23 พ.ค. 2022 เวลา 17:25 • ไลฟ์สไตล์
การย่อยอาหาร หมายถึง หมายถึง  การทำให้สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลง  จนกระทั่งแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ การย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี คือ
  • 1.
    การย่อยเชิงกล คือการบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดของอาหารทำให้อาหาร
  • 2.
    มีขนาดเล็กลง
  • 3.
    การย่อยเชิงเคมี คือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหารโดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง
ทางเดินอาหารและการย่อยอาหารในทางเดินอาหารของมนุษย์ มีลำดับขั้นดังนี้ 1.  ปาก ( mouth) มีหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหาร เมื่ออาหารเข้าสู่ปาก  จะถูกบดด้วยฟัน  มีลิ้นช่วย คลุกเคล้าอาหารให้เข้าน้ำลาย ในน้ำลายมีเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลิน(Ptyalin) ทำหน้าที่เปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตามอลโทส  ซึ่งเอนไซม์อะไมเลสจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส เล็กน้อย
ในปากมีต่อมน้ำลายมี 3 คู่ ได้แก่
คู่ที่ 1 ต่อมพาโรติด (Parotid gland) พบได้ที่บริเวณกกหู ผลิตน้ำลาย ชนิดใสชนิดเดียว
คู่ที่ 2 ต่อมใต้ขากรรไกร (Submaxillary gland หรือ Submandibular gland) พบได้ที่บริเวณ
ขากรรไกรล่าง ผลิตน้ำลายทั้งชนิด เหนียวและใส  แต่ชนิดใสจะมากกว่า เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายได้
มากที่สุด
คู่ที่ 3 ต่อมใต้ลิ้น (Sublingual gland) ขนาดเล็กที่สุด พบได้ที่บริเวณใต้ลิ้น ผลิตน้ำลายทั้งชนิด
เหนียวและใส แต่ชนิดเหนียวจะมากกว่า
2. คอหอย (pharynx)    เป็นทางผ่านของอาหาร ซึ่งไม่มีการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น
3. หลอดอาหาร(esophagus) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบ มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อ
ทางเดินอาหารเป็นช่วงๆ เรียกว่า “ เพอริสตัสซิส (peristalsis)” เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่
ลงสู่กระเพาะอาหาร
4. กระเพาะอาหาร (stomach)  มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร
และมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์เพปซิน (Pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด
โดยชั้นในสุดของกระเพาะอาหารจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริก
เอนไซม์เพปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเพปไทด์ (Peptide) ในกระเพาะอาหารนี้ยังมีเอนไซม์อยู่อีก
ชนิดหนึ่งชื่อว่า เรนนิน (Renin) ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหารกระเพาะอาหาร
จะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร  แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า
อ้างอิง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.2554. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ 4 . กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และคณะ . 2560.ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด เสริมสร้างสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชการ (พว)
อ้างอิง http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/  สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2560
โฆษณา