมืองไม่ใช่เพิ่อสร้างประโยชน์ต่อบ้านเมือง?
นักการเมืองฝ่ายแพ้และเครือข่ายของเขาควรรู้สึกดีด้วยซ้ำที่ได้ทำงานตามนโยบายของฝ่ายชนะ เพราะการสนับสนุนของเราที่มีต่อฝ่ายชนะมันเพิ่มโอกาสการบรรลุความสำเร็จ ซึ่งนั่นหมายถึงความสำเร็จของพวกเราทั้งหมด
แต่มันไม่เคยเป็นอย่างนั้น
ปล. ที่พูดทั้งหมดนี้คือไมได้เจาะจงต่อว่ารัฐบาลไหนหรือฝ่ายค้านไหนทั้งนั้น ที่แก่มาถึงวันนี้ เห็นมาตลอดก็เป็นอย่างนี้ตลอดไม่มีที่ต่างกัน
อย่างที่รู้กัน ว่าผมไม่ควรมาถามหาคำตอบกับคำถามแบบนี้ มัน naive สิ้นดี ที่ใครจะมาถามเรื่องนักการเมืองและเหตุผลในการตรากตรำของพวกเขา
เหนือสิ่งอื่นใด บางทีมันก็ย้อนแย้งน่าดู ถ้าเราเคยที่จะพูดว่าไม่มีหรอกนักการเมืองที่ไม่โกง แล้วเราก็ทำหน้าเซ็งเป็ดพร้อมยอมรับกับใจตัวเองว่าเหตุจูงใจของนักการเมืองโดยรวมๆแล้วก็คือประโยชน์ส่วนตน แต่แล้วเราก็ยังเลือกเขาพร่้อมหวังว่าเขาจะเข้ามาทำเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
ถ้าเราจะถามกับตัวเองว่า การเมืองคืออะไร มีไว้เพื่อทำอะไร นักการเมืองคืออะไร มีไว้เพื่อทำอะไร
การเมืองเป็นเครื่องมือตามระบอบประชาธิปไตย หรือ ประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือทางการเมือง
นักการเมืองเป็นคนของประชาชน หรือ ประชาชนเป็นคนของนักการเมือง
ผมก็ได้แต่ตั้งคำถาม แต่มิบังอาจนำเสนอโซลูชั่นใดๆเพราะเคยคุยกับคนใกล้ชิด แต่ก็ไม่เวิร์คเท่าไหร่ เราไม่ได้มีความรู้ความสามารถพอที่จะซัพพอร์ตไอเดียของเรา
สรุป ก็คือ ผมคิดว่า
ผลโหวตอะไรก็ตามนี่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรถ้าเราเองไม่ได้เคารพมัน และไม่ carry out its implications as agreed.
เอาเป็นว่าถ้าเราไม่ได้เคารพกติกาตามระบอบประชาธิปไตยกันซะทุกคนขนาดนั้น มันจำเป็นมากที่ต้องชนะกันแบบขาดลอย อย่างน้อยต้องขาดในระดับที่ว่าไม่ให้พวกที่ไม่เคารพกติกามีโอกาสแม้แต่จะคิด ไม่งั้นก็เหมือนที่ผ่านมาตลอด คือแพ้แค่ผลโหวต ไปว่ากันต่อที่ถนนบ้าง สนามบินบ้าง หน้าเรือนจำบ้าง
สุดท้ายแล้วที่พูดเรื่องชนะขาดลอยนี่ก็โลกอุดมคติอีก เพราะความคิดมันแตกเป็นสองฝั่งชัดเจนนานแล้ว ยิ่งโลกตอนนี้ที่มี code bias (algorithm bias ของโซเชียลมีเดียทั้งหลาย) เข้ามาเสริมทัพให้ confirmation bias ที่มีกันอยู่เองทุกคน โอกาสที่ปีหน้าใครจะเปลี่ยนใจจากปีที่แล้วนี่แทบไม่มี จะเหลือโอกาสเปลี่ยนใจก็เห็นจะมีแค่รูปแบบเดียวคือ เคสแบบคุณชัชชาติ
ส่วนตัวมองว่า (จากที่คุยกับหลายๆคนรอบตัว) เคสคุณชัชชาตินี่ ในมุมมองของหลายคน มันคือการเลือกตัวบุคคลที่เหมาะสม ไม่ใช่การเลือกขั้วทางการเมือง อย่างนี้มันไม่ขัดกับ belief เดิม อย่างนี้โอเค ไม่เจ็บปวด เลือกได้
แต่ถ้าอะไรที่มันขัดกับ Belief เดิมเรา อย่างเคสนี้ ต่อให้เป็นคนเก่งและดี แต่เลือกแล้วมันเจ็บปวดใจ อย่างนี้ไม่เลือก เหตุผลก็ไม่ต้องอธิบายอะไรให้วุ่นวาย ถ้าจะ rationalize มันก็มาได้หลายเรื่อง แต่ถ้าสั้นๆ ก็คือ ไม่ชอบ จบ
ก็เลยน่าจะกลายเป็นสูตรสำเร็จที่เข้าใจได้แต่ยังไงก็จะยังทำยาก นั่นคือ
หากใครต้องการเปลี่ยนใจขั้วตรงข้ามตอนเวทีใหญ่ข้างหน้า
ก็คือต้องนำเสนอ ของดี ที่คนอยากได้ และไม่เจ็บปวดใจที่จะรับมัน
ถ้าไม่ใช่แบบนี้ จะให้ใจคนเปลี่ยนขั้วคงเปลี่ยนยาก ชัยชนะแบบขาดลอยคงยากที่จะเห็น (เว้นแต่ถึงวันที่ demographic profile เปลี่ยนไปแล้ว)
นอกจากเรื่องคะแนนขาดลอยจะเป็นแค่อุดมคติแล้ว การเคารพผลคะแนนและการให้ความร่วมมือกับฝ่ายชนะนี่ดูจะเป็นได้แค่จินตนาการเข่นกัน เราก็รู้ตัวเรากันอยู่ ก็เคยทำกันมาแล้ว
(จะว่าไปปัญหาขยะของกรุงเทพนี่มาจากการที่คนทิ้งขยะกันเรี่ยราด ส่วนการจัดการขยะที่ไม่ดีนั่นคือ กรุงเทพยังมีวิธีแก้ปัญหาที่ไม่ดี แต่วิธีแก้ปัญหาที่ไม่ดีนั่นไม่ใช่ต้นตอของปัญหา)
(ปัญหาการขายของกันบนทางเท้าก็เช่นกัน ก็เพราะคนขายมาขายกันบนทางเท้า คนขายกันบนทางเท้าก็เพราะคนซื้อซื้อกันบนทางเท้า ครั้งนี้เราจะเลือกผู้ว่าให้ดี ผู้ว่าที่ดีจะจัดการหน่วยเทศกิจให้ดี เพื่อให้เทศกิจที่ดีมาไล่ปรับผู้ขาย และต้องไล่ปรับเราด้วยถ้าเราไปซื้อบนทางเท้า ไม่งั้นคงไม่ง่ายที่จะหยุดการซื้อขายบนทางเท้า ได้ อันนี้ก็คือพูดให้ extreme ไปงั้น ส่วนตัวก็ยังเป็นคนปกติ มีซื้อบนทางเท้าเข่นกัน)
เฮ้ย เดี่ยวๆ ฉุกใจนึกได้
ตอนนี้บางคนอาจคิดว่านี่ผมกำลังด่าใคร ด่าคนกรงุเทพ ด่าฉันด้วยสิไอ้เวง สรุปนี่ด่านี่หว่า?
ก็เลยต้องเขียนไลน์นี้ขึ้นมา คือจะบอกว่าไม่ได้ด่าใคร แค่อธิบายความตลกของมัน แต่ก่อนยอมรับว่าเวลาคิดอะไรในลักษณะนี้จะรู้สึกโกรธไปด้วยและอาจด่าด้วยจริงๆ แต่ถ้าใครเคยอ่านงานเก่าช่วงหลังๆบางอันจะรู้ว่าเดี่ยวนี้ผมไม่เป็นเหมือนแต่ก่อนแล้ว ไม่ได้ด่า
จริงๆคือ ส่วนตัวคิดว่าทีเราเลือกได้คุณชัชชาติมานี่คือดีมากๆสุดๆเลย คนกรุงเทพจำเป็นต้องเลือกคนที่เหมาะสมมาเคลียร์ปัญหาที่คนกรุงเทพร่วมๆกันก่อ อันนี้คือความจริงที่ต้องยอมับ มันถูกต้องตามธรรมชาติแล้ว เดี่ยวนี้ผมเก็ทแล้ว ธรรมชาติเป็นแบบนี้แหละ แต่มันยังเป็นเรื่องตลกอยู่ดี
จริงๆ ผมมีเขียน e-book เล่มเล็กๆอันนีงด้วยซ้ำ แต่ไม่ได้เผยแพร่ออกไป มันมาจากประสบการณ์ของตัวเองนั่นแหละ แล้วก็ตั้งชื่อขำๆไว้ว่า
"How-To ฝึกจัดการกับความโกรธด้วยการเปลี่ยนมันเป็นความเศร้า (พร้อมทางออกจากทั้ง 2 ความรู้สึกนี้ ในแบบที่ทำไม่ง่าย)"
ผมว่าจะเผยแพร่หลายที แต่หาจังหวะที่ดีไม่ได้ ถ้าปล่อยออกไปจังหวะไม่ดี จะโดนทัวร์ลงเอาได้ กลัวว่าคนจะโกรธเราก่อนที่เราจะเล่าได้จบ เอาจริงๆแค่ชื่อหนังสือผมว่ามันก็ขำมากแล้ว และมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ความขำเราไม่ค่อยเหมือนใคร ความเสี่ยงมันสูงมากทีเดียว รู้ตัวอยู่ ก็ยังเก็บไว้อยู่
เอาเป็นว่า ที่เขียนไอ้ตรงวงเล็บนั่น ขอให้มั่นใจ ไม่ได้ด่าใคร อย่างที่บอก ผมเองก็ซื้อของตามฟุดบาท ผมไม่ด่าใคร ถ้าตัวเองก็ทำเหมือนกัน ด่าไม่ได้ มันน่าอาย ส่วนที่เขียนนั่นคืออยากให้เห็นอีกมุมมองนึงซึ่งก็เป็นจริงเช่นกัน ตรรกะถูกต้องเช่นกัน เรามีโอกาสอยู่ในมุมนั้นเหมือนกัน โอกาสที่คนจะมีเริ่มแก้ปัญหาต่างๆนานๆ whatever problems โดยเริ่มที่ตัวเอง
อาจเป็นธรรมชาติของอะไรก็ไม่รู้ ที่เราจะรบกันเองไปจนกว่าจะมองเห็นทัพข้าศึกล้อมรอบเมืองและโยนเพลิงเข้ามา วันนั้นเราจึงรู้ว่าโลกนี้ไม่ได้มีเรากับการเมือง
ถ้าพูดถึงว่าเรารบกันเอง การเมืองเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้อยู่แค่ในสภาแล้ว นอกสภานี่ไม่มีประธาน ไม่มีใครปิดไมค์ใคร ยิ่งบนโซเชี่ยลนี่ไม่มีกฎกติกาใดๆทั้งสิ้น จะสร้างแอคเคาท์กี่หลุมก็ได้
ถ้าไม่นับหลักการทางการเมืองซึ่งอาจมีแนวคิดทิศทางที่ชัดเจนตายตัว วิธีสื่อสารการเมืองสมัยนี้ก็คงต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คงไม่ใช่การเผยแพร่สารเหมือนแต่ก่อนแล้ว ดูว่าจะต้องใข้ตำราแนว Influencers marketing ซะมากกว่า เจนี่ พอลล่า แอนอริชา เจนสุดา นานา วุ้นเส้น ต้องรับส่งกันไปมา สมัยก่อนผมทำงานให้ลูกค้าแบบนี้
โชคดี thought leaders ของเราน่าจะไม่ได้ต้องการรับเงิน
(อย่างน้อยก็ที่มาตรงๆเป็นตัวเลข เขื่อว่าเขาไม่ได้ต้องการ แต่ถ้าอ้อมๆเป็นตำแหน่งอะไรงี้ ก็อาจว่ากันไป)
ก็ขอให้ใครที่ได้อ่านลองดูให้ดี ไม่ว่าจะเป็นวงการอะไร การเมือง การตลาด ศิลปะ ชมรมคุณแม่มือใหม่ อยากให้ฟัง thought leaders กันมากกว่าฟัง Paid Influencers หรือบางคนก็เป็นได้ทั้งสองอย่างในคนเดียว อย่างนี้ก็โอเค recommended ครับ แต่ส่วนใหญ่จะยาก เพราะมันขัดกันอยู่ในตัว
สุดท้ายขอแสดงความยินดีกับคุณชัชชาติและผู้สนับสนุน
ส่วนตัวคือดีใจมากที่ได้เห็น "การชนะที่ท่วมท้นและขาดลอย"
ถ้าเวทีใหญ่เป็นอย่างนี้ได้ก็คงดี
ความพร้อมเพรียงสามัคคี คือ พลัง เสมอ
ไม่ว่าจะระบอบอะไรก็ตาม
ถ้าไม่มีความสามัคคีใดๆเลย ระบอบอะไรก็คงช่วยไม่ได้ เหมือนอย่างที่เรามีผลโหวตแต่ไม่จำเป็นต้องเคารพมัน
ต่อให้ไม่ต้องมีระบอบระบอะไรก็ยังได้ ไม่ต้องมี blockchain ไม่ต้องมี productivity ก็ได้ ถ้าสร้างความสามัคคีของ demand ได้ ราคาคริปโตก็ขึ้นได้เช่นกัน
ราคาที่เกิดจากความสามัคคีของ demand ล้วนๆ ไม่ได้อิงกับ productivity ใดๆเลย ถือเป็นเรื่องเปราะบางมาก ถ้ามันขึ้นได้เพราะความสามัคคีก็จะลงทันทีเมื่อไม่มีความสามัคคี
ค่าตัวของแต่ละคนขึ้นอยู่กับ productivity ของคนๆนั้นในการทำงาน และขึ้นอยู่กับ perception ของผู้จ้างที่มีต่อคนๆนั้นและ productivity ของเขา
สกุลเงินอะไรก็ไม่ได้มี productivity อะไรทั้งนั้น
นี่คือความหมายเวลาที่เราได้ยิน Bill Gate กับ Buffet บอกว่า เขาไม่ได้สนับสนุนแนวคริปโตนี้ เพราะ คริปโตไม่มี productivity
แต่เงินหยวนเป็นที่ต้องการ เพราะถ้าจะค้าขายกับคนจีน คนจีนอยากได้เงินหยวนมากกว่าเงินเยนหรือเงินบาท
แน่นอนถ้าจะค้าขายกับไทย สุดท้ายก็ต้องมาเข้ากระเป๋าเราเป็นบาท เพราะเอาไว้จ่ายค่าส้มตำไก่ย่างได้
ระบบเศรษฐกิจของไทย คือตัวกำหนด demand ของเงินบาท
ตามหลักโบราณแล้ว คริปโตในฐานะสกุลเงินก็ไม่ควรจะต่างกัน
วันนึงมันคงจะเป็นสกุลเงินที่เป็นสื่อกลางสำหรับธุรกรรมใน Metaverse Multiverse นั่นแหละ แล้วก็คงโลกธรรมชาติด้วย
Demand ของมันก็คงขึ้นกับ productivity ที่เกิดบน Metaverse เทียบกับที่เกิดบนที่อื่นๆมั้ง
แต่ส่วนตัวตอนนี้ที่ผมใช้คริปโตก็คือเอาไว้จ่ายค่าซื้อคริปโตได้ แต่คริปโตที่เอาไปจ่ายค่าซื้อคริปโตนั้น ผมเอาเงินบาทไปซื้อครับ ถ้ามีคริปโตมากเหลือเฟือกว่านี้ก็ว่าจะซื้อ NFT มาใช้เป็นรูปโพรไฟล์
น่าจะต้องดูๆกันไปสำหรับชนชั้นกลางว่า world economic crisis ที่ดันมาพร้อมกับ metaverse และ annual all-year-round PM2.5 ว่าเราจะขาย crypto มาซื้อบ้านริมลำธารอากาศบริสุทธิ์และส้มตำไก่ย่างดีไหม หรือจะลงทุนระยะสั้นซื้อ crypto ซื้อเช้าขายเย็น ทำกำไรมาจ่ายค่าส้มตำและค่าแว่นที่กำลังทยอยออกกันมา
ส่วนคนชั้นบนกับชั้นล่าง คำตอบมันน่าจะชัดเจนอยู่แล้ว
ชั้นบนเขาก็คงเอาหมดนั่นแหละ
ที่พูดเรื่องคริปโตทั้งหมดนี้ core idea ต้องการบอกว่า
ไม่ว่าค่านิยมใหม่จะอวยสิทธิ์ทุกคนในการเป็นตัวของตัวเองและมีความคิดของตัวเองมากแค่ไหน ใครจะคิดยังไงกับคริปโตก็ได้ ผมก็มีความคิดของผมกับคริปโตในแบบหนึ่ง คนอื่นก็คงมีอีกแบบหนึ่ง
แต่จะยังไง
สามัคคี คือ พลัง เสมอ
ทีคริปโตเรายังสามัคคีกันซื้อได้
ปัญหาทุกอย่างมีทางออก
ส่วนตัวมองว่า
โลกหลังจากนี้คงเป็นเรื่องของพลังมากขึ้นเรื่อยๆ
นึกภาพว่า ยกภูเขา ลำธาร แม่น้ำออกหมดเกลี้ยง ก็ไม่มีแล้วที่จะต้องใช้กลยุทธ์อะไร เคยตั้งใจจะใช้กลยุทธ์บีบเส้นทางให้ข้าศึกเดินทัพมาที่ลำธารแล้วซุ่มยิงจากยอดเขา แต่มันไม่มีแล้วยอดเขา ไม่มีลำธาร มีแต่โลกไร้พรมแดน seamless world ที่ไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ
ถ้าพลังล้วนๆ ก็คือ วิ่งเข้าใส่กันบนพื้นราบทุ่งสะวันน่า ทัพ 1000 คน วิ่งใส่ทัพ 10 คน ไอ้ 10 คนก็เกลี้ยงสิ จะเหลือเหรอ
ถ้าจะมีช่วยได้ก็คงเรื่องยุทโธปกรณ์ อันนี้หมายถึงเทคโนโลยี ถ้ามีปืนใหญ่ย่อมชนะทัพดาบซามูไร 20 คนได้ ต่อให้เรามีแค่คนเดียว
ซึ่งก็อีกนั่นแหละ กองทัพที่มี 1000 คน ก็มักจะมียุทโธปกรณ์ที่ดีกว่ากองทัพ 10 คน ด้วยเหมือนกัน นี่คือธรรมชาติ ตลกไหม?
เรื่องหลักของพลังกับหายนะที่เคยเขียนไว้ตั้งแต่สมัยไม่รู้กี่ปีที่แล้ว ตอนนั้นโดนคนด่าเหมือนกัน
เอาว่าพอพูดว่า seamless world นี่ธุรกิจน่าจะเห็นภาพ เพราะย้ายมาบนออนไลน์กันหมดแล้ว มันไม่มีเขาไม่มีแม่น้ำเป็นอุปสรรคอะไรอีก แค่คลิกเท่านั้นเอง เปลี่ยนยี่ห้อเปลี่ยนร้านได้ทันที
ซึ่งตรงนี้คนทำออนไลน์น่าจะรู้ ว่าที่อธิบายภาพยกภูเขาลำธารออกจนหมดนี่มันก็เวอร์ไปมาก ดังนั้นส่วนตัวเชื่อว่า กลยุทธ์มันยังต้องมีอยู่และกลยุทธ์ที่ดีจะช่วยได้มากๆ แต่โดยภาพรวมแล้วบทบาทของกลยุทธ์มันคงลดลง เมื่อเทียบกับบทบาทของพลังที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของชัยชนะ (หรือ ความอยู่รอด)
อย่างนึกภาพเห็นคนแชร์กันในโซเชียล เรื่อง Flash Coffee กับร้านป้าหน้าซอยต้องขายเครืองทิ้ง
ก็นี่แหละ คือ เรื่องของพลังที่ต่างกัน แต่ Flash Coffee กระทำการนี้ก็ไม่ใช่ว่าไม่ต้องใช้กลยุทธ์ มันเป็นเรื่องกลยุทธ์ตั้งแต่วันแรกที่เขาคิดจะทำสิ่งนี้แล้ว
อ่ะ ใน IG ก็จะมีรุ่นน้องๆ ที่เพิ่งจบบ้าง เรียนอยู่บ้าง มีหลายคนทีเราได้คุยกัยหลังไมค์ บางคนก็ไม่ได้อยู่ในสายธุรกิจ แต่ถ้าตามเข้ามาอ่านกันตรงนี้ ก็ขอให้นึกเรื่อง WFH หลายคนบอกว่าดี ได้อยู่บ้าน
แต่นานแล้วเคยบอกไปกับน้องที่ออฟฟิศที่ลาออก บอกว่า ถ้าออฟฟิศไหนให้เธอเข้าออฟฟิศจงเลือกออฟฟิศนั้น อย่างน้อยเธอมีภูเขา มีลำธารให้ศึกษา สักพักยังพอมีความได้เปรียบได้ แล้วถ้ามีที่พักใกล้ออฟฟิศ เธอยังสู้ได้ด้วยการเข้างานก่อนกลับทีหลัง เอาความอุตสาหะเข้าสู้ ถ้ามันจำเป็น
แต่ถ้าเธอจะ WFH เธอก็ต้องวัดกันที่พลัง 100%
ถ้าในเรื่อง work force พลังนี่คืออะไร ผมว่า workforce ก็วัดกันที่ผลงาน พลังสำหรับ work force ก็คือ ทักษะ และความรับผิดชอบ
ก็อย่างทุกวันนี้กราฟฟิกดีไซน์เราก็เป็นคนเชียงราย ทำงานจากเชียงราย
กรุงเทพกำลังจะเป็นเมืองที่น่าอยู่แล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่แล้ว
อันนั้นคือน้องๆทำได้ ไม่ต้องเข้ากรุงเทพแล้ว ที่ยังอยู่ตอนนี้ก็กลับไปได้แล้ว ไปอยู่กับพี่น้องพ่อแม่ เพื่อนในจังหวัดซะ แต่สำคัญคือต้องมีพลังเป็นของตัวเอง
ถ้าไม่งั้นจงเข้าออฟฟิศ
ส่วน office worker รุ่นเก๋า อย่างนี้อยู่บ้านได้เลย คุณน่าจะเป็น NFP ขององค์กรนั้นๆ คือเป็น non-fungible person คนนอกที่มีแต่พลังใช่ว่าจะแทนที่คุณได้ คุณรู้เหลี่ยมภูเขานี้หมดแล้ว
สรุป คือ ไม่ได้จะบอกว่า ไทยแพ้ในเวทีโลกเพราะเราไม่มีพลัง เราจะตายกันหมดทุกคนแน่นอน ไม่ใช่อย่างนั้นเลย
ที่จะบอกคือ (ย้ำอีกครั้ง) จะบอกว่า "สามัคคี คือ พลัง"
ค่าเงินสกุลต่างๆ ก็คือ reflection ของ demand ที่มีกับเงินสกุลนั้นๆ ซึ่งในเคสนี้เราไม่ได้เป็น คริปโต ไม่ได้มี perception อะไรที่ favor เรา ดังนั้นเงินเราก็อิงจาก productivity ของไทยเรานั่นแหละ (ตัดเรื่องการบริหารจัดการภาคการเงินการคลังออกไปก่อนนะ เครดิต หนี้ ดอกเบี้ยอะไรตัดออกไปก่อน หนึ่งคือไม่งั้นมันจบไม่ได้ สองคือผมจบเศรษฐศาสตร์แค่ระดับปริญญาตรี เกรดห่วยด้วย ยิ่งพูดเยอะจะยิ่งผิดเยอะเกินไป)
การแข่งขันสมัยนี้ เรื่องกลยุทธ์ยังสำคัญอยู่ แต่เรื่องพลังเข้ามามีบทบาทสูงมากขึ้นมากๆๆๆ
เราไม่ได้จะไปแข่งกับจีน หรือ อเมริกา หรือประเทศเพื่อนบ้านไหนซะทีเดียว ในความหมายแบบแข่งกันตรงๆแบบนั้น เอาเป็นว่า ข้ามช๊อตมาเลย คือ เราต้องมี productivity เราจีงจะอยู่ในโลกได้ และนั่นคือต้องมีทั้งกลยุทธ์และเราต้องมีพลัง
ส่วนตัวผมมองว่ากลยุทธ์ถึงจะยากแต่ไมใช่ว่าคิดกันไม่ได้ หลักการมันค่อนข้างชัดเจน แต่พอเราไมมีพลัง ทางเลือกของกลยุทธ์มันก็มีจำกัด
สรุปคือที่มันจะยากอยู่ตอนนี้คือเราไมมีพลัง พลังในแง่ของประเทศคืออะไร ก็ต้องถามว่าในเวทีโลก ถ้าเค้าเทียบกันว่าใครเหนือกว่าใคร เค้าเทียบกันที่อะไร นั่นแหละพลัง
ถ้าไม่มีพลังก็ไม่มี Productivity
ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ผมเคยได้ยินแว่วๆว่ามีวาทะกรรมกัน เรื่อง ประเทศขาดความสามัคคี เข้าใจว่าคนเกลียดการใช้เรื่องการขาดความสามัคคีมาเป็นเหตุผลอธิบายความล้มเหลวในอดีตบางอย่างของเรา ผมไม่รู้เค้าหมายถึงเรื่องอะไรกันนะ
(อันนี้ไม่รู้รายละเอียดจริงๆนะ ไม่เคยติดตามเรื่องนี้ พอดีตะกี๊เลย มีเห็นในเฟสแว้บๆ ใครเขียน headline เรื่องวาทะกรรมความสามัคคีอยู่บนโพสต์เขา ผมก็เลยคิดว่าต้องออกตัวก่อน เพราะผมเขียนเรื่อง ความสามัคคี พอดีเหมือนกัน คือผมหวังว่า ความสามัคคีที่เราพูดถึงจะเป็นคนละเรื่องกัน เพราะผมไม่พร้อมถกเถียงกับใครครับ ผมจะทำงานต่อนิดหน่อยและพรุ่งนี้จะไปเที่ยวทะเลกับหลาน)
ถ้าคนสามัคคีหรือเรียกว่าพร้อมเพรียงกันได้ เรื่องที่เหมือนไม่มี foundation อย่างราคาคริปโตตอนนี้ก็ยังเป็นไปได้เลย
แล้วตอนนี้อาจมีคนคิด ว่าผมพูดเลื่อนลอย คนจะสามัคคีกันได้ไง?
เอาว่า ไม่ต้องมองไปไหนไกล กลับมาเรื่องคุณชัชชาติที่ได้ชัยชนะอย่างขาดลอย
เมื่อวานผมคุยกับหลายคน กับคำถามที่ว่า ทำไมเลือกคุณชัชชาติ โดยที่บางคนก็มั่นใจถึงความโยงใยของคุณชัชชาติกับขั้วการเมือง ในขณะที่บางคนก็ไม่ได้ปักใจอะไร
คำตอบที่ได้ตรงกันจากทุกคน ตอบเป็นเสียงเดียวกัน คือ
"กรุงเทพมันไม่ไหวแล้ว อยากให้กรุงเทพดีขึ้น คุณชัขชาติดูเป็นคนที่จะทำได้ที่สุด"
ความสามัคคีเกิดจากสิ่งแรกเลย คือ การมีเป้าหมายร่วมกัน
คนกรุงเทพที่ผมสอบถาม เค้ามีเป้าหมายร่วมกันคือ อยากให้กรุงเทพดีขึ้น
จีงเกิดเป็นความพร้อมเพรียงในการเลือก choice ที่ตัวเค้าเเชื่อว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งอาจเป็นคำตอบไหนก็ได้ แต่ผลออกมาว่าเป็นคุณชัชชาติ
ผมขอเปลี่ยนประโยคด้านบน เป็น "ประเทศไทยมันไม่ไหวแล้ว อยากให้ประเทศไทยดีขึ้น นโยบายและทีมงานและ XXX ของพรรค XXX ดูเป็นทางเลือกที่น่าจะทำได้ที่สุด"
แค่นี้เลย ลืมความเกลียดชังทิ้งไป ลืมความเชื่อเดิมทิ้งไป ถ้าลืมไม่ได้ มันก็จะเจ็บปวดแหละ แต่เสียสละจุดนั้นเพื่อแลกกับการบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกัน เราทำได้ไหม? อันนี้คือ "สามัคคี คือ พลัง" ไง
โจทย์ครั้งหน้า ในวันที่มันมาถึง ก็ขอให้เราโชคดี
1. ขอให้เรามีคำตอบค่อนข้างชัดเจนตามหลักเหตุและผลที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาของพวกเรา
2. ขอให้พรรคต่างๆคิดสูตรผลิตภัณฑ์หรือการตลาด หรือเทคนิคอะไรบางอย่างออกมาได้ ที่ช่วยให้เราสามารถเลือกสิ่งทีดีกับปัจจุบันและอนาคตที่เรามีร่วมกันได้โดยเราไม่ต้องรู้สึกเจ็บปวด ไม่ขัดความเชื่อเดิมของใคร
อ้าว ผมนึกได้ กลัวบางคนถามอีก สามัคคีกลายเป็นพลังได้ยังไง กระบวนการมันคืออะไร ผมนี่ปวดหัวเหมือนกันนะ เพราะคอนเทนท์ผมจะแปลกๆหน่อย ก็จะโดน challenge มาทางหลังไมค์เรื่อยๆ
ซึ่งต้องขอบคุณทุกท่านมากที่ส่งมาทางหลังไมค์ ตรงๆเลยคือเราเจรจากันได้ ไม่ต้องมีใครหน้าแหก เพราะเราปราถนาดีต่อกัน ต้องการที่จะเรียนรู้จากกันและกัน ไม่ใช่จะมาประจานกัน แล้วคุณเชื่อมั้ย คนที่ส่งมานี่เราเปลี่่ยนเป็นความนับถือความชอบพอกันแทบทุกคน เพราะมีแต่คนที่แคร์เท่านั้นที่ส่งมา แค่นี้เป็นจุดเริ่มของความสามัคคีแล้ว
เอ้อ แล้วคำตอบคืออะไร กระบวนการที่สามัคคีมันจะเปลี่ยนเป็นพลัง
ผมตอบได้เลยว่า ในเคสของ productivity ของประเทศนี้ว่า ผมตอบไม่ได้หรอก มันคงซับซ้อนเกินความเข้าใจและความสามาถในการอธิบายของผม แต่มันไม่ได้เกินศรัทธาของผมที่มีต่อผู้คนโดยรวม มันเป็นไปได้ในความคิดของผม
แต่ถ้าอย่างเคส คริปโต เนี่ย ผมเข้าใจว่า พอซื้อพร้อมๆกัน ราคามันก็ขึ้น ราคาขึ้นเรื่อยๆ คนก็อยากได้กันทุกคน พอคนมีกันทุกคน ก็เอามาใช้กัน คราวนี้มันก็คงใช้ได้จริง แต่เข้าใจว่าในหนังสือ Bitcoin Standard น่าจะอธิบายได้ดีกว่านี้เยอะ ก็กลับจากเที่ยวทะเลก็จะหาเวลาอ่านดูครับ
ส่วนถ้าเคสคุณชัชชาติ ถ้าคุณที่อ่านอยู่เป็นคนกรุงเทพ เกินครึ่งนึงของพวกคุณน่าดีใจเพราะจะเห็นกับตาแล้วตามที่เลือกกันไปว่ามันเป็นพลังจริงมั้ย แล้วคุณก็กำลังรอดูสิ่งที่จะตามมานับจากนี้จากคุณชัชชาติและทีมงาน ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าส่ิงที่จะตามมามันจะอธิบายคำว่า สามัคคีคือพลังได้ดีกว่าที่มานั่งอ่านที่ผมเขียนวนไปมานี่แน่นอน
ส่วนอีกครึ่งที่ไม่ได้เลือก ผมก็เชื่อว่าทุกคนตัดสินใจกันต่างกรรมต่างวาระ และตั้งใจตัดสินใจให้ดีที่สุดแล้ว
ผมว่าไมมีใครเลือกอะไรผิดแน่นอน ก่อนหน้านี้ก็ไม่ใครรู้ว่า คุณชัชชาติจะได้
ถ้าเป็นคุณ สกลธี คุณเอ้ คุณวิโรจน์ คุณอัศวิน หรือ ใครก็ได้ แล้วได้คะแนนเกิน 50% ผมก็คงจะเขียนเรื่องนี้อยู่ดี เพราะนี่เป็นเรื่องที่อยู่ในใจมานานมากแล้ว
—-
ปล. ส่วนตัว สนับสนุนการใช้ blockchain กับทุกสิ่ง รวมถึงใช้จัดการกับประชาธิปไตยและการเมืองในอนาคตด้วย (ถ้ามี)
หากพูดอะไรผิดไปก็ขออภัย ตอนนี้เรื่องราวมันเยอะมาก ส่วนตัวก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลศึกษาจนรู้ลึกมันทุกอย่างได้ โปรดอย่าถือสา คิดซะว่านี่คือนิยายละกันครับ
ขอบคุณครับ
@wolfpackstyle80
-((w)-
#creatorforchange
#wolfpackstyle80
==
กดติดตาม ติดกระดิ่ง เพื่อรับคอนเทนท์เก๋ๆทุกวัน
แนวคิด | ชีวิต | คำถาม | สไตล์ | เก๋ป่ะล่ะ
- WOLFPACK Style 80 -
ทั้งหนัก ทั้งเบา ทั้งถูกใจ ทั้งขัดใจ แต่รับประกันว่าตั้งใจให้เป็นประโยชน์ทุกโพสต์นะครับ
โฆษณา