Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Brand Inside
•
ติดตาม
26 พ.ค. 2022 เวลา 13:00 • ครอบครัว & เด็ก
ทำไมคนรุ่นใหม่ไม่อยากมีลูก? เปิดค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูก 1 คนจนโต ต้องหมดกันไปเท่าไหร่
3
หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดในสังคมสมัยนี้คือการที่ผู้คนไม่อยากมีลูกมากขึ้น ซึ่งเหตุผลหนึ่งมาจากมุมมองต่อ ‘ความสำเร็จในชีวิต’ ที่เปลี่ยนไป
ในสหรัฐฯ มีงานวิจัยออกมาชิ้นหนึ่งของ Pew Research พูดถึงเรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ โดยพบว่าคนเกินครึ่งระบุว่าไม่ได้มีเหตุผลอะไรพิเศษที่ไม่อยากมีลูก พูดง่าย ๆ คือไม่มีเพราะไม่อยากมี
6
ซึ่ง Christine Whelan ผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยด้านการเงินและความสัมพันธ์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ตีความเรื่องนี้ว่าเป็นการ “สะท้อนให้เห็นว่าสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่”
1
จากเดิมที่ผู้คนมองว่าการสร้างครอบครัวคือหนึ่งในเงื่อนไขของความสำเร็จในชีวิต (รวมถึงการมีบ้าน มีรถ มีธุรกิจ) การบอกว่าไม่อยากมีลูกหากย้อนไปเมื่อ 15 ปีก่อนอาจเป็นเรื่องที่สังคมยากจะรับได้ มาทุกวันนี้ความสำเร็จในชีวิตไม่จำเป็นต้องผูกอยู่กับเงื่อนไขบางอย่างที่สังคมสร้างขึ้น แต่แตกต่างออกไปแล้วแต่ชุดคุณค่าที่บุคคลให้ความสำคัญ
3
แต่นอกจากเหตุผลด้านวัฒนธรรมแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการเลือกไม่มีลูกคือ เรื่องเงินๆ ทองๆ เพราะแม้คนกว่าครึ่งไม่มีลูกเพราะแค่ไม่อยากมีแต่ถ้าดูในงานวิจัยของ Pew Research ชิ้นเดียวกันก็จะพบว่าถ้าดูแค่กลุ่มคนที่บอกว่ามีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้ไม่อยากมีลูก คนเกือบ 1 ใน 5 บอกว่าการเงินคือปัจจัย
2
วันนี้ Brand Inside จะพาไปเปิดข้อมูลค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูบุตร 1 คน ในบริบทแบบไทย ๆ ว่าตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนเรียนจบจะอยู่ที่เท่าไหร่บ้างภายใต้เงื่อนไขแบบต่าง ๆ เพื่อคลี่คลายให้เห็นปัญหาในอีกหนึ่งมิติว่าทำไมในปัจจุบันคนจำนวนมากถึงเลือกที่จะไม่มีลูก
7
1 | ค่าใช้จ่ายช่วงตั้งครรภ์และช่วงทารก
มาที่ค่าใช้จ่ายแรก เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ก็จะต้องจ่ายค่าฝากครรภ์และค่าพบแพทย์ ซึ่งเมื่อคิดค่าใช้จ่ายตลอด 9 เดือนที่ตั้งครรภ์ ก็เฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-2,500 ต่อเดือน แล้วแต่คลินิกและโรงพยาบาล นอกจากค่าฝากครรภ์ที่ต้องเสียทุกเดือนก็ต้องเสียค่าทำคลอด ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 30,000-100,000 บาท แล้วแต่โรงพยาบาล
4
ต่อมาก็จะมีค่าใช้จ่ายช่วงทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปี โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าเด็ก ผ้าอ้อม นม เครื่องอาบน้ำ อาหารสำหรับเด็ก โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีค่าใช้จ่ายที่ 10,000-50,000 บาทต่อเดือน และถ้าไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ก็อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายจ้างพี่เลี้ยงเด็ก ก็จะอยู่ที่ 10,000-20,000 ต่อเดือน
2
2 | ค่าเล่าเรียนต่อปีตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย
1
ค่าเล่าเรียนต่อปีตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัยจะแบ่งเป็น 3 ระดับ
แบบพอเพียง หมายถึง เรียนโรงเรียนรัฐ มหาลัยรัฐ และใช้จ่ายแบบทั่วไป
แบบปานกลาง หมายถึง ส่งเรียนโรงเรียนคาทอลิก ต่อด้วยมหาลัยเอกชน และใช้จ่ายด้านอื่น ๆ อีกในระดับปานกลางค่อนข้างดี
แบบจัดเต็ม หมายถึง ส่งเรียนโรงเรียนนานาชาติ ไปต่อปริญญาตรีที่ต่างประเทศ และเลี้ยงดูปูเสื่อแบบจัดเต็ม
2
นอกจากค่าเทอมที่ต้องเสียแล้ว ยังมีค่าอุปกรณ์การเรียน ไหนจะต้องทำงานส่งอาจารย์ อุปกรณ์เครื่องเขียนต่าง ๆ ซึ่งเราก็จะแบ่งเป็นสามระดับเหมือนกัน ตั้งแต่ระดับพอเพียง ระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับจัดเต็มสุด ๆ
2
3 | ค่ากินอยู่ต่อปี
มาดูค่าใช้จ่ายกินอยู่ต่อปีที่เราลองรวมมาให้ดูบ้าง แน่นอนว่ายิ่งเราโตขึ้น ค่าใช้จ่ายกินอยู่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่เราจะเฉลี่ยมาให้เป็นรายปีตั้งแต่เกิดจนถึงอายุประมาณ 24 ปี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับเหมือนกัน โดยระดับพอเพียงก็อยู่ที่ 36,000 บาทต่อปี แบบปานกลางจะอยู่ที่ปีละ 72,000 บาท และแบบจัดเต็มสุด ๆ จะอยู่ที่ 200,000 บาทต่อปี
4
และเมื่อรวมค่าใช้จ่ายกินอยู่จนถึงอายุ 24 ปี แบบพอเพียงจะอยู่ที่ 864,000 บาท แบบปานกลางจะอยู่ที่ 1,728,000 บาท และแบบจัดเต็มจะอยู่ที่ 4,800,000 บาท
4 | สรุปค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกทั้งหมด
พอมารวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่ค่าทำคลอด ค่าใช้จ่ายช่วงทารก ค่าเล่าเรียน และค่ากินอยู่ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 24 แล้ว แบบพอเพียงจะอยู่ที่ 1,560,000 บาท แบบปานกลางจะอยู่ที่ 7,810,000 บาท และแบบจัดเต็มจะอยู่ที่ 36,180,000 บาท
6
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็เป็นแค่การประมาณค่าเท่านั้น บางคนอาจจะมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ต่างกันออกไปของแต่ละคน
2
ที่มา
https://www.wongnai.com/articles/cost-raising-child
2
197 บันทึก
63
29
388
197
63
29
388
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย