25 พ.ค. 2022 เวลา 13:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
1) วัฒนธรรมเชิงแนวคิด
ผมเคยได้ยินการเปรียบเทียบแนวคิดการจัดสวนของชาวตะวันออกกับชาวตะวันตกมีความแตกต่างกันชัดเจนครับ
# ชาวตะวันตกสร้างชาติด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เขาชอบตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตเพื่อเป็นการแสดงอำนาจที่สามารถใช้ควบคุมธรรมชาติได้ นั่นคือพวกเขา “ชอบเอาชนะธรรมชาติ” สังเกตได้จากสวนในสถานที่ทางประวัติศาสตร์ใหญ่ๆครับ
# ชาวเอเชียมักจัดสวนโดยมีปรัชญาที่เคารพนับถือธรรมชาติ และชีวิตที่ดีคือการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน การจัดสวนจึงไม่เน้นการตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
2) สภาพทางภูมิศาสตร์กายภาพ
ชาวตะวันตกที่เป็นผู้คิดเทคโนโลยีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตซีกโลกเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและหากมีหิมะตก อุณหภูมิสามารถติดลบ 30 องศา C หรือตำ่กว่าได้ไม่ยาก
ความหนาวที่โหดร้ายขนาดนั้น “บีบคั้น” ให้คน “แก้ปัญหา” ด้วยการพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติให้ได้ “เพื่อความอยู่รอด”
เช่น ตามที่ผมเคยได้ยินมา ฤดหนาวและหิมะตกในz Finland เองก็หนาวเหน็บเอาการ จนผู้คนไม่อยากออกจากบ้านไปมาหาสู่กัน ข่าวผู้เสียชีวิตจากการติดอยู่ในรถช่วงพายุหิมะถล่มก็มีให้เห็นในบางประเทศ จนในที่สุด Nokia ก็เป็นหนึ่งในบริษัทจากโลกตะวันตกที่เป็นผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน
ในกรณีของเยอรมันหรือญี่ปุ่น ก็คงไม่ต่างกัน โดยเฉพาะญี่ปุ่นแล้ว มีทั้งแผ่นดินไหว และ tsunami เข้าไปอีก ระเบียบวินัยเป็นเครื่องมือแห่งการอยู่รอด อันนี้ชัดเจนเมื่อมองสถิติผู้เสียชีวิตจากการใช้รถใช้ถนน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนที่ตรงไปตรงมาสำหรับคำว่า ระเบียบวินัย
ตามข้อมูลที่ค้นเจอ ในเยอรมันมีค่านิยมเรื่องระเบียบวินัยมาหลายร้อยปี
“Ordnung muss sein” (“there must be order”)
เป็นคำกล่าวที่มีอยู่มาช้านาน และคงเป็นหนึ่งในค่านิยมพื้นฐานที่ทำให้ชาวเยอรมัน ทำงานหนัก ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ และเชื่อในความเสมอภาค โดยทั้งหมดทั้งมวลทำให้เยอรมันมีเศรษฐกิจที่รุ่งเรือง ทั้งที่ประเทศนี้มีแรงงานเพียง 1% ของแรงงานในตลาดโลก แต่มียอดส่งออกถึง 10% ของมูลค่าในตลาดโลก
ส่วนชาวญี่ปุ่นเองก็ทำงานหนักและมีระเบียบ พวกเขาทำงานแบบถวายชีวิตเพื่อให้ประเทศชาติที่อยู่ในสถานะผู้แพ้สงครามในสมัย สงครามโลกครั้งที่สอง กลับมายืนอยู่ในเวทีโลกอีกครั้งได้อย่างสง่างาม
ชาวญี่ปุ่นไม่ชอบช่วงวันหยุดยาว ไม่ชอบลางาน ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นชอบที่จะทำงาน แต่บางคนก็ถูกค่านิยมแห่งการทำงานหนักกดดันให้ทำงานจนเสียชีวิต และมีการเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Karoshi
ถ้าชาวญี่ปุ่นมาทำงานสาย เขาจะขอโทษเพื่อนร่วมงานทุกคนทีละคน และการลางานถือเป็นเรื่องน่าอับอาย
โฆษณา