24 พ.ค. 2022 เวลา 01:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ซาจิตทาเรียส เอ สตาร์ เป็นหลุมดำใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก โดยในวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ตามเวลาในประเทศไทย เครือข่ายกล้องโทรทัศน์อวกาศ EHT ได้ประกาศความสำเร็จในการถ่ายภาพหลุมดำบริเวณใจกลางทางช้างเผือกที่มีชื่อว่า ซาจิทาเรียส เอ สตาร์ ได้เป็นครั้งแรก เป็นการยืนยันการมีอยู่จริงของหลุมดำใจกลางกาแลกซีทางช้างเผือก และยืนยันความถูกต้องของทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
Sagitttarius A* เป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด อยู่ห่างจากโลกประมาณ 27,000 ปีแสง[5]มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 4 ล้านเท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 ล้านกิโลเมตร เล็กกว่าหลุมดำ M87* ซึ่งอยู่ใจกลางกาแล็กซี เมซีเย 87 1000 เท่า นักวิทยาศาสตร์กว่า 300 คน ต้องร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลกว่า 6 เทระไบต์ เป็นเวลาหลายปีกว่าจะได้ภาพถ่ายภาพแรกของ Sagiitarius A*
ในปี ค.ศ.1933 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนาที่บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งอยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก นักดาราศาสร์จึงได้เรียกชื่อของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนานี้ตามชื่อของกลุ่มดาวคนยิงธนูว่า Sagittarius A* (Sgr A)
ต่อมานักดาราศาสตร์ได้มีการค้นพบว่า ดาวฤกษ์ และกลุ่มแก๊สร้อนที่โคจรรอบวัตถุนี้มีการโคจรด้วยความเร็วที่สูงมาก ซึ่งการที่ดาวฤกษ์และกลุ่มแก๊สเหล่านี้โคจรด้วยความเร็วสูงมากขนาดนี้เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นว่าวัตถุปริศนาที่มองไม่เห็นนี้จะต้องมีแรงโน้มถ่วงที่มหาศาลมากๆในปริมาตรที่น้อยมากๆ สอดคล้องกับคุณสมบัติของหลุมดำมวลยิ่งยวด
การค้นพบหลักฐานที่บ่งชี้การมีอยู่ของหลุมดำใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกนี้ทำให้สองนักดาราศาสตร์คือ Reinhard Genzel และ Andrea M. Ghez ได้รับรางวัลโบเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.2020 ร่วมกับ Roger Penrose นอกจากการค้นพบนี้เราก็ไม่เคยมีการค้นพบอื่นที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของหลุมดำใจกลางทางช้างเผือกนี้อีกเลย
จนกระทั่งวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2565 เครือข่ายกล้องโทรทัศน์ขอบฟ้าเหตุการณ์ หรือ Event Horizon Telescope ได้ประกาศความสำเร็จในการถ่ายภาพ Sgr A* สำเร็จเป็นครั้งแรก
ในการถ่ายภาพหลุมดำ Sagittarius A* นักวิทยาศาสตร์ต้องใช้เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากกว่าการถ่ายภาพหลุมดำ M87*ที่ถ่ายได้คีั้งก่อน เนื่องจากกลุ่มก๊าซที่โคจรรอบ Sagittarius A* ใชเวลาในการโคจรเร็วกว่ากลุ่มก๊าซที่โคจรรอบ M87* โดยใช้เวลาโคจรครบรอบไม่กี่วินาที ซึ่งหมายความว่าความสว่างและรูปแบบของก๊าซรอบๆ Sgr A* เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในขณะที่ทีม Event Horizon Telescope กำลังสังเกตอยู่
ขอบคุณข้อมูลจาก
1. ​Reid, M.J.; Brunthaler, A. (2004).| "Sgr A* – Radio-source". Astrophysical Journal. 616 (2): 872–884.| arXiv:| astro-ph/0408107.| Bibcode:| 2004ApJ...616..872R.| doi:| :10.1086/424960.| S2CID | 16568545.
2. The GRAVITY collaboration (April 2019). "A geometric distance measurement to the Galactic center black hole with 0.3% uncertainty". Astronomy & Astrophysics. 625: L10. arXiv:1904.05721. Bibcode:2019A&A...625L..10G. doi:10.1051/0004-6361/201935656. S2CID 119190574. Archived from the original on October 4, 2019. สืบค้นเมื่อ 16/05/2565.
3. สรุปภาพหลุมดำมวลยิ่งยวด Sagittarius A* ใจกลางทางช้างเผือก,Spaceth , สืบค้นวันที่ 16/05/2565.
4. Sagittarius A*: NASA Telescopes Support Event Horizon Telescope in Studying Milky Way's Black Hole, NASA, สืบค้นวันที่ 16/05/2565.
5. เผยภาพถ่ายแรกของหลุมดำ ใจกลางกาแลกซีทางช้างเผือก ,สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สืบค้นเมื่อ 16/05/2565.
6. ภาพแรก!! ของหลุมดำ ณ ใจกลางทางช้างเผือก, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, สืบค้นเมื่อ 24/05/2565.
7. Astronomers reveal first image of the black hole at the heart of our galaxy, Event Horizon Telescope, สืบค้นเมื่อ 16/05/2565.
โฆษณา