Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
25 พ.ค. 2022 เวลา 06:00 • การตลาด
รู้จัก “Shrinkflation“ เทคนิคขึ้นราคาแบบเนียนๆ ที่ผู้บริโภคต้องรู้ให้ทัน!
เคยไหม? ซื้อสินค้าชนิดเดิม ราคาเดิม แต่กลับรู้สึกว่าได้ของน้อยลง หรือชิ้นเล็กลง...ทว่านี่อาจไม่ใช่แค่ความรู้สึก แต่คุณอาจกำลังเผชิญหน้าอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า “Shrinkflation” ที่ทำให้คุณได้ของปริมาณลดลงในราคาที่เท่าเดิมแบบแทบไม่รู้ตัว
รู้จัก “Shrinkflation“ เทคนิคขึ้นราคาแบบเนียนๆ ที่ผู้บริโภคต้องรู้ให้ทัน!
Shrinkflation เกิดจากการรวมกันของคำว่า "Shrink" ที่หมายถึงการหดตัวและ "Inflation" ที่หมายถึงการพองตัว ซึ่งในที่นี้หมายถึง "เงินเฟ้อ" คือ ภาวะที่ราคาสินค้าหรือบริการปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้คำว่า Shrinkflation หมายถึงการลดขนาดผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยลดต้นทุนสำหรับผู้ผลิต ท่ามกลางสภาวะที่บริษัทต่างๆ ต้องเผชิญกับราคาสินค้าที่สูงขึ้นและถึงจุดต้องส่งต่อต้นทุนเหล่านี้ไปยังผู้บริโภค
เรียกได้ว่า Shrinkflation คือเทคนิคหรือกลยุทธ์หนึ่งในการคงกำไรให้ธุรกิจด้วยวิธี “ลดปริมาณสินค้า” แต่ยังคง “ขายในราคาเท่าเดิม”
จึงอาจกล่าวได้ว่านี่คือสภาวะที่สะท้อนเงินเฟ้ออีกรูปแบบ ที่ทำให้เราซื้อของในราคาที่แพงขึ้น เพราะถึงแม้จะจ่ายเท่าเดิม แต่เราก็ได้ของน้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง
📌 ทำไมหลายธุรกิจถึงเลือกใช้เทคนิค "ลดปริมาณ" แทนการ "ขึ้นราคา"
ในทางการตลาด เทคนิค Shrinkflation เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้ เพราะส่งผลกระทบกับความรู้สึกของลูกค้าและการตัดสินใจซื้อน้อยกว่าการประกาศขึ้นราคาแบบโต้งๆ
เพราะการลดปริมาณเงียบๆ ที่อาจไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงมากนัก หรืออย่างน้อยที่สุดต่อให้รู้ว่าปริมาณลดลงไปบ้างลูกค้าก็ไม่ต้องควักเงินจ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยแบบนี้
📌 Shrinkflation ใช่ว่ามีแต่ได้กับได้
ที่ผ่านมามีหลายแบรนด์ทั่วโลกที่เลือกใช้เทคนิค Shrinkflation ในช่วงสภาวะเงินเฟ้อ หรือต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นคนยื้อไม่ไหว มีทั้งแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ
ยกตัวอย่างแบรนด์ที่เคยใช้เทคนิคนี้แล้วแป้ก คือ ช็อกโกแลต Toblerone ที่เคยปรับขนาดลงในปี 2016 โดยให้เหตุผลเรื่องต้นทุนและราคาวัตถุดิบในตอนนั้น จากแท่งช็อกโกแลตรูปเทือกเขาแอลป์แบบฐานกว้าง ทรงคล้ายสามเหลี่ยมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงถูกเพิ่มช่องว่างระหว่างภูเขา ทำให้ช็อกโกแลตแท่งโปรดของใครหลายคนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปและกระทบต่อความรู้สึกของลูกค้า โดยเฉพาะแฟนตัวยง ที่ทำให้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อแบรนด์ในที่สุด
ส่วนเคสที่ประสบความสำเร็จ และได้ผลตอบรับดีเกินคาดจากการลดปริมาณสินค้าที่เห็นได้ไม่บ่อยนัก คือ เครื่องดื่มนมแบรนด์ “Oishii Gyunyu” ในญี่ปุ่นที่ลดปริมาณนมลงจาก 1,000 มิลลิลิตร หรือ 1 ลิตร เหลือ 900 มิลลิลิตร ขายราคาเท่าเดิม แต่ที่เพิ่มเติม คือการเปลี่ยนฝากล่องนมจากแบบที่ต้องฉีกหรือตัดเองให้เป็นฝาพลาสติกเปิดเทและปิดได้ ทำให้ลูกค้าถูกใจและได้รับผลตอบรับอย่างดี
อ่านเพิ่มเติม
bangkokbiznews.com
รู้จัก “Shrinkflation“ เทคนิคขึ้นราคาแบบเนียนๆ ที่ผู้บริโภคต้องรู้ให้ทัน!
ทำความรู้จัก “Shrinkflation” เทคนิคการขึ้นราคาแบบเนียนๆ ขายราคาเดิม แต่ปริมาณน้อยลง รับสถานการณ์เงินเฟ้อ ของแพง สวนทางเงินในกระเป๋า
9 บันทึก
6
10
9
6
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย