24 พ.ค. 2022 เวลา 03:59 • ข่าวรอบโลก
ข้อเรียกร้องของตุรกี ต่อการเป็นสมาชิก NATO ของ ฟินแลนด์และสวีเดน
1
การที่ประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdogan แห่งตุรกี แสดงจุดยืนคัดค้าน
การสมัครเข้าเป็นสมาชิก NATO ของ ฟินแลนด์ และสวีเดน เมื่อ 13 พ.ค.65
โดยให้เหตุผลว่า ทั้ง 2 ประเทศ ถือเป็น
แหล่งที่อยู่ของกลุ่มก่อการร้ายที่เป็นภัยต่อตุรกี เช่น
Kurdistan Workers’ Party (PKK)
Syrian Kurdish People’s Protection Units (YPG) เป็นต้น
2
นั่นเป็นข้อมูลจริงที่ตุรกียกขึ้นมา แต่อาจไม่ใช่เหตุผลจริงๆ ของการคัดค้านฯ
เพราะ อิสตันบูล เป็นประตูของทะเลดำ (จุดยุทธศาสตร์สำคัญ)
คือเป็นที่ตั้งของทั้งช่องแคบ Bosphorus และช่องแคบ Dardanelles
ทำให้ตุรกีต้องวางตัวเป็นกลาง กับทั้งรัสเซียและ NATO
(อ้างอิงเนื้อหาจากที่เพจ ILHAIR เคยเขียนไว้ https://www.blockdit.com/posts/627f07a3709ffe6ec4e81bfc )
5
ที่มา https://maritimecyprus.com/2021/03/28/guidelines-for-transiting-the-turkish-straits/
ในประเด็นที่ว่า ฟินแลนด์และสวีเดน
ยอมให้กลุ่มก่อการร้าย (ที่เป็นภัยต่อตุรกี)
อาศัยอยู่ในฟินแลนด์และสวีเดนนั้น
สามารถหาข้อมูลจากแหล่งข่าวเปิด (Opensource) เช่น
ภาพตัวอย่างการประชุมของ “กลุ่มชาวเคิร์ดต่างๆ” ที่จัดขึ้นในสวีเดน
โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสวีเดน เข้าร่วมประชุมด้วย
3
ที่มา https://www.rudaw.net/english/middleeast/15122021 และ Twitter.com/ANNLINDE
ที่มาของความขัดแย้งระหว่างชาวเคิร์ดกับตุรกี
ขออ้างอิงข้อความจาก
สำนักข่าวออนไลน์ RYT9 (ที่มา https://www.ryt9.com/s/iq41/3055280 ลงไว้เมื่อ 16 ต.ค.62)
“ในมุมมองของผู้นำตุรกี”
3
…ภายใต้การนำของประธานาธิบดีประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน อธิบายถึงสาเหตุของการกระทำที่อุกอาจนี้ว่า ตุรกีต้องการจัดตั้งเขตปลอดภัย (safe zone) ซึ่งอยู่ลึกเข้าไป 32 กม.ในดินแดนซีเรีย สำหรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่อาศัยอยู่ในตุรกีกว่า 2 ล้านคน รวมถึงกวาดล้างภัยคุกคามด้านความมั่นคงจากพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (PKK) และกลุ่มนักรบชาวเคิร์ด (YPG)
3
ที่ตุรกีมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย และยังไม่ทันข้ามวัน กองทัพตุรกีก็เดินหน้ารุกโจมตีภาคพื้นดิน ส่งยานหุ้มเกราะ รถถัง และกองกำลังทหารเข้าสู่พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย หวังยึดพื้นที่คืนจากกลุ่มนักรบชาวเคิร์ดหรือ People's Protection Units (YPG) ให้สำเร็จ
5
แม้ว่าจะเผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์เซ็งแซ่ไปทั่วสารทิศ ตุรกียังเดินหน้าบดขยี้กองกำลังชาวเคิร์ดในซีเรียต่อเป็นเวลาหลายวัน พร้อมระบุว่า จะผลักดันกองกำลังชาวเคิร์ดออกจากบริเวณชายแดนให้สำเร็จ จนมีผู้อพยพหนีตายนับแสนคน และมีผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งร้อย…
6
และ
ข้อความจาก สำนักข่าวออนไลน์ RYT9 (ที่มา https://www.ryt9.com/s/iq41/3055280 ลงไว้เมื่อ 16 ต.ค.62)
“ในมุมมองของชาวเคิร์ด”
3
…หากต้องเลือกระหว่างการประนีประนอมกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เราคงต้องเลือกรักษาชีวิตประชาชนของเรา" นี่คือถ้อยแถลงของ มัสลุม อับดี ผู้บัญชาการของกลุ่มกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย หรือ Syrian Democratic Forces (SDF)
ที่เผยให้เห็นชะตากรรมอันริบหรี่ของชาวเคิร์ด หลังจากกองกำลังตุรกีบุกเข้าโจมตีอย่างหนักหน่วงตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (ต.ค.62)
4
สถานการณ์ที่คละคลุ้งกลิ่นคาวเลือดระหว่างตุรกีและเคิร์ดเกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ประกาศถอนกำลังทหารอเมริกันออกจากพื้นที่ใกล้ชายแดนระหว่างซีเรียกับตุรกี ซึ่งเป็นที่ตั้งของชนกลุ่มน้อยชาวเคิร์ด พร้อมประกาศลั่นว่ากองทัพของสหรัฐจะไม่ขัดขวาง หากกองทัพตุรกีเคลื่อนทัพเข้าสู่ซีเรีย…
4
เพจ ILHAIR ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมและสรุปได้ความว่า
ตุรกี เดินหน้าบุกขยี้กองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ด
**หลังจากที่ สหรัฐฯ ถอนกำลังและความช่วยเหลือออกไป**
จากเดิมที่สหรัฐฯ เคยให้ชาวเคิร์ด ช่วยทำสงครามตัวแทน (Proxy War) กับกลุ่ม IS ในซีเรีย
(มีคำอธิบายขยายความเพิ่มเติมที่ https://www.blockdit.com/posts/628956115e837dce2bc38dec )
2
“น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ” เมื่อกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ดสู้กับกำลังรบตุรกีไม่ได้
ด้วยวิธีการรบทางทหารตามแบบ (Conventional Warfare)
กองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ดจึงเปลี่ยนมาใช้สงครามกองโจร (Guerrilla Warfare)
ดังแผนที่สรุปภาพรวมการเสียชีวิตจากความขัดแย้งทั้งฝ่ายตุรกี กับฝ่าย Kurdistan Workers’ Party (PKK)
4
ที่มา https://www.crisisgroup.org/content/turkeys-pkk-conflict-visual-explainer
Critical Thinking หรือ การใช้หลักการและเหตุผล เป็นเครื่องมือในการคิดวิเคราะห์
คือ หัวใจหลักที่ เพจ ILHAIR ใช้มาโดยตลอด
จึงขอนำเสนอสิ่งที่ได้จาก Critical Thinking ดังนี้
2
1. การที่ฟินแลนด์ และสวีเดน ยอมให้กลุ่มก่อการร้ายชาวเคิร์ดใช้เป็นที่พำนักหลบภัยได้ ส่วนหนึ่งเพราะสถานะความเป็นกลางใน NATO (ที่เคยมีมาก่อนหน้านี้) จึงไม่มีประเด็นน่ากังวลที่กลุ่มก่อการร้ายชาวเคิร์ด หรือกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ จะใช้เป็น สถานที่ลี้ภัย (Sanctuary) เพราะ “ประเทศเป็นกลาง” ย่อมต้องไม่เข้าข้างคู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่าย (หรืออาจมากกว่า)
2
คำถามสำคัญ คือ แล้วฟินแลนด์และสวีเดน ได้อะไรจากการยอมเป็น Sanctuary ของกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ
สิ่งที่พอจะเป็นคำตอบง่ายๆ คือ ความปลอดภัยที่ว่า กลุ่มก่อการร้ายเหล่านั้น “น่าจะ” ไม่เกะกะ ก่อกวน ไปจนก่อวินาศกรรมกับประเทศผู้มีพระคุณนี้
แต่คำตอบนี้ อาจใช้ได้กับเพียงฟินแลนด์ เพราะ เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมครั้งรุนแรงภายในฟินแลนด์ เกิดครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว
2
ขณะที่ สวีเดน เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมอยู่เป็นระยะๆ ปีละหลายครั้ง
ซึ่งนั่น “อาจเป็น” หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราได้เห็นภาพของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสวีเดน เข้าร่วมประชุมกับกลุ่มชาวเคิร์ดต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นในสวีเดน
2
2. ตุรกี เคยเรียกร้องให้ฟินแลนด์และสวีเดน ส่งตัวบุคคลสำคัญของกลุ่มก่อการร้ายชาวเคิร์ดกลับไปยังตุรกี แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งล่าสุดตุรกีก็ได้เรียกร้อง “อีกครั้ง” เพื่อแลกกับการพิจารณายอมรับให้ทั้ง 2 ประเทศ เข้าเป็นสมาชิก NATO
2
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเหตุผลข้อ 1. ประกอบแล้ว เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าทั้งฟินแลนด์และสวีเดน จะไม่ยอมที่จะไปไล่จับหาตัวบุคคลสำคัญของกลุ่มก่อการร้ายชาวเคิร์ด แล้วส่งกลับไปยังตุรกี
และถ้าเป็นเช่นนี้จริง หนทางการขอเข้าเป็นสมาชิก NATO ของฟินแลนด์และสวีเดน ก็คงไม่มีวันเกิดขึ้น
2
ใช่ครับ ไม่มีวันเกิดขึ้น
แต่ก็อาจถือเป็น Win-Win Strategy ที่มีกับทั้งตุรกี ฟินแลนด์ สวีเดน
(ตลอดจนกลุ่มก่อการร้ายชาวเคิร์ด ยูเครน และรัสเซีย)
4
A. ตุรกี ได้แสดงจุดยืนประเทศ ในการรักษาสมดุลย์ (Balance of Power) ทั้งในฐานะชาติสมาชิก NATO และยังสามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีที่มีกับรัสเซียไว้ได้
2
B. ทั้งฟินแลนด์และสวีเดน ก็ได้สื่อสารทางยุทธศาสตร์ (Strategic Communication) ให้โลกได้รู้ รัสเซียได้เห็นแล้วว่า สถานะความเป็นกลางของประเทศอาจเปลี่ยนไปถ้ารัสเซียจะกระทำการรุกล้ำอำนาจอธิปไตย และสุดท้ายก็ยังรักษาสถานะความเป็นกลางไว้ได้เช่นเดิม แถมสิ่งสำคัญคือคำมั่นสัญญา (ปากเปล่า) จากทั้ง สหรัฐฯ และอังกฤษ ว่าจะปกป้องฟินแลนด์และสวีเดน หากยังไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิก NATO ได้
8
แถมท้าย
C. กลุ่มก่อการร้ายชาวเคิร์ด ก็ยังได้พำนักอาศัยหลยภัยใน ฟินแลนด์และสวีเดน ได้ต่อไป
3
D. ยูเครน จะได้เห็นความยากของหนทางการเข้าเป็นสมาชิก NATO ซึ่งแม้ สหรัฐฯ และ เลขาธิการ NATO (นาย Jens Stoltenberg : ภาพแรกของบทความนี้) จะยินดีรับฟินแลนด์และสวีเดน แต่การจะได้มาซึ่งฉันทามติที่ทุกชาติสมาชิก NATO จะต้องยอมรับนั้น มิใช่เรื่องง่ายในโลกแห่งความเป็นจริง (กรณีของยูเครนนี้ อาจไม่ถือเป็น Win-Win Startegy)
4
E. รัสเซีย ก็ไม่ต้อง Action ด้วยปฏิบัติการทางทหารใดๆ ต่อทั้งฟินแลนด์และสวีเดน
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา