27 พ.ค. 2022 เวลา 13:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิธีรับมือหุ้นผันผวน
จากสถานการณ์ช่วงนี้ ถ้าจะหาปอดเขียวๆ คงจะลำบากหน่อยแล้วนะคะ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็ 108 เหตุผลอย่างที่เราคงพอจะรู้กัน แต่จะหาวิธีรับมือยังไงดีในช่วงที่ไม่มีอะไรแน่นอนเช่นนี้ได้บ้าง มาดูกันค่ะ
1. กลับมาทบทวนและวิเคราะห์การลงทุนของตัวเอง
เมื่อพบกับปัญหาความผันผวนของหุ้น สิ่งแรกที่เราควรทำก็คือ ตั้งสติให้ดี และค่อยๆ คิดวิเคราะห์เพื่อหาทางแก้ไข ด้วยการกลับมาศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจหุ้น แต่ละตัวที่ได้ถือไว้
ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานในแต่ละกิจการเป็นอย่างไรบ้าง ผลประกอบการของหุ้นนั้นมีอัตราเติบโตหรือไม่ ทั้งในด้านผลกำไรและเงินสดจากกิจการ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ซึ่งถ้าเราเรียนรู้ ก็จะมีความเข้าใจในทิศทางของตลาดและการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น
หรือกรณีถ้าลงทุนในหุ้นเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันเพียงอย่างเดียว ก็อาจต้องพิจารณาเยอะหน่อย เพราะถ้าหุ้นกลุ่มนั้นล้ม ทั้งพอร์ตเราก็จะล้มตามไปทั้งแผง ในภาวะที่ตลาดผันผวน การวิเคราะห์พื้นฐานหุ้นแต่ละตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องใส่ใจในรายละเอียดให้มากกว่าเดิม
2. กระจายทรัพย์สินในการลงทุนให้มากกว่าเดิม
1
การกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ตัว ก็เท่ากับเป็นการกระจายความเสี่ยงไปด้วย ในยามที่ตลาดหุ้นเกิดการผันผวน ยากที่จะคาดเดาทิศทางได้ นักลงทุนควรบริหารเงินลงทุนอย่างระมัดระวัง การลดความเสี่ยงด้วยการกระจายทรัพย์สินในการลงทุน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ
หรืออาจเลือกลงทุนในรูปแบบที่ความเสี่ยงต่ำและมีเสถียรภาพที่มั่นคงกว่า เช่น กองทุนรวม พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ เพราะการลงทุนรูปแบบเหล่านี้มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า และเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ล้มได้ยาก ซึ่งต่างจากหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงที่มีความผันผวนสูงตามกลไกของตลาด
แต่กองทุนรวมก็มีข้อควรระวังเช่นกัน เพราะกองทุนรวมมีหลากหลายประเภท ควรเลือกรูปแบบกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ก่อนพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมก็ควรศึกษารายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อน
1
ภาพจาก NCB
3. ลงทุนกับกองทุนหุ้นในกลุ่ม SET50
1
SET50 เป็นกลุ่มหุ้นที่มีความแข็งแรงอันดับต้น ๆ และยังเป็นหุ้นชั้นดี หรือที่เรียกว่าบลูชีพ (Blue chip) อยู่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นหุ้นที่กิจการมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะผันผวนแค่ไหนก็ตาม การเลือกลงทุนไปกับกองทุนที่อยู่ในกลุ่ม SET50 จึงเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่า
หากมีกระแสใดมาในแต่ละช่วงอย่าเพิ่งคล้อยตาม และรีบซื้อหรือขายทิ้งทันที ควรศึกษาศักยภาพจริงของกิจการนั้นๆ ก่อน เพื่อจะได้ไม่มานั่นเจ็บใจภายหลัง และอาจทำให้ต้องแบกรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
1
4. ปรับพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจ
ท่ามกลางความผันผวนของหุ้นก็มักจะมาจากเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ หรือแนวโน้มทางธุรกิจอยู่เสมอ การปรับพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน
ตัวอย่างเช่น เมื่อมีเทรนด์รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle) เพิ่มมากขึ้น ทำให้หุ้นในกลุ่มพลังงานมีแนวโน้มเติบโตได้ดีขึ้น ก็ควรพิจารณาหุ้นในกลุ่มนี้ไว้บ้างเพื่อสร้างผลกำไรให้กับพอร์ตของตัวเอง (ยกเป็นตัวอย่างเท่านั้น)
ภาพจาก Pinterest
ในทางตรงกันข้ามหุ้นตัวไหนที่ไปต่อไม่ได้จริงๆ ก็ต้องทำการ Cut Loss หรือทำการขายออกไปบางส่วนเพื่อป้องกันส่วนที่เหลือเอาไว้บ้าง ไม่ให้เราขาดทุนมากเกินไป
1
หากเป็นการลงทุนในระยะสั้น สามารถทำ Cut Loss ได้เลยทันที เพื่อเปลี่ยนไปลงทุนหรือซื้อหุ้นตัวอื่นที่มีแนวโน้มที่ดีกว่าแทน แต่หากเป็นการลงทุนระยะยาว คงต้องใจเย็นรอและคอยติดตามความผันผวนให้ดีก่อนตัดสินใจทำการ Cut Loss นั้น
5. ติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ
การติดตามข่าวสารเศรษฐกิจหรือข่าวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องล้วนมีความจำเป็น หรือแม้แต่บางสถานการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นหรือเศรษฐกิจโดยตรง ก็อาจสร้างผลกระทบได้เช่นเดียวกัน อย่างเช่น เรื่องการเมืองภายในประเทศ ซึ่งบางสถานการณ์สามารถสร้างกระทบให้กับการลงทุนในภาพรวมได้
ภาพจาก ประชาชาติธุรกิจ
หรือแม้แต่เรื่องดราม่าเล็กน้อยจากการใช้ผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่อยู่ในตลาดหุ้น และกลายเป็นข้อถกเถียงในสังคมนั้น ๆ อาจมีผลทำให้ราคาหุ้นนั้นดิ่งลงในวันถัดมาได้
ดังนั้น การลงทุนจึงไม่ใช่แค่การวิเคราะห์กราฟหรือข้อมูลพื้นฐานในการลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นมิติที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน หากติดตามข่าวสารและพยายามทำความเข้าใจตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะช่วยเสริมให้เข้าใจเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงในหุ้นตัวนั้นๆ ได้
และแม้ว่าตลาดหุ้นไม่เป็นดั่งใจ นั่นก็เป็นเรื่องปกติที่เราต้องทำความเข้าใจและยอมรับมัน ซึ่งการขึ้น-ลงของราคาหุ้นตามสภาวะรอบด้านที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ดังนั้นการวางแผนให้ดีและรอบคอบจึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนจะต้องใส่ใจค่ะ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา