Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
sydNEY: The Storiographer
•
ติดตาม
23 พ.ค. 2022 เวลา 19:04 • ประวัติศาสตร์
ศาสนายังสำคัญต่อมนุษย์โลกอยู่มั้ย ?
1) ทั้งหมดทั้งมวลจะขึ้นอยู่กับ “ระดับจิตใจของคน” ครับ ผมขอยกตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบแบบนี้ครับ
“ไปอยู่เมืองนอก”
ถ้าคุณมีเงิน คุณสามารถใช้เงินซื้อปัจจัยสี่ และความสะดวกอื่นๆในการดำรงชีวิตได้แทบทั้งหมด โดยที่คุณเองแทบจะไม่ต้อง “พูดภาษา” ของประเทศนั้นได้เลย โดยคุณอาจใช้ “นิ้ว” ชี้ๆเอา หรือสั่งซื้อของผ่าน Apps ฯลฯ โดยที่คุณเพียงแค่มีเงินเท่านั้น!
แต่การที่คุณไปอยู่ต่างประเทศแล้วพูดภาษาบ้านเขาไม่ได้เลย และไม่เคยพูดคุยและไม่เคยมี “เพื่อน” เป็นชาวต่างชาติเจ้าบ้านเลยนั้น ถ้าคุณ “ยินดี” กับชีวิตแบบนั้น ก็ชัดเจนว่า “มันเป็นเรื่องของคุณ” ที่คุณ “เลือกเอง”
1
“ส้มตำ”
ถ้าคุณชอบกินส้มตำ โดยไม่ต้องสั่ง ข้าวเหนียวไก่ย่างมากินด้วย มันก็เป็นสิ่งที่คุณเลือกเอง หรือ ถ้าคุณพอใจจะกินส้มตำเป็นอาหารชนิดเดียวในชีวิต มันก็เป็นเรื่องของคุณ
แต่ถ้าคุณจะไป ห้ามคนอื่นที่เขาชอบกิน ซูชิ, พิซซ่า, ซาลาเปา, ขนมจีบ, ขนมจีน ฯลฯ ไม่ให้กิน เพียงเพราะคุณบอกว่า โลกนี้มี “ส้มตำ” ก็เพียงพอแล้ว
คุณคิดว่า คนเหล่านั้นจะมีมุมมองกับความคิดของคุณแบบนั้นไปในทิศทางใด?
2) ถ้า Michealangelo บวกลบเลข เช่น เขารู้ว่า ถ้า 1+1 จะเท่ากับสอง แล้วเขาบอกกับตัวเองว่า เขามี “ตรรกะแห่งชีวิต” แล้ว แล้วโลกนี้จะมีโอกาสได้ยลโฉมผลงานศิลป์อันน่าทึ่ง จาก Michelangelo งั้นหรือ?
1
เรียนรู้เพิ่มเติม
youtube.com
The Pieta in Art - Lord Richard Harries
Lord Harries examines one of the powerful images of Christian Faith, the Pieta: http://www.gresham.ac.uk/lectures-and-events/the-pieta-in-artMany people are ...
3) “ศาสนา” ไม่เคยเลือก “สาวก”
“สาวก” เป็นฝ่ายเลือก “ศาสนา”
4) สมัยมนุษย์ยุคหินอาศัยอยู่ในถ้ำ เป็นหมื่นๆปีมาแล้ว ผมคาดว่า สิ่งที่มนุษย์ยุคนั้นเรียนรู้คือ “ถ้าไม่ช่วยกันออกล่ากวางหรือช้างแมมมอธ” มาทำอาหารกิน ก็คง “อดตาย” และสัญชาติญาณในการมีชีวิตรอดสอนให้มนุษย์รู้จักพึ่งตนเองเป็น “อันดับแรก”
ต่อมาเมื่อมนุษย์เรียนรู้การ “เพาะปลูก” มนุษย์ก็เริ่มเห็นความสำคัญของสภาพอากาศที่จะมีผลต่อ “ผลผลิต” ที่ตนได้ลงแรงลงเวลาเอาไว้ และผลผลิตดังกล่าวก็ยังหมายถึง “ความอยู่รอด” ของตัวเองอยู่ดี!
ด้วยเหตุผลที่มนุษย์ยุคนั้น ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากนัก จึงมองเห็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่หา “เหตุผล” มาอธิบายไม่ได้ พูดง่ายๆคือ “ความไม่รู้” เมื่อเกิดความไม่รู้ ก็เกิด “ความกลัว” ในสิ่งที่อยู่นอกเหนือจาก “อำนาจ” ในการควบคุมดูแล
และนี่อาจเป็นเหตุให้มนุษย์เริ่มให้ความสำคัญกับ สิ่งที่มีอำนาจ ที่มนุษย์ “เชื่อ” ว่า ควบคุมฟ้าฝน อันเป็นปัจจัยในการอยู่รอดในยุคนั้น
แน่นอนว่า “ความเชื่อ” เรื่อง “ผู้ที่อยู่เหนือมนุษย์” นั้นมีมานานแสนนาน และบางส่วนแปรเปลี่ยนไปเป็น “ศาสนา”
ผมมองศาสนาเป็น สองส่วน
1) เจ้าแห่งศาสนา: คือผู้ให้กำเนิดของศาสนานั้นๆ อาจเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ที่มาของแต่ละศาสนา
2) คำสอนของศาสนา: โดยส่วนตัว ผมให้ความสำคัญกับคำสอนมากที่สุด เพราะเป็นสิ่งที “จับต้อง” ได้มากกว่า
สำหรับผมแล้ว คำสอนที่ผมเคารพนับถือเป็นอันมากในพุทธศาสนาคือ
1) เน้นเรื่อง “ปัญญา” ไม่เน้นพิธีกรรม
2) สอนให้พึ่งตนเอง ไม่เน้นการอ้อนวอน
3) สอนให้ “ไม่เชื่อ” จนกว่าจะพิสูจน์เอง
ความเป็นวิทยาศาสตร์แห่ง พุทธศาสนานั่น ทำให้นักวิทยาศาสตร์อย่าง Albert Einstein เอง ยังให้ความสำคัญ
If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism.
Albert Einstein
5) ปรัชญาในศาสนาพุทธ เปรียบเหมือน “ลูกมะพร้าว”
เรียนรู้เพิ่มเติม
blockdit.com
[sydNEY: The Storiographer] เป็นเรื่องของ “ปัญญา” ซึ่งเป็นหัวใจหลักของพุทธศาสนา
เป็นเรื่องของ “ปัญญา” ซึ่งเป็นหัวใจหลักของพุทธศาสนา
2 บันทึก
6
2
2
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย