28 พ.ค. 2022 เวลา 02:47 • การศึกษา
เมื่อสิงคโปร์ ต้องการพลังงานไฟฟ้าแบบสะอาด
สิงคโปร์ ..
ดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร ?
ข้อมูลพื้นฐานของสิงคโปร์
🔸พื้นที่ 720 ตารางกิโลเมตร (ประมาณจังหวัดนนทบุรี)
🔸จำนวนประชากร 5.7 ล้านคน
🔸รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ 1965 (57 ปีที่แล้ว)
🔸มีต้นไม้ในประเทศ 7 ล้านต้น : อยู่ริมถนน 3 ล้านต้น
กรอบใหญ่ของเรื่องนี้
🔸ปี 2030 กำหนดเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 50
🔸ก๊าซ CO2 ของสิงคโปร์ ร้อยละ 40 มาจากการผลิตไฟฟ้า
2
โรงไฟฟ้าของสิงคโปร์ : กำลังการผลิต 12,000 เมกะวัตต์
🔸จากก๊าซธรรมชาติ มากถึงร้อยละ 95
🔸จากโซลาร์เซลล์ 340 เมกะวัตต์
🔸จากขยะที่นำมาผลิตไฟฟ้า 256 เมกะวัตต์
เกร็ดเสริม :
🔸สิงคโปร์มี Solar Floating บนอ่างเก็บน้ำขนาด 60 เมกะวัตต์
แผงโซลาร์เซลล์ 146,000 แผง เท่ากับสนามฟุตบอล 45 สนาม
🔸สิงคโปร์มีแผนที่จะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 1,500 เมกะวัตต์
ภายในปี 2025 ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 2,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2030
1
ความท้าทายเรื่องไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (พลังงานสะอาด)
สิงคโปร์จัดการเรื่องนี้ .. อย่างไร ?
คำตอบคือ … นำเข้าพลังงานไฟฟ้าสะอาดจากประเทศเพื่อนบ้าน
1
ปี 2035 มีเป้าหมายนำเข้าพลังงานสะอาด ร้อยละ30
เพื่อสอดคล้องกับการประชุม COP26 : การประชุมภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ยังงัยก้อนำเข้าก๊าซธรรมชาติแล้ว
จะนำเข้าพลังงานหมุนเวียนอีก .. ก้อไม่น่าแปลก!!
1
สิงคโปร์ .. นำเข้าพลังงานสะอาด จากที่ไหน .. อย่างไร ?
1️⃣ นำเข้าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากลาว
1
🔸ปริมาณนำเข้า 100 เมกะวัตต์ จากเขื่อนของ สปป.ลาว
🔸ส่งผ่านระบบส่งของไทย - มาเลเซีย
🔸Deal นี้ประเทศไทยได้ค่าผ่านระบบสายส่งด้วย
1
2️⃣ นำเข้าไฟฟ้าจากอินโดนีเซีย :
1
🔸ผลิตไฟฟ้าจากโซลาเซลล์ จากเกาะแห่งหนึ่งในอินโดนีเซีย
(ใกล้ๆสิงคโปร์ ใช้พื้นที่ในทะเล 40 ตารางกิโลเมตร)
🔸ขนาดติดตั้ง 3,500 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุน 165,000 ล้านบาท
🔸ส่งไฟฟ้าผ่าน submarine cable ในแบบ HVDC
🔸ระยะที่1 จำนวน 1,000 เมกะวัตต์กำหนดจ่ายไฟฟ้าได้ในปี 2026
(ทั้งโครงการกำหนดแล้วเสร็จ ในปี 2032)
1
*** แนวคิดนี้หากภาคเอกชนไทย.. น่าร่วมลงทุนด้วยน่าจะดี ***
เครดิต : https://www.straitstimes.com
3️⃣ นำเข้าจากออสเตรเลีย
1
🔸โครงการระดับโลก จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีจากนี้
🔸โครงการนี้มีชื่อว่า The Australia-Asia PowerLink project
🔸ติดตั้ง solar farm พื้นที่ขนาด 120 ตร.กิโลเมตร
ตอนเหนือของประเทศ (เมืองดาร์วิน)
🔸กำลังการผลิต : 20,000 เมกะวัตต์ (สิงคโปร์นำเข้า 3,200 เมกะวัตต์)
🔸มูลค่าโครงการ 7 แสนห้าหมื่นล้านบาท
🔸ส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางราว 5 พันกิโลเมตร
🔸เป็น HVDC submarine cable : 4,200 กิโลเมตร
ผ่านน่านน้ำอินโดนีเซีย
1
ทิ้งท้ายโพสต์นี้ด้วย :
ประเทศเล็กพริกขี้หนู อย่างสิงคโปร์ ชัดเจนในเรื่องวิสัยทัศน์ประเทศ
ทำจริง เห็นผลงานจริง …
2
หากย้อนเวลากลับไป .. เมื่อเกือบ 60ปีที่แล้ว หลังจากที่แยกประเทศจากมาเลเซีย .. สิงคโปร์วันนี้ก้าวไปไกลมากๆ ในทุกๆด้าน
1
สิงคโปร์ ..
ประเทศนี้น่าเรียนรู้จริงๆ
1
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
28 พฤษภาคม 2565
โฆษณา