Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
25 พ.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ข้าวยากหมากแพง” หลายประเทศต้องเผชิญกับ วิกฤติค่าครองชีพ
สหราชอาณาจักรกำลังเผชิญกับวิกฤติเงินเฟ้อที่รุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้เกิดวิกฤติค่าครองชีพขึ้น โดยมีผลสำรวจว่า 1 ใน 4 ของชาวสหราชอาณาจักรต้องลดการบริโภคอาหารลงเนื่องจากเหตุการณ์เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
สหราชอาณาจักรกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก เมื่อวิกฤติค่าครองชีพจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
และต้นทุนอาหารที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้คนยากจนที่สุดในสังคมต้องเผชิญกับชะตากรรมที่เลวร้าย
โดยมีการสำรวจว่า 1 ใน 4 ของชาวสหราชอาณาจักรต้องอดมื้อกินมื้อ เนื่องจากเหตุการณ์เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
📌 อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรสูงที่สุดในรอบ 40 ปี
อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรในเดือนเมษายนที่ผ่านมาแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 9%
โดยเป็นผลมาจากต้นทุนค่าแก๊สธรรมชาติสูงขึ้น 95.5% ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น 53.5% ในขณะราคาอาหารเพิ่มขึ้น 6.7% และอัตราค่าบริการโรงแรมเพิ่มขึ้น 8%
ถึงแม้จะปรับเพิ่มค่าแรง แต่ค่าจ้างที่แท้จริงลดลง
เมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ก็ได้ทำให้คนงานหลายคนในสหราชอาณาจักรที่รอการขึ้นค่าจ้างมาเป็นเวลานาน กำลังเห็นการปรับเพิ่มค่าแรงที่ดีที่สุดในรอบหลายปี
จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าค่าจ้างเพิ่มขึ้น 4.2% ในไตรมาสแรก คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าของค่าเฉลี่ย 2.1% ในทศวรรษก่อนเกิดการของโรคโควิด 19
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามาดูตัวเลขของค่าจ้างที่แท้จริง หรือ ค่าจ้างที่ปรับตามการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อแล้ว กลับพบว่า ค่าจ้างนั้นลดลงไป 1.9% ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
📌ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดในรอบ 48 ปี
จากข้อมูลของ GfK บริษัทที่ให้บริหารด้านข้อมูลอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวว่าการวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงมาอยู่ที่ -40 จุด ซึ่งนับว่าเป็นความเชื่อมั่นที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกในปี 1974
📌 สหราชอาณาจักรไม่ใช่ประเทศเดียวที่เผชิญกับวิกฤติค่าครองชีพ
ภูมิภาคแอฟริกากำลังเผชิญวิกฤติค่าครองชีพสูงมาอย่างยาวนาน หลาย ๆ ประเทศ ในทวีปแอฟริกายังคงสั่นคลอนจากการระบาดของโควิด 19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม หรือความไม่สงบทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งผลกระทบของสงครามยูเครนนั้นทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก
ประเทศเคนยา ที่นำเข้าข้าวสาลีประมาณ 1 ใน 3 จากรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ราคาขนมปังและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น การสำรวจเศรษฐกิจของเคนยา ปี 2022 พบว่าชาวเคนยาส่วนใหญ่หันมาใช้เงินออมและเงินกู้มากขึ้นเพื่อรองรับค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ในขณะที่ประเทศ ซิมบับเว ที่ค่าครองชีพรายวันพุ่งสูงขึ้น เช่น ราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้มได้เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า ในขณะที่ราคาบะหมี่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
ประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างเยเมน ราคาอาหารในบางภูมิภาคได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 85% ในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
สุดท้ายนี้ เราก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์เลวร้ายเหล่านี้จะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ทำได้เพียงหวังว่าสิ่งต่าง ๆ จะดีขึ้นในเร็ววัน
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
●
https://news.sky.com/story/cost-of-living-crisis-inflation-hits-40-year-high-of-9-12615153
●
https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-05-21/the-week-britain-s-cost-of-living-crisis-broke-new-ground
●
https://www.theweek.co.uk/business/956773/how-the-uks-cost-of-living-crisis-compares-with-the-rest-of-the-world
ของแพง
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจโลก
2 บันทึก
4
2
1
2
4
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย