Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
blue bangkok
•
ติดตาม
25 พ.ค. 2022 เวลา 09:57 • ศิลปะ & ออกแบบ
100 ปี ตึกมิวเซียมสยาม
.
นิทรรศการ ไม่เสียค่าเข้าชม สำหรับคนชอบตึกเก่า
ตึกนี้มีความสำคัญและสนุกมาก เราเคยฟังบรรยายเทปจากทั้งนักวิชาการและสถาปนิกผู้ซ่อมโครงสร้างอาคาร แต่การมาชมคราวนี้เหมือนได้เห็นงานระบบและข้อมูลเชิงลึกประกอบในสถานที่จริง
.
แม้ว่าจะแสนเสียดาย ที่คราวตึกเปิดให้ชม โครงสร้างหลังคา เราไม่ได้มาชม
.
ตึกนี้เดิมเป็นพื้นที่วังเจ้านาย สมัยรัชกาลที่สาม แต่เดิมเมืองบางกอกสมัยอยุธยา เป็นเมืองท่านานาชาติ มีการขุดคลองลัดแม่น้ำเปลี่ยนทางเจ้าพระยา และตั้งป้อมสองฝาก ปัจจุบันเหลือแต่ป้อม วิไชยเยนทร์ สามีท้าวทองกีบม้าผู้คิดค้นขนมไทย เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรื่องป้อมกับบันทึกการสร้างและสภาพความเป็นอยู่ยุคนั้นน่าสนใจ ดินอ่อนนี่มีมาตั้งแต่สร้างป้อม
.
สมัยร.3 แถบนี้เป็นวังช่างฝีมือ มีการขุดค้นพบชิ้นส่วน เปลือกมุก เพราะเครื่องเรื่อง เครื่องมุก ทำที่นี่ แล้วเปลี่ยนรกร้าง
สมัยร.4-5 มีการพัฒนาประเทศ ตัดถนน แต่ตึกนี้ได้มีการสร้างเป็นกระทรวงแยกธาตุ เนื่องจากเป็นสถานทึ่ใกล้ท่าเรือ สินค้าเจ้าท่า การตรวจสอบหินดินแร่ สินค้าต้องห้ามจึงมี
ต่อมามีการรื้อแบ่งแปลงที่ดินอีกครั้ง
อาคารกระทรวงพาณิชย์ ได้รับการก่อสร้าง โดยนายช่างอิตาลี ผู้ขี้อายและเงียบขรึม จนเกิดคำถามว่าแท้จริงเป็นเขาคนนี้หรือใครกันที่ทำการออกแบบ มาริโอ ตามาญโญ จากสถาบันตูริน(ผ้าห่อศพพระศพพระคริสต์) เป็นสถาปนิกผู้เดินทางมาสร้างความศิวิไลซ์ตามวิสัยทัศน์ พัฒนาให้เทียบอารยะประเทศ กับวิศวกรคู่บุญผู้รู้ใจ กอลโล (เอมิลิโน โจวันนี กอลโล)
ส่วนตัวมองว่า ผลงานและแนวคิดที่อิงพื้นที่ ลมฟ้าอากาศ ของสถานที่และวิถีชีวิตคนอาศัยที่สำคัญแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้งานของสองท่านกลายเป็น นวัตกรรม แห่งยุค คือ คอนกรีตเสริมเหล็กและปูนซีเมนต์ สยามเริ่มตั้งบริษัทสมัยนั้น ทำให้งานก่อสร้างมีรูปแบบแปลกไป ทนทานแต่เบา การหล่อชิ้นส่วนสำเร็จผสานการคำนวณแบบแม่นยำ โครงสร้างที่สวยงามมีประโยชน์ใช้สอย ดีต่อการซ่อมบำรุง และผลิตซ้ำได้ จนงานทุกงานมีแบบแผน
หลายงานที่ท่านออกแบบ นำไปตีพิมพ์วารสารวิชาการยุคนั้นระดับนานาชาติ เพื่อขยายขอบเขตการรับรู้และแสดงศักยภาพ การสร้างสรรค์คิดค้นใหม่ในเวลานั้น เช่น การเปลี่ยนแบบประติมากรรมประดับอาคารที่เป็นภาษาทรงสถาปัตยกรรมและทำได้ดีกว่าแบบเดิม
เรื่องเกร็ดรายละเอียดมาชม อาจจะอิ่มเอม เพราะทุกรายละเอียดเขาใส่ใจจริงๆ จนเราทึ่ง ว่าคิดถึงขนาดนั้น ทั้งทิศทางแดด ลม ฝน ความชื้น ดินฟ้า การใช้งาน ความรู้สึก หรือการเชื่อมกับบางสิ่งทางสัญญะ
เพิ่งมีการค้นพบแปลนอาคารต่างๆของสถาปนิกท่านนี้ด้วยความบังเอิญ ที่มีเรื่องเล่าสนุกๆ
ทั้งสถาปนิกและวิศวกรชุดนี้ เป็นทีมอิตาลีครบเครื่อง อีกท่านที่ร่วมงาน เพิ่งมีจัดแสดงงานภาพเขียน ต้นแบบภาพในพระที่นั่งอนันตสมาคม ไปชมได้ที่ หอศิลป์เจ้าฟ้า ทั้งหมดกลับอิตาลีต่างวาระ แต่ ตามาญโญ่ ทำงานสร้างชื่อที่ สยาม ประมาณ 25 ปี (ส่วน อ.ศิลป์ พีระศรี ท่านยอมกลับมาไทยและทิ้งกายที่นี่ แม้จะต้องตัดกับครอบครัวทางฟลอเลนซ์ เพื่อรากฐานศิลปะร่วมสมัยของไทย จนมี ศิลปากร)
ปัจจุบันอาคารนี้เป็น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ มิวเซียมสยาม ส่วนตัวเราเห็นตั้งแต่จุดค้นสนามสองสามแห่ง(เพิ่งได้อ่านหนังสือ โบราณคดีกรุงเทพ) จนได้ชมและใช้งานอาคารนี้มาเกือบสิบปี ทุกกิจกรรมสนุก จัดนิทรรศการดี มีงานประจำปีทุกช่วงฤดูหนาว
คิดถึงงานดนตรี แสงไฟส้มอมเหลือง กลิ่นอาหาร ความสนุก
อาคารเพื่อนบ้านในย่านนี้
มีส่วนอื่นๆ เช่น อาคารยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง
บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชมตึก (ย่านเก่า พิพิธภัณฑ์)
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย